วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง


                 บทเรียนการสอนผ่านบล็อก  เพื่อทบทวนเรื่อง  การเลือกกลุ่มตัวอย่าง

                                              
            แนะนำขั้นตอนการเรียน
1.      ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2.      เข้าศึกษาบทเรียน ตามหน่วยการเรียน
3.      ทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วยแต่ละหน่วย
4.       เมื่อศึกษาจนครบทุกหน่วยแล้วจึงทำแบบทดสอบหลังเรียน
5.       กรุณาลงนามหลังจากครบทุกขั้นตอน  แล้วส่งมาที่
2. ส่งมาในบล็อกช่องแสดงความคิดเห็น
3. ปริ้นข้อมูลมาส่งด้วยตนเอง
            ***********************************************************
แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง  การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
คำชี้แจง  ข้อเป็นแบบปรนัย  มีจำนวน  10  ข้อ  10  คะแนน
คำสั่ง      ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว แล้ว กากบาททับตัวอักษรข้อที่ถูกต้อง
                หรือเขียนเฉพาะคำตอบที่ถูกต้องตามตัวอย่าง
ตัวอย่าง   เขียนหัวข้อว่า  "แบบทดสอบก่อนเรียน "
            ข้อ1. ตอบ   ก.
.................................................................................................................................
1.  ประชากร  หมายถึงอะไร
ก.       สิ่งที่มีชีวิต
ข.       สิ่งที่ไม่มีชีวิต
ค.       สิ่งที่ไม่สามารถนับได้
ง.       ทุกหน่วยในหน่วยที่สนใจศึกษา
2.  ในการสำรวจประชามติครั้งหนึ่ง  ผู้ทำการศึกษาแจกแบบสอบถาม  ณ  สถานที่
ขนส่ง  เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใด
ก.       แบบบังเอิญ
ข.       แบบหลายขั้นตอน
ค.       แบบมีจุดมุ่งหมาย
ง.       แบบกำหนดโควต้า

3.       การสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยให้หน่วยตัวอย่างใน
กลุ่มหนึ่ง ๆ เหมือนกันไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มแล้ว จึงสุ่มหน่วยตัวอย่างจากทุกกลุ่มเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด
ก.       แบบอย่างง่าย
ข.       แบบแบ่งกลุ่ม
ค.       แบบมีระบบ
ง.       แบบแบ่งชั้น
4.       การสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ  โดยให้หน่วยตัวอย่างใน
กลุ่มหนึ่ง ๆ  ต่างกันมาก ๆ  แต่ในระหว่างกลุ่มให้มีความแตกต่างกันน้อยที่สุด  แล้วจึงสุ่มกลุ่มตัวอย่างย่อยด้วยวิธีสุ่มแบบง่ายแล้วใช้ทุกหน่วยในกลุ่มย่อยทีสุ่มได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง  เป็นวิธีการสุ่มแบบใด
ก.       แบบอย่างง่าย
ข.       แบบแบ่งกลุ่ม
ค.       แบบมีระบบ
ง.       แบบแบ่งชั้น
5.       ข้อใดเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจำเป็น
ก.       แบบอย่างง่าย
ข.       แบบหลายขั้นตอน
ค.       แบบแบ่งกลุ่ม
ง.       แบบโดยบังเอิญ
6.       หมู่บ้านหนึ่งแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยก่อน  แล้วสุ่มเลือก
ตัวอย่างจากกลุ่มประชากรย่อย  คือข้อใด
ก.       สุ่มแบบแบ่งกลุ่ม
ข.       สุ่มแบบหลายขั้นตอน
ค.       สุ่มแบบมีระบบ
ง.       สุ่มแบบอย่างง่าย
7.       กลุ่มตัวอย่าง  หมายถึงข้อใด
ก.       สมาชิกบางส่วนของประชากร
ข.       ความแตกต่างของประชากร
ค.       สมาชิกทั้งหมดของกลุ่ม
ง.       รายชื่อทุกหน่วยที่ต้องการศึกษา
8.       การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า  ลักษณะอย่างไร
ก.       สุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ข.       สุ่มโดยคำนึงถึงคุณลักษณะหรือประเภทของประชากร
ค.       สุ่มตัวอย่างโดยใช้เหตุผลและวิจารณญาณ
ง.       สุ่มเท่าที่จะทำได้  ไม่มีการกำหนดลักษณะของหน่วยตัวอย่างไว้ล่วงหน้า
9.       ในการสำรวจเพื่อทำนายผลการเลือกตั้ง จากผู้มาใช้สิทธิ์ทุก ๆ 10 นาที เป็นการ
สุ่มตัวอย่างแบบใด
ก.       แบบอย่างง่าย
ข.       แบบอย่างมีระบบ
ค.       แบบหลายขั้นตอน
ง.       แบบแบ่งกลุ่ม
10.    ข้อใดเป็นหลักในการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม
ก.       จัดโดยการจับฉลาก
ข.       จัดประชากรออกเป็นพวกหรือชั้น
ค.       จัดประชากรรวมกันเป็นกลุ่ม
ง.       จัดประชากรเป็นช่วง ๆ  ในลักษณะใกล้เคียงกัน
*********************************************************************
บทเรียน  เรื่อง  การเลือกกลุ่มตัวอย่าง

วัตถุประสงค์ของเรื่อง  การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1.       บอกความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้
2.       อธิบายเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้
หน่วยที่  1  ความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                ประชากร (Population)  หมายถึง  หน่วยที่จะศึกษาทั้งหมด  หน่วยที่จะศึกษาจะมีจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับหน่วยที่จะทำการวิจัย
                กลุ่มตัวอย่าง (Sample)  หมายถึง  บางส่วนของหน่วยที่จะศึกษา  หรือบางส่วนของประชากรที่เราต้องศึกษา

 แบบฝึกหัดท้ายหน่วย  เรื่อง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                จงอธิบายความหมายของคำว่า ประชากร  และกลุ่มตัวอย่าง  (2  คะแนน)
****************************************************************

หน่วยที่  2  เทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่าง  จำแนกเป็น  2  แบบคือ
                1.  การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น  (Probability  Sampling)  แบ่งออกเป็น  ดังนี้
                                1.1  การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple  Random  Sampling)  เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยนำประชากรรวมคละกันแล้วหยิบตัวอย่างขึ้นมา  โดยไม่พิจารณาถึงความแตกต่างทางด้านเพศ อายุ  รายได้  ระดับการศึกษา จนกว่าจะได้ตัวอย่างครบตามต้องการ หรือใช้ตารางเลขสุ่ม
                                1.2  การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ  (Systematic  Sampling)  เป็นการนำประชากรทั้งหมดมาแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ  ในจำนวนที่เท่า ๆ กัน  จากนั้นจึงหยิบตัวอย่างจากประชากรแต่ละกลุ่มตามจำนวนที่กำหนดไว้ 
                                1.3  การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น  (Stratified  Random  Sampling)  เป็นการสุ่มตัวอย่างที่แบ่งประชากรออกเป็นชั้น ๆ  ตามลักษณะของประชากร  โดยให้ประชากรในแต่ละชั้น  หรือภายในชั้นเดียวกันมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุดและให้ประชากรระหว่างชั้นมีลักษณะแตกต่างกันให้มากที่สุดจากนั้นจึงค่อยสุ่มเลือกตัวอย่างแต่ละชั้นจนกว่าจะได้จำนวนตัวอย่างครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในแต่ละชั้น
                                1.4  การเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม  (Cluster  Sampling)  บางคนเรียกว่า เป็นการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งตามพื้นที่  เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่ม ๆ  โดยให้ประชากรภายในแต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างกันให้มากที่สุด  แต่ประชากรระหว่างกลุ่มจะมีลักษณะเหมือน ๆ  กัน  จากนั้นเลือกกลุ่มมาเป็นตัวอย่าง  ซึ่งเราจะสุ่มเลือกบางกลุ่ม
เท่านั้น
2.       การเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น  ( Non-Probability Sampling)  แบ่ง
ออกเป็น  ดังนี้
2.1    การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ  (Accidental  Sampling)  หรือแบบตาม
ความสะดวก  เป็นการเก็บตัวอย่างจากกลุ่มประชากรอย่างไม่มีระเบียบแบบแผนเก็บรวบรวมจนได้ตีวอย่างครบตามจำนวนที่ต้องการมีลักษณะแบบ  man on the street  กล่าวคือ เจอใครก็สัมภาษณ์หมดไม่เลือก ไม่เจาะจง
                                2.2  การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงหรือแบบตามความประสงค์หรือตามวิจารณญาณ  เป็นการเลือกตัวอย่างจากกลุ่มประชากรที่เรามีความต้องการจะทำการศึกษาเฉพาะเจาะจง โดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องนั้น ๆ  จะเป็นทำการเลือกตัวอย่างด้วยตนเอง  โดยใช้เหตุผลและวิจารณญาณ  ตลอดจนประสบการณ์ส่วนตัวมาใช้ในการเลือกตัวอย่าง
                                2.3  การเลือกตัวอย่างแบบโควต้า  เป็นวิธีการเลือกตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วนตามองค์ประกอบของประชากร  เป็นการเลือกตัวอย่างเพื่อให้ได้จำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มย่อยเป็นสัดส่วนกับองค์ประกอบของประชากร จากนั้นใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญเลือกหน่วยที่เราจะสอบถาม    วิธีการเลือกตัวอย่างวิธีนี้มี 4  ขั้นตอน  คือ
                                                ขั้นตอนที่ 1  แบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ
                                                ขั้นตอนที่ 2  เลือกกลุ่มที่จะศึกษาทุกกลุ่ม
                                                ขั้นตอนที่ 3  กำหนดจำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มย่อยให้เป็นสัดส่วนกับกลุ่มประชากร
                                                ขั้นตอนที่ 4  ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เลือกหน่วยที่เราจะใช้เป็นตัวอย่าง

