วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

SWOT

ในการวิเคราะห์ SWOT มีปัจจัยที่ควรจะพิจารณา ดังนี้
1. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง  ผู้วิเคราะห์จะต้องยอมรับจุดอ่อนของบริษัท รู้อุปสรรค จะต้องมีใจเป็นกลางในการวิเคราะห์ รู้ปัญหาของบริษัท  ถ้าผู้วิเคราะห์ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง จะไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหา มองไม่เห็นจุดอ่อนของบริษัท
2. แยกแยะปัญหาให้ได้และแก้ปัญหานั้นให้ตรงจุด ผู้วิเคราะห์จะต้องแยกแยะให้ได้ว่าอะไรเป็นปัญหาและอะไรเป็นสาเหตุของปัญหา  เพื่อหาทางแก้ไขให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น คู่แข่งขันผลิตสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดสามารถขายสินได้มาก ซึ่งความจริงนั้นการที่คู่แข่งขันทุ่มโฆษณามากนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นเพียงแค่สาเหตุของปัญหาที่จะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง เช่น หากกำไรของบริษัทลดลงต้องแก้ไขให้ได้ว่าเป็นเพราะเหตุไร
3. มองปัญหาให้กว้างและครบทุกด้าน  อย่ามองปัญหาเพียงข้อเดียวหรือด้านใดด้านหนึ่ง
 
แสดงวิธีการวิเคราะห์ AWOT (SWOT Analysis)

S    จุดแข็ง
วิเคราะห์สิ่งดีที่อยู่ภายในผลิตภัณฑ์และบริษัท
W  จุดอ่อน
วิเคราะห์สิ่งไม่ดีที่อยู่ภายในผลิตภัณฑ์และบริษัท
O  โอกาส
วิเคราะห์ข้อได้เปรียบ ปัจจัยภายนอกที่อยู่รอบ ๆ ธุรกิจ และไม่สามารถควบคุมได้
T  อุปสรรค
วิเคราะห์ข้อเสียเปรียบ  ปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ
และไม่สามารถควบคุมได้

แสดงตัวอย่างปัจจัยที่ควรพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT

จุดแข็ง (Strength)
จุดอ่อน (Weakness)
  • เงินทุนหมุนเวียนมาก
  • ภาพพจน์ของสินค้าและบริษัท
  • ส่วนแบ่งทางการตลาด
  • ช่องทางการจัดจำหน่าย
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ
  • มีผู้บริหารที่มากด้วยประสบการณ์
  • มีทักษะในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่
  • แคบเปญโฆษณาดี
  • ชื่อเสียง ภาพพจน์ดี
  • ฐานะทางการเงินมั่นคง
  • ราคาถูกกว่า
  • มีสินค้าให้เลือกมากกว่า
  • อื่นๆ
  • นโยบายผิดพลาด
  • ขาดแคลนเทคโนโลยีและบุคลากร
  • ไม่มีการวางแผนการดำเนินธุรกิจตัวที่มีประสิทธิภาพ
  • ล้มเหลวในการทำวิจัยและพัฒนา
  • สายผลิตภัณฑ์แคบ
  • ภาพพจน์สินค้าไม่ดี
  • ช่องทางการจัดจำหน่ายไม่เพียงพอ
  • เงินทุนหมุนเวียนมีน้อย
  • ไม่มีการทำโฆษณา
  • ต้นทุนการผลิตสูง
  • กลยุทธ์ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
  • ราคาแพงกว่า
  • อื่นๆ
โอกาส  (Opportunity)
อุปสรรค (Threat)
  • อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
  • ทัศนคติที่ดีต่อสินค้าของผู้บริโภค
  • คู่แข่งขันเลิกกิจการ
  • มาตรการส่งเสริมจากภาครัฐบาล
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง
  • เทคโนโลยีหรือวิชาการใหม่ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • จำนวนผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น
  • อื่นๆ
  • คู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาด
  • คู่แข่งทุ่มเทงบการตลาดมาก
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
  • กฎหมายหรือระเบียบการ
  • พฤติกรรมผู้บริโภค
  • อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจซบเซา
  • จำนวนผู้บริโภคลดน้อยลง
  • เศรษฐกิจไม่ดี
  • สภาวะทางการเมืองไม่เอื้ออำนวย
  • อื่นๆ 
จะเห็นว่า  การวิเคราะห์ SWOT มีประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัท และช่วยให้บริษัทสามารถแก้ปัญหา ฟันฝ่าอุปสรรค ตลอดจนสามารถฉวยโอกาสทางการตลาดได้