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่ 2  เรื่อง  เทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1.  จงอธิบายเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 2 แบบ   (8 คะแนน)
2.  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว  (5 คะแนน)
2.1.  ข้อใดเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจำเป็น
                                ก.  แบบโควต้า
                                ข.  แบบเจาะจง
                                ค.  แบบแบ่งชั้น
                                ง.  แบบลูกโซ่
                2.2  ในการศึกษารายได้ของบริษัท  ผู้วิจัยได้จำแนกบริษัทเป็น 3 ขนาด (เล็ก กลาง ใหญ่) และทำการสุ่มตัวอย่างจำนวนบริษัทตามสัดส่วนของขนาดบริษัท  เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบใด
                                ก.  แบบแบ่งชั้น
                                ข.  แบบอย่างมีระบบ
                                ค.  แบบหลายขั้นตอน
                                ง.  แบบแบ่งกลุ่ม
                2.3  การสุ่มตัวอย่างโดยบังเอิญ  มีลักษณะอย่างไร
                                ก.  สุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีการเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
                                ข.  สุ่มโดยคำนึงถึงคุณลักษณะหรือประเภทของประชากร
                                ค.  สุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักเหตุผลและวิจารณญาณ
                                ง.  สุมเท่าที่จะทำได้  ไม่มีการกำหนดลักษณะของหน่วยตัวอย่างไว้ล่วงหน้า
                2.4  โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการนักเรียนหญิง 40 คนและนักเรียนชาย 40 คน จากนักเรียนทั้งหมด 180 คน  เป็นตัวแทนโรงเรียนไปเดินการกุศล ควรสุ่มตัวอย่างแบบใด
                                ก.  แบบโควต้า
                                ข.  แบบเจาะจง
                                ค.  แบบบังเอิญ
                                ง.  แบบลูกโซ่
                2.5  การศึกษาของนักหนังสือพิมพ์ที่ต้องการจะทราบความรู้สึกต่อความนิยมการอ่านหนังสือพิมพ์ของประชาชน ควรสุ่มตัวอย่างแบบใด
                                ก.  แบบโควต้า
                                ข.  แบบเจาะจง
                                ค.  แบบบังเอิญ
                                ง.  แบบแบ่งกลุ่ม
*********************************************************************

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง  การเลือกกลุ่มตัวอย่าง

คำชี้แจง  ข้อเป็นแบบปรนัย  มีจำนวน  10  ข้อ  10  คะแนน
คำสั่ง  ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว แล้ว กากบาททับตัวอักษรที่ถูกต้อง
           จำนวน 10  ข้อ  10  คะแนน  หรือ เขียนคำตอบเฉพาะข้อที่ถูกต้องตามตัวอย่าง

ตัวอย่าง   เขียนหัวข้อว่า  "แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน "
            ข้อ1.  ตอบ   ก.
......................................................................................................................................
1.  ประชากร  หมายถึงอะไร
ก.       สิ่งที่มีชีวิต
ข.       สิ่งที่ไม่มีชีวิต
ค.       สิ่งที่ไม่สามารถนับได้
ง.       ทุกหน่วยในหน่วยที่สนใจศึกษา
2.  ในการสำรวจประชามติครั้งหนึ่ง  ผู้ทำการศึกษาแจกแบบสอบถาม  ณ  สถานที่
ขนส่ง  เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใด
ก.       แบบบังเอิญ
ข.       แบบหลายขั้นตอน
ค.       แบบมีจุดมุ่งหมาย
ง.       แบบกำหนดโควต้า
3. การสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยให้หน่วยตัวอย่างในกลุ่มหนึ่ง ๆ เหมือนกันไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มแล้ว จึงสุ่มหน่วยตัวอย่างจากทุกกลุ่มเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด
ก.      แบบอย่างง่าย
ข.      แบบแบ่งกลุ่ม
ค.      แบบมีระบบ
ง.      แบบแบ่งชั้น
4.  การสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ  โดยให้หน่วยตัวอย่างใน
กลุ่มหนึ่ง ๆ  ต่างกันมาก ๆ  แต่ในระหว่างกลุ่มให้มีความแตกต่างกันน้อยที่สุด  แล้วจึงสุ่มกลุ่มตัวอย่างย่อยด้วยวิธีสุ่มแบบง่ายแล้วใช้ทุกหน่วยในกลุ่มย่อยทีสุ่มได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง  เป็นวิธีการสุ่มแบบใด
ก.       แบบอย่างง่าย
ข.       แบบแบ่งกลุ่ม
ค.       แบบมีระบบ
ง.       แบบแบ่งชั้น
5.  ข้อใดเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจำเป็น
                                       ก.  แบบอย่างง่าย
ข.       แบบหลายขั้นตอน
ค.       แบบแบ่งกลุ่ม
ง.       แบบโดยบังเอิญ
6.  หมู่บ้านหนึ่งแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยก่อน  แล้วสุ่มเลือก
ตัวอย่างจากกลุ่มประชากรย่อย  คือข้อใด
ก.  สุ่มแบบแบ่งกลุ่ม
ข.       สุ่มแบบหลายขั้นตอน
ค.       สุ่มแบบมีระบบ
ง.       สุ่มแบบอย่างง่าย
            7.  กลุ่มตัวอย่าง  หมายถึงข้อใด
                   ก.  สมาชิกบางส่วนของประชากร
                  ข.   ความแตกต่างของประชากร
                  ค.  สมาชิกทั้งหมดของกลุ่ม
                 ง. รายชื่อทุกหน่วยที่ต้องการศึกษา
           8.  การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า  ลักษณะอย่างไร
              ก.  สุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
             ข.  สุ่มโดยคำนึงถึงคุณลักษณะหรือประเภทของประชากร
             ค. สุ่มตัวอย่างโดยใช้เหตุผลและวิจารณญาณ
            ง.  สุ่มเท่าที่จะทำได้  ไม่มีการกำหนดลักษณะของหน่วยตัวอย่างไว้ล่วงหน้า
              9. ในการสำรวจเพื่อทำนายผลการเลือกตั้ง จากผู้มาใช้สิทธิ์ทุก ๆ 10 นาที เป็นการ
สุ่มตัวอย่างแบบใด
           ก.  แบบอย่างง่าย
           ข.  แบบอย่างมีระบบ
           ค. แบบหลายขั้นตอน
           ง. แบบแบ่งกลุ่ม
            10.  ข้อใดเป็นหลักในการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม
           ก.  จัดโดยการจับฉลาก
          ข.  จัดประชากรออกเป็นพวกหรือชั้น
          ค.  จัดประชากรรวมกันเป็นกลุ่ม
         ง.  จัดประชากรเป็นช่วง ๆ  ในลักษณะใกล้เคียงกัน

**********************************

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น


แผนการจัดการเรียนรู้
รหัส  05-021-211                รายวิชา  ระเบียบวิธีการวิจัยตลาดเบื้องต้น
ระดับชั้นปวส.  2                 ภาควิชา/สายวิชาการตลาด
จำนวน  3  หน่วยกิต            จำนวน 5  ชั่วโมง/สัปดาห์    รวม   90  ชั่วโมง
ภาคเรียนที่  2                       ปีการศึกษา  2553

จุดประสงค์รายวิชา
1.  รู้ประโยชน์และความสำคัญของงานวิจัย ที่มีต่อการตัดสินใจของธุรกิจสมัยใหม่
2.  เข้าใจขั้นตอนในการปฏิบัติงานวิจัย
3.  มีทักษะในการดำเนินงานวิจัยธุรกิจอย่างง่าย
4.  มีกิจนิสัยในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ  มีระเบียบ  มีหลักเกณฑ์มีความคิดริเริ่ม  มีความรับผิดชอบ
5.  ตระหนักถึงความสำคัญของระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น
มาตรฐานรายวิช
ออกแบบเครื่องมือ  วางแผนการวิจัย  เก็บรวบรวมข้อมูล  การแปลความหมาย
การนำเสนอรายงานการวิจัย
คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลการตลาดช่วยในการบริหารงานธุรกิจสมัยใหม่  วิธีการจัดหาข้อมูลการตลาด  การวิจัยตลาดประเภทต่าง ๆ  หลักการและขั้นตอนในกระบวนการวิจัย  การฝึกปฏิบัติงานวิจัยภาคสนามเพื่อให้ได้ประสบการณ์จริง
สมรรถนะรายวิชา
1.       ปฏิบัติงานวิจัยได้ตามขั้นตอนการวิจัยตลาด
2.       ออกแบบเครื่องมือ และแปลความหมายตามหลักการและขั้นตอนในกระบวนการวิจัยตลาด
3.       นำเสนอรายงานการวิจัยโดยเน้นการปฏิบัติจริง
แผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยที่ 1
 ชื่อหน่วยลักษณะงานวิจัยตลาด
 สาระสำคัญ
                1.   การวิจัยตลาด  หมายถึง  กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ  สนใจในเรื่องที่เป็นประเด็นปัญหาในเรื่องการตลาด  สินค้าหรือบริการ  ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการค้นคิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ
                2.  หน่วยงานวิจัยตลาด  ได้แก่  หน่วยงานวิจัยตลาดภายนอกกิจการ  กับหน่วยงานวิจัยตลาดภายในกิจการ
                3.  ประเภทของงานวิจัยตลาด  มี 6 ประเภท ได้แก่  1.  กาวิจัยผู้บริโภค   2.  การวิจัยเกี่ยวกับตลาด  3.  การวิจัยการขาย  4.  การวิจัยผลิตภัณฑ์ 5.  การวิจัยการโฆษณา  6.  การวิจัยด้านอื่น ๆ
 หัวข้อเรื่อง
1.  ความหมายของการวิจัยตลาด
2.  หน่วยงานวิจัยตลาด
3.  ประเภทของงานวิจัยตลาด
 จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ทั่วไป
1.  เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับความหมายของการวิจัยตลาด  หน่วยงานวิจัยตลาด   และ ประเภทของการวิจัยตลาด    (ด้านความรู้)
 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.  อธิบายความหมายของการวิจัยตลาดได้  (ด้านความรู้)
2.  บอกหน่วยงานวิจัยตลาด  (ด้านความรู้)
3.  บอกประเภทของการวิจัยตลาดได้  (ด้านความรู้)
 สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้
อธิบายความหมาย  บอกหน่วยงานวิจัยตลาด  และประเภทของงานวิจัยตลาดครบถ้วนตามองค์ประกอบ

เนื้อหาสาระการเรียนรู้
ด้านความรู้  (ทฤษฎี)
1.  ความหมายของการวิจัยตลาด   (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่  1)
                อาจารย์วีระ  บุญญานุรักษ์  การวิจัยตลาดหมายถึง  การนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์  มาใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านการตลาด
                อาจารย์ประยูร  บุญประเสริฐ  การวิจัยตลาดหมายถึง  การนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสังเกต  ทดลอง  บันทึกและสำรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน  เพื่อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับตัวผู้บริโภคและสภาพความเป็นไปของตลาด
                Peter  D. Bennet  กล่าวว่า การวิจัยตลาด หมายถึง  กิจกรรมที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้บริโภค  ลูกค้าและสาธารณชนกับนักการตลาดให้เข้าถึงกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งข้อมูลข่าวสารดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการค้นหาปัญหาทางการตลาดและโอกาสทางการตลาดการประมวล  การกลั่นกรอง  การประเมินผลการดำเนินงานทางด้านการตลาดถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงความเข้าใจเรื่องกระบวนการทางการตลาด
                Philip  Kotler  กล่าวว่า  การวิจัยตลาด  หมายถึง  การออกแบบ  การเก็บรวบรวมข้อมูล   การวิเคราะห์  และการรายงานข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยผลสรุปที่ได้จากการวิจัยจะเป็นประเด็นเฉพาะสถานการณ์ทางการตลาดที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่
                สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา   การวิจัยตลาด  เป็นการรวบรวม  การจดบันทึกและ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาต่าง ๆ  ทางด้านการตลาดอย่างมีระบบแบบแผน  ทั้งนี้เพื่อช่วยฝ่ายบริหารในการแก้ปัญหา  หาโอกาสทางการตลาดและตัดสินใจหาข้อสรุปทางการตลาด
                                จากความหมายของการวิจัยตลาด  พิจารณาเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก  ซึ่งอาจสามารถสรุปได้ดังนี้คือ
เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
อย่างเป็นระบบเป็นการศึกษา  สนใจเรื่องที่เป็นประเด็นปัญหาในเรื่องการตลาด  สินค้าหรือบริการ
ประกอบด้วยกระบวนการค้นคิด  วิเคราะห์สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ  ได้แก่  การรวบรวม  การ การบันทึกข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่น่าเชื่อถือมุ่งหวังที่จะล่วงรู้ความต้องการในจิตใจของผู้บริโภค  ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหรือตลาดเป้าหมาย  เพื่อการวางแผนและตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งทางการตลาด

2. หน่วยงานวิจัยตลาด   (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่  2)
                     หน่วยงานวิจัยตลาด  แยกเป็น  หน่วยงานวิจัยตลาดภายกิจการ  กับหน่วยงานวิจัยตลาดภายในกิจการ
                      หน่วยงานวิจัยตลาดภายนอกกิจการ   แบ่งออกเป็น  4  ประเภท  ดังนี้
                                1.  สถาบันวิจัยต่าง ๆ  ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  มักจะมีวิชาวิจัยให้นักศึกษาเลือกเรียน  นอกจากนี้ยังมีการตั้งหน่วยงานวิจัยขึ้นในคณะนั้น ๆ  ด้วย  เช่น วิจัยธุรกิจของคณะพณิชยศาสตร์และการบัญชี  จุฬา  ธรรมศาสตร์  จึงมักจะรับงานวิจัยจากภายนอกโดยมีบริษัทต่างๆ  มาว่าจ้างให้ทำวิจัย
                                2.  บริษัทวิจัยธุรกิจอิสระ  ปัจจุบันมีบริษัทที่รับทำวิจัยธุรกิจและวิจัยลาดเป็นจำนวนมาก  ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยโดยเฉพาะประจำอยู่  มีพนักงาน  หรือบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในประเทศไทยบริษัทใหญ่ๆ  ที่รับทำวิจัยโดยเฉพาะ  ได้แก่  บริษัท  Business  Research  จำกัด  บริษัท  ดีมาร์  จำกัด  และแผนกวิจัยของบริษัทโฆษณาต่าง ๆ  ฯลฯ
                                3.  หน่วยงานวิจัยที่มิได้มุ่งหวังกำไร  ได้รับเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินหรือจากองค์การมูลนิธิการกุศลต่าง ๆ  เช่น  สถาบันโรคปอด  สถาบันโรคผิดหนัง  สภาวิจัยแห่งชาติ  สมาคมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาแห่งประเทศไทย  ฯลฯ
                                4.  ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ  ส่วนมากมักจะเป็นอาจารย์ทางด้านการตลาด  การโฆษณา  และเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ
                หน่วยงานวิจัยตลาดภายในกิจการ   ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ  ดังนี้
                                1.  ฝ่ายอำนวยการ  ทำหน้าที่บริหารงานและรับผิดชอบการปฏิบัติงานทั้งหมดของหน่วยงานวิจัยการตลาดที่ตั้งขึ้น  ซึ่งอาจเรียกว่า  ผู้อำนวยการวิจัยตลาด  ผู้จัดการแผนกวิจัยตลาด  หัวหน้าส่วนวิจัยตลาด  หัวหน้าแผนกวิจัยตลาด  ฯลฯ  ทั้งนี้แล้วแต่ขนาดและฐานะของกิจการนั้น ๆ  แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารสูงสุดของแผนกวิจัยตลาดนี้มักขึ้นตรงต่อผู้จัดการฝ่ายการตลาด
                                2.  ฝ่ายวิชาการ  ทำหน้าที่คอบให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับการวิจัยตลาด  ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ  เช่น นักการตลาด  นักสถิติ  นักเศรษฐศาสตร์ ฯลฯ
                                3.  แผนกเก็บรวบรวมข้อมูล  ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่ต้องใช้กับงานวิจัยนั้น
                                4.  แผนกประมวลข้อมูล  ทำหน้าที่บันทึกจัดระเบียบข้อมูลเพื่อเตรียมการวิเคราะห์ต่อไป
                                5.  แผนกวิเคราะห์ข้อมูล  ทำหน้าที่ด้านวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมมาได้  ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ทั้งเชิงสถิติ  เชิงการตลาด  เชิงเศรษฐกิจ  เชิงสังคมและการเมืองควบคู่กันไป
                                6.  แผนกห้องสมุด  ทำหน้าที่เก็บรักษาเอกสารข้อมูลต่าง ๆ  เพื่อใช้ประโยชน์อ้างอิงต่อไปในอนาคตและรับผิดชอบด้านห้องสมุดของหน่วยงานวิจัย
                                7.  แผนกเลขานุการ  ทำหน้าที่ด้านธุรการทั้งหมดของหน่วยงานวิจัยตลาด  ที่จัดตั้งขึ้นมา

3.  ประเภทของการวิจัยตลาด  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่  3)
   ประเภทของการวิจัยตลาด  แบ่งออกเป็น  6  ประเภท 
1.  การวิจัยผู้บริโภค
2.  การวิจัยเกี่ยวกับตลาด
3.  การวิจัยการขาย
4.  การวิจัยผลิตภัณฑ์
5.  การวิจัยการโฆษณา
6.  การวิจัยด้านอื่น ๆ
การวิจัยผู้บริโภค  จัดเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  การวิจัยผู้บริโภคเป็นแบบที่สำคัญที่สุด   
การวิจัยผู้บริโภคเป็นการวิจัยถึงบุคคลในตลาดหนึ่ง ๆ  การวิจัยผู้บริโภคมักจะศึกษาวิจัยถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
                                1. ใครเป็นผู้ใช้ผลิตภัณฑ์   ก็จะทราบได้ทันทีว่า  ใครคือผู้อุปโภคบริโภค  บางครั้งเรียกการวิจัยนี้ว่าการสำรวจผู้บริโภค  กิจการจำเป็นต้องทราบว่า  ใครคือผู้ใช้  และใช้ทำอะไร ข้อนี้คือจุดสำคัญ  เมื่อเราได้ทราบว่าใครเป็นผู้ใช้แล้ว  เช่น  ผู้ชาย   ผู้หญิง  วัย  อาชีพ  รายได้ แล้ว  หลังจากนั้นเราจึงเริ่มดำเนินการทางด้านการตลาดได้ถูกต้องต่อไป
                                2.  ทำไมผู้อุปโภคบริโภคจึงซื้อผลิตภัณฑ์  ตอบได้ทันทีว่าเพราะเขามีความอยากซื้อ  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยากมากในการที่จะศึกษาว่า  ความอยากซื้อหรือแรงจูงใจของคนคืออะไร  บางคนจึงเรียบกว่าการวิจัยสิ่งจูงใจ  ซึ่งเป็นการศึกษาหาจ้อมูลเหตุจูงใจที่แท้จริงในการซื้อสินค้าของผู้บริโภค
                                3.  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ใช้  ผู้ศึกษาต้องค้นหาความสัมพันธ์หรืออิทธิพลระหว่างผู้ซื้อกับผู้ใช้
                                4.  ผู้ซื้อซื้อไปใช้ทำอะไร  ฝ่ายวิจัยจำเป็นต้องะต้องทราบถึงลักษณะการใช้สินค้าของผู้ซื้อ  จากนั้นจึงจะลำดับวิธีใช้สินค้าเหล่านั้นออกมาเป็นข้อ ๆ  ซึ่งจะทำให้เราสามารถทราบถึงจุดประสงค์การใช้สินค้านั้น ๆ  ผลที่ได้รับจากการนี้จะเป็นเครื่องมือในการขยายตลาด  และหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าภายหลังจากที่เราได้พยายามหาดูแล้ว  ก็จะพบว่าแต่ละคนใช้สินค้าอย่างเดียวกันไปในทางต่าง ๆกัน  เช่นซื้อเป็นของกำนัลให้ญาติผู้ใหญ่  หรือผู้ที่มีพระคุณ  เป็นต้น
                                5.  การวิเคราะห์ถึงจำนวนที่ใช้ในแต่ละครั้ง  กิจการจำเป็นต้องรู้ว่า  เมื่อสินค้าของตนขายออกไปแล้ว  ผู้บริโภคมีอัตราการอุปโภคบริโภคต่อครั้งมากน้อยเพียงใด  ใช้หรือรับประทานครั้งละมาก  ๆ  หรือน้อย  ๆ  หรือพอประมาณทั้งนี้เพื่อผลในการวางแผนการจำหน่าย
                                6.  วิเคราะห์ถึงจำนวน  เป็นการสำรวจ  จำนวนการซื้อแต่ละครั้งว่ามีปริมาณจำนวนเท่าใด  ทั้งนี้เพื่อการวางแผนในการบรรจุภัณฑ์
                                7.  อุปนิสัย  เป็นการศึกษาถึงอุปนิสัยองบุคคลแต่ละประเภทแต่ละวัย   เพื่อที่กิจการสามารถสร้างความรู้สึกที่ดี ๆ ให้ผู้ซื้อบังเกิดต่อสินค้าของเราได้
                                8.  สถานที่ที่ซื้อ  จะต้องศึกษาถึงตลาดหรืออาณาเขตที่สำคัญที่คนนิยมไปซื้อกันเสมอ ๆ  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละชนิด  การวิจัยประเภทนี้ยังช่วยให้เราสามารถกำหนดชนิดของสินค้าที่จะมาวางจำหน่ายในร้านค้า  วิธีการตกแต่งร้านที่จะดึงดูดผู้ซื้อ
                                9.  ความจงรักภักดีในตรายี่ห้อ   บุคคลบางกลุ่มจะนิยมซื้อสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งในตรายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งโดยเฉพาะ เช่นแม่บ้าน จะนิยมซื้อนมตราหมี  หรือนมตรามะลิเป็นประจำ  เมือฝ่ายจัดการได้ทราบ  จะได้วางวิธีการที่จะสร้างสิ่งนี้ขึ้นมา
                                10.  การศึกษาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์  การศึกษาถึงลักษณะของพลเมือง ในแต่ละจังหวัด  อำเภอหรือเขต  ตำบล  หรือ  อาจจะต้องศึกษาถึงส่วนย่อยลงไปอีก  ผลที่ได้รับจะเป็นไปในรูปของการวางแผนการขาย  และการควบคุมการขาย
                                11.  สถานะทางเศรษฐกิจ  โดยอาจจะศึกษาถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป  การหาแนวโน้มของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด  ผลที่ได้รับก็จะทำให้กิการทราบถึงความต้องการของตลาดต่อผลิตภัณฑ์  เช่น  ในช่วงเดือนกรกฏาคม  สิงหาคม  กันยายน  3  เดือน  ซึ่งเป็นระยะที่เข้าพรรษา  สินค้าอุปโภคบริโภคและเสื้อผ้า  อุปสงค์ความต้องจะลดลง
               
การวิจัยเกี่ยวกับตลาด  ขอบเขตของการวิจัยตลาด  มีดังนี้
                                1.  การวิเคราะห์ตลาดผู้บริโภค    ผู้บริโภค  คือ  ศูนย์กลางของกำลังความพยายามทางการตลาดที่ผู้บริหารต้องเอชนะคู่แข่งให้ได้ด้วยกลยุทธและยุทธวิธีการตลาดที่มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้สินค้าส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในท้องตลาดก็จัดอยู่ในประเภทนี้  ดังนั้น  จึงมีการให้ความสนใจต่อการวิเคราะห์ตลาดผู้บริโภค  เพื่อพยายามสนองความต้องการของตลาดด้วยแนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่
                                2.  การวิเคราะห์ตลาดผู้ค้าส่ง  เป็นการศึกษาค้นคว้าวิจัยถึงลักษณะการดำเนินงานของผู้ค้าส่ง  ขนาดของตลาดผู้ค้าส่ง  สภาพการแข่งขันในตลาดผู้ค้าส่ง  บทบาทความสำคัญของตลาดผู้ค้าส่งและแนวโน้มของตลาดผู้ค้าส่ง
                                3.   การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตลาด  บ่อยครั้งที่ข้อมูลทางการตลาดไม่อาจช่วยการตัดสินใจทางการตลาดที่ถูกต้องได้  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะได้ข้อมูลมาไม่ถูกต้องและไม่ตรงกับความต้องการข้อมูลล้าสมัยหรือบางครั้งก็ส่งข้อมูลให้ฝ่ายบริหารล่าช้าสายเกินไปไม่ทันต่อความต้องการ  การไม่อบรมพนักงานเก็บข้อมูลก่อนออกภาคสนาม  ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหามากแก่ฝ่ายบริหารการตลาด  ดังนั้น  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากตลาดก่อนที่จะนำเสนอฝ่ายบริหารต่อไป
                                4.  การศึกษาขนาดของตลาด   เป็นการศึกษาวิจัยถึงจำนวนผู้บริโภคในตลาดที่เรามุ่งหวังไว้  อัตราการเพิ่มการลดเป็นไปในลักษณะใด  พื้นฐานการศึกษาโดยเฉลี่ยของผู้บริโภคในตลาดนั้น ๆ  อยู่ในระดับใด  รายได้  ลักษณะการใช้จ่ายและพฤติกรรมการซื้อ  ทั้งนี้  เพื่อจะกำหนดกลยุทธและยุทธวิธีการตลาดให้เหมาะสมกับขนาดของตลาด  ขนาดของตลาดในที่นี้หมายถึงตลาดที่ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทถูกยอมรับจากผู้บริโภค  การที่ขนาดของตลาดจะกว้างหรือแคบก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่วางไว้และกำลังของธุรกิจนั้น ๆ
                                5.  การศึกษาแนวโน้มของตลาด  เอนักวิจัยตลาดทราบถึงขนาดของตลาดแล้ว  ยังมีความจำเป็นต้องทราบถึงแนวโน้มของตลาดได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธจากผู้บริโภคอย่างไร  ทัศนคติท่าทีทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ผู้บริโภคน่าจะแสดงออกมาเป็นเช่นไร  ฯลฯ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนการตลาดล่วงหน้าเพื่อสนับสนุนหรือแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเสียแต่เนิ่นๆ
                                6.  สภาวะการแข่งขันในตลาด  เป็นการหาข้อมูลทางการตลาดเพื่อศึกษาถึงสภาพการแข่งขันในตลาด  โดยส่วนใหญ่มักจะวิเคราะห์ถึงส่วนครองตลาด  ของผลิตภัณฑ์ตรายี่ห้อของตนว่ามีคู่แข่งทั้งสิ้นในตลาดกี่ราย  แต่ละรายมีอัตราส่วนการครองตลาดเท่าใดหาจุดอ่อนจุดแข็งของคู่แข่ง  ฯลฯ  สิ่งที่ทำไปทั้งหมดก็เพื่อที่จะได้วางแผนการตลาดที่พร้อมจะต่อสู้กับคู่แข่งในสถานการณ์ต่าง ๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                7.  การกำหนดลักษณะเฉพาะของตลาด  เป็นการหาข้อมูลเพื่อนำมาวางในการนำผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดออกสู่ตลาดโดยให้สอดคล้องกับลักษณะคุณสมบัติเฉพาะของตลาด  ทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ประเภทนั้น ๆ  เหมาะสมกับบุคคลประเภทใด  เพศ  อายุ  รายได้  ฐานะทางสังคม  ศาสนา  ขนบธรรมเนียมประเพณี  เชื้อชาติ  ฯลฯ
                                8.  การคาดคะเนเกี่ยวกับธุรกิจทั่วไปและสภาวะทางเศรษฐกิจ  เนื่องจากการตลาดเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐศาสตร์  แม้แต่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็กล่าวถึงดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าความผันผวนผันแปรใด  ๆ  ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลโดยตรงต่อการตลาด  เช่น  ภาวะเงินฝืด  เงินตึง  ฯลฯ  ย่อมมีผลทำให้ภาวการณ์ตลาดถูกกระทบการเทือนการซื้อของการขายต้องซบเซา  ดังนั้น  นักวิจัยตลาดจึงต้องมีความรู้  ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับสภาพทั่วๆ  ไปของธุรกิจและสภาวะทางเศรษฐกิจ  เพื่อนำมาประกอบการวิจัยปัญหาทางการตลาดต่อไป
                การวิจัยการขาย   ขอบเขตของการวิจัยการขายมักจะวิจัยหัวข้อต่าง ๆ  ดังนี้
                                1.  การวิจัยช่องทางการจัดจำหน่าย  เป็นการวิจัยเพื่อให้ทราบถึงวีการที่จะกระจายสินค้าหรือบริการให้แพร่หลายที่สุด  การตัดสินใจเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายโดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของแต่ละช่องทาง  ต้นการจัดจำหน่ายและส่วนลดต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้น
                                2.  การวิจัยเกี่ยวกับการจัดองค์การฝ่ายขายและการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขาย  โดยศึกษาวิจัยถึงขนาดของสำนักงานขาย  จำนวนพนักงานที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจำนวนกลุ่มพลังการขาย  กิจกรรมต่าง ๆ  ที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้การขายได้ผลตามที่วางไว้
                                3.  การวิจัยเกี่ยวกับเขตการขาย  เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมโดยทั่วไปของบริเวณเขตการขายนั้น ๆ  การกำหนดขนาดพื้นที่ที่พนักงานขายแต่ละคนต้องรับผิดชอบ  การจัดสรรพนักงานขายให้เหมาะสมกับเขตการขายนั้น  ๆ  ต้นทุนการขายในแต่ละเขตการขาย  การวัดผลการขายในแต่ละเขตการขาย  ฯลฯ
                                4.  การวิเคราะห์วิธีการขายในปัจจุบัน  เพื่อหาข้อมูลต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับวีการขายในปัจจุบันมาปรับปรุงวีการขายให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  เพราะสินค้าหรือบริการแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่เหมาะกับวิธีการขายแต่ละแบบแตกต่างกัน
                                5.  การวิจัยเกี่ยวกับพนักงานขาย  พนักงานขายทีมีคุณภาพ  มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานขาย ย่อมจะเป็นที่ต้องการของหน่วยงานธุรกิจต่าง ๆ  ดังนั้น  จึงต้องมีการวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับพนักงานขาย  ซึ่งส่วนมากก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการค้นหาวิธีการคัดเลือกพนักงานขายการฝึกอบรมการขาย  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขายระหว่างพนักงานด้วยกัน  การค้นหาวิธีกระตุ้นและจูงใจการปฏิบัติงานของพนักงานขาย  การวัดประสิทธิภาพของพนักงานขายแต่ละคน  อัตราการเยี่ยมลูกค้า  ขนาดของใบสั่งซื้อ  ฯลฯ
                                6.  การวิเคราะห์การพยากรณ์การขาย   ในปัจจุบันนี้การคาดคะเนหรือการพยากรณ์การขายเป็นงานที่ทวีความยุ่งยากขึ้นทุกที  และมีความสำคัญมากที่ฝ่ายจัดการขายหรือฝ่ายจัดการตลาดต้องปฏิบัติ  ซึ่งมีทั้งการพยากรณ์การขายในระยะสั้นและระยะยาว  ผลการวิเคราะห์การคาดคะเนการขายจะมีส่วนช่วยฝ่ายขายเป็นอย่างมากในด้านกำหนดขนาดการขายในอนาคต  การกำหนดค่าตอบแทนแก่พนักงานขาย  ปริมาณยอดขายในอนาคต  ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อยอดขาย ฯลฯ
                การวิจัยผลิตภัณฑ์    แยกประเด็นการวิจัยผลิตภัณฑ์ออกเป็นส่วน  ๆ  ได้ดังนี้
                                1.  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่  เพื่อศึกษาถึงทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าใหม่  ตลอดจนความต้องการของผู้บริโภคในสินค้าใหม่  เพื่อใช้เป็นแนวทางปรับปรุงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ  ให้เป็นที่ยอมรับของตลาดต่อไป
                                2.  สภาวะการแข่งขันระหว่างผลิตภัณฑ์ของบริษัทกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน  สินค้าแทบทุกชนิดที่จำหน่ายในท้องตลาดมักจะมีมากกว่าหนึ่งตรายี่ห้อ  โดยเฉพาะสินค้าจำพวกอุปโภคบริโภค  แล้วจะมีตรายี่ห้อมากมายนับไม่ถ้วนในสินค้าประเภทเดียวกัน  ซึ่งต่างก็พยายามแบ่งส่วนครองตลาด  จากคู่แข่งขันอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้น  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการทำวิจัยสภาวะการแข่งขัน  ระหว่างผลิตภัณฑ์ของบริษัทกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน  ทั้งนี้เพื่อนำผลการวิจัยมาปรับกับกลยุทธการตลาดของบริษัทต่อไป
                                3.  ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท  เป็นการศึกษาถึงทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท  พฤติกรรมการบริโภคอุปโภค  และจากคำกล่าวที่ว่า  ลูกค้าคือพระราชา  จึงเห็นได้ว่าความสำเร็จ  หรือความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับผู้บริโภคเป็นหลัก  ดังนั้น  การวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคและทัศนคติของผู้บริโภคจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการวางแผนการตลาด
                                4.  การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน  สินค้าที่จำหน่ายในตลาดย่อมจะต้องมีคู่แข่งขัน  ดังนั้น  จึงต้องมีการวิจัยเพื่อหาทางปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้แตกต่างกับสินค้า  ตรายี่ห้อของคู่แข่งขันให้มากที่สุดอยู่ตลอดเวลา
                                5.  การวิจัยการบรรจุภัณฑ์  นักการตลาดบางท่านยอมรับว่าการบรรจุภัณฑ์เป็น P ที่  5  ของส่วนผสมทางการตลาด  จึงมีการแข่งขันกันมากในเรื่องบรรจุภัณฑ์  โดยต้องคำนึงถึงรูปร่าง  ลักษณะ  ความสวยงาม  ขนาดความสะดุดตา  สีสัน  การออกแบบ  ลักษณะของตัวอักษร  ฯลฯ  ดังนั้น  นักการตลาดสมัยใหม่จึงให้ความสำคัญกับการวิจัยการบรรจุภัณฑ์มากกว่าแต่ก่อน
                การวิจัยการโฆษณา  ขอบเขตของการวิจัยการโฆษณา  มีดังนี้
                                1.  การทดสอบแนวความคิดการโฆษณา  เป็นการค้นหาแนวความคิดและส่วนประกอบที่เหมาะสมของงานโฆษณาชิ้นนั้น ๆ  เช่น  คำพุง  เพลงประกอบ  ผู้แสดงและภาพประกอบที่จะนำมาใช้ในการโฆษณานั้น
                                2.  การทดสอบงานสร้างสรรค์  เช่นการทดสอบ  Storyboard  หรือ  Lay  Out  ก่อนที่จะสร้างเป็นภาพยนตร์โฆษณาหรือทำ  Art  Work   การทำทดสอบนี้เป็นการตัดสินว่างานสร้างสรรค์ชิ้นหนึ่งจะให้ผลดีกว่าอีกชิ้นหนึ่งหรือไม่  หรือเปรียบเทียบกับโฆษณาของคู่แข่งขันแล้วเป็นเช่นไรซึ่งช่วยให้ทราบว่างานโฆษณาชิ้นนั้น  ๆ  จะเป็นที่เข้าใจของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่  และสร้างภาพพจน์ที่ดีและถูกต้องตามที่เราต้องการ   อีกทั้งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากโดยการระงับโฆษณานั้นเพื่อนำมาดัดแปลงแก้ไขใหม่ให้ดีขึ้นหากพบข้อบกพร่อง
                                3.  การทดสอบบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุสินค้า  ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นสื่อโฆษณาชนิดหนึ่งเพื่อค้นหาลวดลาย  สี  ขนาด  หรือลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคชอบและสร้างภาพพจน์ที่ดีและถูกต้องให้กับตัวผลิตภัณฑ์  การทดสอบบรรจุภัณฑ์อาจกระทำขึ้นพร้อม ๆ  กับการทดสอบผลิตภัณฑ์หรือแยกกันก็ได้สุดแล้วแต่จุดประสงค์ในการทดสอบ
                                4.  การวิจัยเกี่ยวกับสื่อโฆษณา  เพื่อตัดสินใจเลือกสื่อโฆษณาที่ถูกต้องเหมาะสมและเสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดสำหรับงานโฆษณานั้น  ๆ  การวิจัยเกี่ยวกับสื่อโฆษณายังหมายรวมถึงการตัดสินใจใช้กับสถานที่ที่ถูกต้อง  วันเวลาที่ถูกต้อง  สอดคล้องกับโปรแกรมการโฆษณาที่วางไว้สำหรับประเทศไทยขณะนี้  บริษัท  ดีมาร์  จำกัด   และบริษัท  อาร์ดีอาร์  จำกัด  ได้ให้บริการในเรื่องข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว  โดยบริษัทที่ต้องการวิจัยเกี่ยวกับสื่อโฆษณาสามารถซื้อข้อมูลดังกล่าวได้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป
                                5.  การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการโฆษณา  เป็นการวัดผลการโฆษณาหลังจากงานโฆษณานั้นได้ออกเผยแพร่สู่ตลาด  โดยสามารถวัดผลได้จากการสอบถามกลุ่มเป้าหมายในเรื่องความรู้จักผลิตภัณฑ์  ตรายี่ห้อและโฆษณา  จำนวนผู้ใช้หรือผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังการโฆษณา  ทัศนคติและภาพพจน์ที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการ  ฯลฯ  การวัดผลนี้จะช่วยเป็นแนวทางในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการและงานโฆษณาชิ้นใหม่ให้ดีขึ้น
                การวิจัยด้านอื่น ๆ   เช่น การวิจัยเกี่ยวกับนโยบายการตลาด  การวิจัยสินค้าคงคลัง  การวิจัยเกี่ยวกับสถานที่ตั้งของบริษัทหรือโรงงาน  ทั้งนี้สุดแล้วแต่ว่าฝ่ายจัดการต้องการข้อมูลประเภทใดไปใช้ตัดสินปัญหาที่เกิดขึ้น


กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                  1.  จัดเตรียมสื่อการเรียนการสอน เรื่อง ลักษณะงานวิจัยตลาด
                  2.  ทดสอบก่อนเรียน เรื่องลักษณะงานวิจัยตลาด  แล้วให้นักศึกษา  สลับกันตรวจคำตอบและให้คะแนน
                3.  แจ้งจุดประสงค์การเรียนของหน่วยที่ 1 และการให้ความร่วมมือของนักศึกษาในการทำกิจกรรม
                 4.  ครูนำเข้าสู่บทเรียน  โดยครูซักถามนักศึกษา และยกตัวอย่างงานวิจัยต่าง ๆ  เช่น งานวิจัยของสวนดุสิตโพส์
 ขั้นดำเนินการสอน
1.  กิจกรรมการสอนของผู้สอน
                ครูอธิบายความหมายของการวิจัยตลาด (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรรมข้อที่ 1)  หน่วยงานวิจัยตลาด  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรรมข้อที่ 2)  และประเภทของการวิจัยตลาดโดย           บูรณาการกับวิชาข้อมูลทางการตลาดในส่วนของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ให้มีความฉลาดรอบรู้  และมีเหตุผล  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรรมข้อที่ 3) 

2.  กิจกรรมของผู้เรียน
                นักศึกษาฟังและคิดตามพร้อมทั้งจดบันทึกเกี่ยวกับความหมายของการวิจัยตลาด (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรรมข้อที่ 1)  หน่วยงานวิจัยตลาด  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรรมข้อที่ 2)  และประเภทของการวิจัยตลาด   (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรรมข้อที่ 3) 
 ขั้นสรุป
   1.  ครูและนักศึกษาสรุปร่วมกัน
                 2.   ครูแจกแบบทดสอบหลังเรียน นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน
                 3.  ครูตรวจแบบทดสอบพร้อมกับบันทึกคะแนน  นักศึกษานำคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบกันว่าเป็นอย่างไรมีผลต่างกันอย่างไร  เพื่อดูความก้าวหน้า
(บรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 1-3)
 ใบงานประจำหน่วยการเรียนรู้
 ใบงาน (Job Sheet)  ที่  1
หน่วยที่ 1 .ชื่อหน่วย  ลักษณะงานวิจัยตลาด
ใบงานเรื่อง เกมสิบหกจุด
คำชี้แจง 
1.  ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆ ละ 5 คน
2.  ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเลือกประธาน  รองประธานและเลขานุการ 
3.   ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มระดมสมอง  คิดแก้เกมสิบหกจุด
4.    ให้นักศึกษาแต่ละรายบุคคลตอบคำถาม

กำหนดระยะเวลา  40  นาที

ขั้นตอน / วิธีการดำเนินงาน 
                1.  ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มอ่านโจทย์  ดังนี้   มีจุดอยู่  16  จุด  จัดเรียงดังรูปให้นักศึกษาระดมสมองลากเส้นตรงผ่านจุดทั้ง 16 จุด โดยลากเส้นตรงเพียง 6 เส้น  ทั้งนี้ต้องไม่ยกปลายปากกาออกจากกระดาษ
                                .                               .                               .                               .
                                .                               .                               .                               .
                                .                               .                               .                               .
                                .                               .                               .                               .
               
2. เมื่อนักศึกษาแต่ละกลุ่มแก้เกมสิบหกจุดได้แล้ว  ให้ระดมสมอง บอกประโยชน์ที่ได้รับจากเกมนี้
 3.  ให้นักศึกษาแต่ละรายบุคคลตอบคำถาม  ดังนี้
                                3.1  ให้นักศึกษาบอกความหมายของการวิจัยตลาด  ตามความเข้าใจ
                                3.2   ให้นักศึกษาบอกประเภทของการวิจัยตลาด พร้อมทั้งอธิบายมาพอสังเขป
                                3.3    ให้นักศึกษายกตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย  มา  5  หน่วยงาน

เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
1.  กระดาษ
2.  ปากกา
สื่อประกอบการเรียนรู้
1. สื่อสิ่งพิมพ์   
1.1  หนังสือระเบียบวิธีการวิจัยตลาดเบื้องต้น ของอาจารย์ ดำรงศักดิ์  ชัยสนิท 
และอาจารย์ก่อเกียรติ  วิริยะกิจพัฒนา
1.2  หนังสือวิธีการวิจัยตลาดเบื้องต้น  ของอาจารย์สุดาดวง  เรื่องรุจิระ
หนังสือวิจัยตลาด ของอาจารย์สมศักดิ์  วาณิชยาภรณ์
                1.3  หนังสือวิจัยตลาด  ของอาจารย์เพ็ญศรี  เขมะสุวรรณ
2. สื่อวัสดุ
                -  แผ่นใส
3. สื่อโสตทัศน์
                -  เครื่องฉายข้ามศีรษะ
  แหล่งการเรียนรู้
1.  ห้องสมุดโรงเรียนวิมลพณิชยการ  ศรีย่าน
2.  อินเทอร์เน็ต โรงเรียนวิมลพณิชยการ  ศรีย่าน
3.  หอสมุดแห่งชาติ
 หลักฐานการเรียนรู้
ใบงานที่ 1 เรื่อง เกมสิบหกจุด
 การวัดและประเมินผล
1.  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  ข้อที่ 1  อธิบายความหมายของการวิจัยตลาดได้ถูกต้อง
  1.1  วิธีการประเมิน           ทดสอบ
  1.2  เครื่องมือ                      แบบทดสอบ
  1.3  เกณฑ์การให้คะแนน อธิบายความหมายของการวิจัยตลาด จะได้  3  คะแนน
  1.4  เกณฑ์การตัดสินการผ่านผ่านระดับร้อยละ 80 (ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  2.40 คะแนน)
2.  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ข้อที่ 2  บอกหน่วยงานวิจัยตลาดได้อย่างถูกต้อง
   2.1 วิธีการประเมิน           ทดสอบ
   2.2   เครื่องมือ                    แบบทดสอบ
  2.3   เกณฑ์การให้คะแนนบอกหน่วยงานวิจัยตลาดได้อย่างถูกต้อง  จะได้  2  คะแนน
  2.4   เกณฑ์การตัดสินการผ่าน        ผ่านระดับร้อยละ 80(ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 1.60 คะแนน)
3.  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 3  บอกประเภทของการวิจัยตลาดได้ถูกต้อง
     3.1  วิธีการประเมิน        ทดสอบ
     3.2  เครื่องมือ                   แบบทดสอบ
     3.3  เกณฑ์การให้คะแนน บอกประเภทของการวิจัยตลาดได้อย่างถูกต้องจะได้ 3 คะแนน                                     
     3.4  เกณฑ์การตัดสินการผ่าน      ผ่านระดับร้อยละ 80(ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  2.40 คะแนน)
               แบบทดสอบ  หน่วยที่ 1 
คำชี้แจง   แบบทดสอบมี 1  ตอนคือ  แบบทดสอบปรนัย     จำนวน  6  ข้อ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำสั่ง   จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวแล้วกากบาทลงในกระดาษคำตอบ 

1.  ข้อใดคือความหมายของการวิจัยตลาด
ก.   การเก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ข.  การเก็บรวบรวมข้อมูล  บันทึกข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบ
ค.  การนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาทางการตลาด
ง.  การเก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูลทั่ว ๆไป
 2.  ข้อใดคือลักษณะของการวิจัยตลาดที่เหมือนวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ก.  ให้ข้อมูลเป็นจริง                          
                ข.  มีหลักฐาน พิสูจน์ได้
                ค.  แก้ปัญหาได้
                ง.  วิเคราะห์ข้อมูลได้
3.  หน่วยงานใดที่ทำวิจัยตลาดใช้งบประมาณน้อยแต่ข้อมูลเชื่อถือได้
                ก.  สถาบันวิจัยของรัฐ
                ข.  บริษัทตัวแทนโฆษณา
                ค.  สถาบันการศึกษาที่รับทำวิจัย
                ง.  การจ้างบริษัทรับปรึกษาวิจัยทางการตลาด
4.  ข้อใดเป็นการวิจัยเกี่ยวกับตลาด
                ก.  การศึกษาแนวโน้มของตลาด
                ข.  การทดสอบแนวความคิดการโฆษณา
                ค.  การวิจัยช่องทางการจัดจำหน่าย
                ง.   การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาด
5.  ข้อใดเป็นการวิจัยเกี่ยวกับการขาย   (ให้ใช้คำตอบในข้อที่ 4)
6.  การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค  ในการเลือกซื้อสินค้าประเภทเดียวกัน  แต่มีของแถมต่างกันควรใช้การวิจัยประเภทใด
                ก.  การสำรวจ
                ข.  การสังเกตการณ์
                ค.  การทดสอบตลาด
                ง.  การหาสาเหตุ
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 3
ชื่อเรื่อง  กระบวนการวิจัย

สาระสำคัญ
                1.  การกำหนดปัญหาการวิจัย   ปัญหา  หมายถึง  สิ่งที่นักวิจัยอยากรู้  อยากเห็น  อยากแก้ไขปัญหา  การกำหนดปัญหาการวิจัย  จึงเป็นการกำหนดสิ่งที่นักวิจัยอยากรู้
                2.   การพิจารณาเลือกข้อมูลเบื้องต้น   เป็นการพิจารณาเลือกข้อมูล  ซึ่งได้แก่  การเลือกข้อมูลปฐมภูมิ  และการเลือกข้อมูลทุติยภูมิ
                3.  กระบวนการวิจัย  หมายถึง ขั้นตอนในการดำเนินการต่าง ๆ  เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย
                4.  องค์ประกอบของการเขียนโครงการวิจัย  ประกอบไปด้วย  ชื่อโครงการวิจัย  ความเป็นมาหรือภูมหลังของปัญหา  วัตถุประสงค์ของการวิจัย  ขอบเขตของการวิจัย  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  นิยามศัพท์เฉพาะ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  และตารางการดำเนินการวิจัย
                5.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  มีบทบาทสำคัญในขั้นของการเก็บรวบรวมข้อมูล  ผลการวิจัยจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเครื่องมือการวิจัยที่ใช้  

หัวข้อเรื่อง
1.  การกำหนดปัญหาการวิจัย
2.  การพิจารณาเลือกข้อมูลการวิจัย
3.  กระบวนการวิจัย
4.  องค์ประกอบของการเขียนโครงการวิจัย
5.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ทั่วไป
1.  เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการกำหนดปัญหาการวิจัย  การพิจารณาเลือกข้อมูลเบื้องต้น   
กระบวนการวิจัย  และองค์ประกอบของการเขียนโครงการวิจัย  (ด้านความรู้)
2.  เพื่อให้มีทักษะในการเขียนโครงการวิจัย  (ด้านทักษะ)
3.  เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเขียนโครงการวิจัย  ได้สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด  ตามหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   (ด้านคุณธรรม  จริยธรรม)
4.  เพื่อให้มีทักษะในการสร้างแบบสอบถาม
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.  กำหนดปัญหาการวิจัยได้  (ด้านความรู้)
2.  เลือกข้อมูลเบื้องต้นได้  (ด้านความรู้)
3.  บอกกระบวนการวิจัยได้ (ด้านความรู้)
4.  อธิบายองค์ประกอบของโครงการวิจัย  ได้  (ด้านความรู้)
5.  เขียนโครงการวิจัยได้  (ด้านทักษะ)
6.  ปฏิบัติงานเขียนโครงการวิจัย  โดยใช้ความรอบรู้ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน  และสำเร็จ
ภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีเหตุผลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  (ด้านคุณธรรม  จริยธรรม)
                7.   สร้างแบบสอบถามการวิจัยได้

สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้
เขียนโครงการวิจัย และสร้างแบบสอบถามการวิจัยได้ถูกต้องครบถ้วนตามองค์ประกอบมาตรฐานการเรียนรู้

เนื้อหาสาระการเรียนรู้
                ด้านความรู้  (ทฤษฎี)
                1.  การกำหนดปัญหาการวิจัย   (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่  1)
                      ปัญหาของการวิจัย  หมายถึง  สิ่งที่นักวิจัยมีความอยากรู้อยากเห็นหรือสิ่งที่นักวิจัยต้องการศึกษาหาคำตอบหรือสิ่งที่นักวิจัยสงสัย  โดยปกติแล้วปัญหาทางด้านการตลาดที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจะมีปัญหาที่เกี่ยวโยงกันมากมาย  ดังนั้น  นักวิจัยตลาดต้องพยายามค้นหาว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง  และสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดปัญหาและปัญหานั้นอยู่ตรงไหน  ขณะเดียวกันควรที่จะกำหนดขอบเขตของปัญหาให้เหมาะสมไม่กว้างไกลจนเกินไปหรือแคบจนเกินไป  ปัญหาทางการ
ตลาดที่เกิดขึ้นอาจสรุปเป็นลักษณะใหญ่ ๆ  ได้ 2  ลักษณะ  คือ
1.1.1  ปัญหาที่แสดงอาการชัดเจน  หมายถึง  ปัญหาที่แสดงอาการให้เห็นอย่าง
เด่นชัด เช่น  บริษัท  กอบโกยพาณิชย์  จำกัด  ประสบภาวะยอดขายตกต่ำลงย่อมเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าจะต้องมีสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาพเช่นนั้น  ดังนั้น  การที่ยอดขายตกต่ำจึงเป็นอาการของปัญหาที่แสดงออกมา  ให้เห็นอย่างเด่นชัด  แต่มิใช่ปัญหาที่เราจะทำการแก้ไข
                              1.1.2  ปัญหาที่ไม่แสดงอาการชัดเจน  เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในรูปแฝง  คือ  สาเหตุของปัญหาได้เกิดขึ้นนานแล้วก่อนที่จะแสดงอาการให้เห็นเด่นชัด  เช่น  กรณียอดขายของบริษัททุเรียน  จำกัด  ตกต่ำลงอาจมีสาเหตุมาจากคุณภาพสินค้าต่ำลง  การส่งเสริมการขายทำน้อยลง  ฯลฯ  ถ้าสาเหตุนี้ได้  ถูกแก้ไขเสียแต่ต้น  อาการที่เด่นชัดคือยอดขายตกต่ำก็จะไม่เกิดขึ้น
                1.2  การทำวิจัยเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้
                                  1.2.1  แนวความคิดทางทฤษฎี  นักวิจัยจะทำการวิจัยในเรื่องใดก็ตาม  นักวิจัยผู้นั้นจะต้องมีความรู้ทางทฤษฏีเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการวิจัยเป็นอย่างดี  เพราะทฤษฎีจะเป็นความรู้ที่เป็นระบบ  สามารถใช้ทฤษฏีเป็นกรอบในการกำหนดปัญหาของการวิจัยและชื่อเรื่องของการวิจัยได้เป็นอย่างดี
                                1.2.2  ประสบการณ์ของตัวนักวิจัย  จะมีส่วนช่วยอย่างมาก  ซึ่งทำให้นักวิจัยกำหนดปัญหาจะทำการวิจัยและชื่อเรื่องของการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น
                                1.2.3  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น  หมายถึง  เหตุการณ์ต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นโดยอาจเป็นเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบันก็ได้  ปรากฏการณ์เหล่านี้นักวิจัยอาจได้มาจากการสังเกตของตัวนักวิจัยเองหรือจากการค้นคว้าทางเอกสารก็ได้  สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้นักวิจัยเกิดความอยากรู้อยากเห็นมากยิ่งขึ้น
                                1.2.4  อุดมการณ์ของนักวิจัย  หมายถึง  สถานะของความเชื่อที่นักวิจัยมีต่อปรากฏการณ์และเป้าหมายของการดำเนินงานการวิจัย  ซึ่งมีผลต่อการเลือก  การกำหนดหัวข้อเรื่อง  และปัญหาของการวิจัย  การเลือกตัวแปร  การวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูล
                                1.2.5  ความอยากรู้อยากเห็น  เป็นสิ่งเร่งเร้าที่สำคัญที่จะทำให้นักวิจัยเกิดความอยากรู้อยากเห็นที่จะหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ปัญหาใดปัญหาหนึ่งและจะมีความเพียรพยายาม  เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งนั้น

2.  พิจารณาเลือกข้อมูลเบื้องต้น และกระบวนการวิจัย  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่  2)
                ข้อมูล  หมายถึง  หลักฐานที่ใช้อ้างอิงในการวิจัยซึ่งอาจเป็นเอกสาร หนังสือ  ข่าว  ข้อความ  ฯลฯ    การพิจารณาเลือกข้อมูลเบื้องต้น  มี  2  ประเภท คือ
2.1   ข้อมูลปฐมภูมิ    หมายถึง  ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมเป็นครั้งแรกด้วยตนเอง  เช่น
ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม  การสัมภาษณ์  การสังเกตการณ์  ฯลฯ  ในการวิจัยถ้าไม่มีข้อมูลหรือข้อมูลที่มีอยู่ไม่พอแก่การวิจัยตลาดหรือขาดข้อมูลบางส่วน  จึงต้องมีการออกไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมอีก  ซึ่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมมานี้  ถ้าเก็บด้วยตนเองหรือไม่ได้อาศัยข้อมูลที่มีผู้อื่นหาไว้แล้วเราเรียกว่า ข้อมูลปฐมภูมิ
                2.2  ข้อมูลทุติยภูมิ  หมายถึง  ข้อมูลที่มีผู้ทำการสำรวจวิจัยหรือเก็บรวบรวมมาแล้ว  และข้อมูลนั้นได้ถูกนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชนแล้ว  เป็นข้อมูลที่นักวิจัยต้องศึกษาค้นคว้าอยู่ตลอดเวลา  และต้องมั่นใจว่าตนเองมีข้อมูลเหล่านี้พร้อมอยู่ในมือหรือพร้อมที่จะนำมาศึกษาได้
 3.  กระบวนการวิจัย   (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่  3)
      ประกอบด้วย  6  ขั้นตอน  ดังนี้
                ขั้นที่  1   การกำหนดปัญหาการวิจัย
                ขั้นที่  2   การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
                ขั้นที่  3  การกำหนดแบบแผนการวิจัย
                ขั้นที่  4   การปฏิบัติงานภาคสนามหรือการเก็บรวบรวมข้อมูล
                ขั้นที่  5  การจัดเตรียมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
                ขั้นที่  6  การจัดทำรายงานการวิจัยและการนำเสนอ

4.  องค์ประกอบของการเขียนโครงการวิจัย  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่  4)
                ประกอบไปด้วย  ชื่อโครงการวิจัย  ความเป็นมาหรือภูมหลังของปัญหา  วัตถุประสงค์ของการวิจัย  ขอบเขตของการวิจัย  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  นิยามศัพท์เฉพาะ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  และตารางการดำเนินการวิจัย

ด้านทักษะ  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่  4,6)
                1.  ใบงานที่ 3,4  การเขียนโครงการวิจัย
                2.  ใบงานที่  6   การสร้างแบบสอบถาม
 ด้านคุณธรรม  จริยธรรม  บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 5)
                มีความรอบรู้ในการปฏิบัติงานเขียนโครงการวิจัยได้อย่างถูกต้องครบถ้วน และสำเร็จภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีเหตุผลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
        1.  จัดเตรียมสื่อการเรียนการสอน  ตัวอย่าง  การเขียนโครงการวิจัย
        2.  ทดสอบก่อนเรียน เรื่องการเขียนโครงการวิจัย  แล้วให้นักศึกษา  สลับกันตรวจคำตอบและให้คะแนน
       3.  แจ้งจุดประสงค์การเรียนของหน่วยที่ 3   และการให้ความร่วมมือของนักศึกษาในการทำกิจกรรม
       4.  ครูนำเข้าสู่บทเรียน  โดยซักถามนักศึกษาถึงการจัดทำโครงการต่าง ๆ    

ขั้นดำเนินการสอน
1.  กิจกรรมการสอนของผู้สอน
                 ครูอธิบายและยกตัวอย่างการกำหนดปัญหา   (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 1)  การพิจารณาเลือกข้อมูลเบื้องต้น  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 2)   และองค์ประกอบของการเขียนโครงการวิจัย  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 3)
                  ให้นักศึกษาแต่ละคน  ทำใบงานที่ 3, 4  เรื่อง    การเขียนโครงการวิจัย  ประกอบด้วย ชื่อโครงการวิจัย  ความเป็นมาหรือภูมิหลังของปัญหา  วัตถุประสงค์  ขอบเขตของการวิจัย  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  นิยามศัพท์เฉพาะ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล และตารางระยะเวลาดำเนินการวิจัย เมื่อเขียนโครงการวิจัยเรียบร้อยแล้วให้นักศึกษาแต่ละคนรายงานหน้าชั้นเรียน  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 4)   
                    แบ่งกลุ่มนักศึกษา  กลุ่มละ 5  คน ให้นักศึกษาแต่ละคนในกลุ่ม นำเสนอโครงการวิจัยในกลุ่มของตนเอง  แล้ว  คัดเลือกโครงการวิจัย มา 1  โครงการโดยใช้หลักประชาธิปไตย  ระดมสมอง  แก้โครงการวิจัยให้ถูกต้อง แล้วรายงานหน้าชั้นเรียน  ให้จัดทำสื่อประกอบการรายงานด้วย  เมื่อรายงานหน้าชั้นเรียนแล้วให้ผู้ฟังซักถามปัญหา  ข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการวิจัย  จากนั้นให้ผู้รายงานตั้งคำถามเพื่อถามผู้ฟังอย่างน้อย  2  คำถาม  โดยบูรณาการกับวิชาภาษาไทย  ในส่วนของการพูดและบูรณาการกับวิชาข้อมูลทางการตลาดในส่วนของการเขียนโครงการวิจัย   ด้วยความรอบรู้และรอบคอบ   (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 4,5)    นักศึกษากลุ่มเดิมระดมสมองสร้างแบบสอบถาม  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 6)
 2.       กิจกรรมของผู้เรียน
นักศึกษาฟังและคิดตามพร้อมทั้งจดบันทึกเกี่ยวกับการกำหนดปัญหา  การพิจารณาเลือกข้อมูลเบื้องต้น  และองค์ประกอบของการเขียนโครงการวิจัย (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรรมข้อที่ 1,2,3)
                นักศึกษาแต่ละคนปฏิบัติตามใบงานที่ 4  เรื่องการเขียนโครงการวิจัย  ตามองค์ประกอบที่กำหนดให้  จากนั้นให้นักศึกษาแต่ละคนรายงานหน้าชั้นเรียน  บูรณาการกับวิชาภาษาไทยในส่วนของวรรณกรรมและบูรณาการกับวิชาข้อมูลทางการตลาดในส่วนขอวรรณกรรม 
(บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 4)
                นักศึกษาเข้ากลุ่ม  แล้วปฏิบัติตามใบงานที่ 3  โดยนักศึกษาแต่ละคนในกลุ่มจะต้องนำเสนอโครงการวิจัยของตนเองให้กลุ่มรับทราบ แล้วจึงคัดเลือกโครงการวิจัยมา  1  เรื่อง  โดยใช้หลักประชาธิปไตย  ถือเสียงข้างมากเป็นหลัก  พร้อมให้เหตุผลประกอบ  จากนั้นระดมสมองแก้โครงการวิจัยให้ถูกต้อง  แล้วรายงานหน้าชั้นเรียน  ให้จัดทำสื่อประกอบการรายงานด้วย  เมื่อรายงานหน้าชั้นเรียนแล้วให้ผู้ฟังซักถามปัญหาข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการวิจัย  จากนั้นให้ผู้รายงานตั้งคำถามเพื่อถามผู้ฟังอย่างน้อย  2     คำถาม  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่4,5)  แล้วในนักศึกษากลุ่มเดิมสร้างแบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่  6)

ขั้นสรุป
            1.  ครูสรุปจากการที่นักศึกษานำเสนอโครงการ  พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติม  และสรุปเนื้อหา
ตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ตามหัวข้อสาระสำคัญ
            2.  แจกแบบทดสอบหลังเรียน
            3.  ครูตรวจแบบทดสอบพร้อมกับบันทึกคะแนน  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่1-6)
            4.   นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน
            5.  นักศึกษานำคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบกันว่าเป็นอย่างไรมีผลต่างกันอย่างไร  เพื่อดูความก้าวหน้าของตนเอง  (บรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 1-6)

 ใบงานประจำหน่วยการเรียนรู้

ใบงาน (Job Sheet)  ที่  3
หน่วยที่  3   ชื่อหน่วย  กระบวนการวิจัย
ใบงานเรื่อง   โครงการวิจัย

คำชี้แจง 
ให้นักศึกษาแต่ละคน  เขียนโครงการวิจัย  และนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ระยะเวลา  2  ชั่วโมง

ขั้นตอน / วิธีการดำเนินงาน 
1.  ให้นักศึกษาแต่ละคน  เขียนโครงการวิจัย  อันประกอบไปด้วย  ชื่อโครงการวิจัย  ความ
เป็นมาหรือภูมิหลังของปัญหา  วัตถุประสงค์  ขอบเขตของการวิจัย  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  นิยามศัพท์เฉพาะ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล และตารางระยะเวลาดำเนินการวิจัย
2.  ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมารายงานโครงการวิจัยหน้าชั้นเรียน

เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
1.  กระดาษ
2.  ปากกา
3.  ตัวอย่างโครงการวิจัย
(Job Sheet)  ที่  4
หน่วยที่  3   ชื่อหน่วย  กระบวนการวิจัย
ใบงานเรื่อง   โครงการวิจัย

คำชี้แจง 
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ระดมสมอง คัดเลือก โครงการวิจัยมาเพียง  1  โครงการ  และนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ระยะเวลา   2  ชั่วโมง

ขั้นตอน / วิธีการดำเนินงาน 
1.  ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ  5  คน  นำโครงการวิจัยมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
2.  ให้นักศึกษาคัดเลือกโครงการวิจัยมาเพียง  1  โครงการ   เพื่อทำการวิจัยโดยร่วมกัน
ระดมสมองแก้ไขโครงการวิจัยให้ถูกต้อง
3.  ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอโครงการวิจัย  โดยให้จัดทำสื่อประกอบการรายงาน
หน้าชั้นเรียน

เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
1.  กระดาษ
2.  ปากกา
3.  โครงการวิจัยของแต่ละคน
4.  สื่อประกอบการรายงาน  เช่น  แผ่นใส  หรือ  power  point 

แหล่งการเรียนรู้  หรือ การสืบค้นข้อมูล
1.  ห้องสมุดโรงเรียนวิมลพณิชยการ  ศรีย่าน
2.  สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต  www.//http.vijai.org/research.

ใบงาน (Job Sheet)  ที่  5
หน่วยที่  3   ชื่อหน่วย  กระบวนการวิจัย
ใบงานเรื่อง    แบบสอบถาม

คำชี้แจง 
                ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มสร้างแบบสอบถาม  ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

ระยะเวลา  2  ชั่วโมง

ขั้นตอน / วิธีการดำเนินงาน 
1.  ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มสร้างแบบสอบถาม
2.  ให้แก้ไขเรียบร้อยตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
3.  นำแบบสอบถามไปทดลองใช้
4.  นำแบบสอบถามมาแก้ไขให้เรียบร้อย
5.  นำแบบสอบถามไปใช้จริงในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
1  กระดาษ
2  ปากกา
3. ตัวอย่างแบบสอบถาม

สื่อประกอบการเรียนรู้
1. สื่อสิ่งพิมพ์  
1.1  หนังสือระเบียบวิธีการวิจัยตลาดเบื้องต้น ของอาจารย์ ดำรงศักดิ์  ชัยสนิท  และอาจารย์ก่อเกียรติ  วิริยะกิจพัฒนา
1.2  หนังสือวิธีการวิจัยตลาดเบื้องต้น  ของอาจารย์สุดาดวง  เรื่องรุจิระ
1.3  หนังสือวิจัยตลาด ของอาจารย์สมศักดิ์  วาณิชยาภรณ์
1.4  หนังสือการวิจัยตลาด  ของรองศาตราจารย์ชูศรี  วงศ์รัตนะ  และ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์
สุพีร์  ลิ่มไทย
 2. สื่อวัสดุอุปกรณ์  
                -  แผ่นใส
                -  ตัวอย่างโครงการวิจัย
                -  ตัวอย่างแบบสอบถาม
3. สื่อโสตทัศน์
                -  เครื่องฉายข้ามศีรษะ

แหล่งการเรียนรู้
1.  ห้องสมุดโรงเรียนวิมลพณิชยการ  ศรีย่าน
2.   สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต  www.//http.vijai.org/research.

หลักฐานการเรียนรู้
-  ใบงานที่ 3  เรื่อง  โครงการวิจัย
-  ใบงานที่  4  เรื่อง  โครงการวิจัย
-  ใบงานที่  5  เรื่อง  แบบสอบถาม

การวัดและประเมินผล
1.  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  ข้อที่ 1  บอกปัญหาการวิจัยได้ถูกต้อง
  1.1  วิธีการประเมิน           ทดสอบ
  1.2  เครื่องมือ                      แบบทดสอบ
  1.3  เกณฑ์การให้คะแนน                บอกปัญหาการวิจัยได้อย่างถูกต้อง  จะได้  3  คะแนน
  1.4  เกณฑ์การตัดสินการผ่าน         ผ่านระดับร้อยละ 80(ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  2.40 คะแนน)
2.  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ข้อที่ 2  เลือกข้อมูลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง
  2.1 วิธีการประเมิน            ทดสอบ
  2.2   เครื่องมือ                     แบบทดสอบ
  2.3   เกณฑ์การให้คะแนน เลือกข้อมูลเบื้องต้นได้อย่างถูต้อง   จะได้  2  คะแนน
  2.4   เกณฑ์การตัดสินการผ่าน ผ่านระดับร้อยละ 80(ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 1.60 คะแนน)
3.  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 3  บอกกระบวนการวิจัยได้ถูกต้อง
 3.1  วิธีการประเมิน            ทดสอบ
 3.2  เครื่องมือ                       แบบทดสอบ
3.3  เกณฑ์การให้คะแนน  บอกกระบวนการวิจัยได้ถูกต้อง  จะได้  3  คะแนน
 3.4  เกณฑ์การตัดสินการผ่านผ่านระดับร้อยละ 80(ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  2.40 คะแนน)
4.  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 4  อธิบายองค์ประกอบของการเขียนโครงการวิจัยได้ถูกต้อง
 4.1  วิธีการประเมิน  ทดสอบ
 4.2  เครื่องมือ       แบบทดสอบ
 4.3  เกณฑ์การให้คะแนน  อธิบายองค์ประกอบการเขียนโครงการวิจัยได้อย่าง
ถูกต้อง  จะได้  3  คะแนน
 4.4  เกณฑ์การตัดสินการผ่าน ผ่านระดับร้อยละ 80(ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  2.40 คะแนน)
5.  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 5  เขียนโครงการวิจัยได้อย่างถูกต้อง
 5.1  วิธีการประเมิน            ตรวจผลงาน
 5.2   เครื่องมือ                      แบบประเมินผลการนำเสนอผลงาน
 5.3  เกณฑ์การให้คะแนน  เขียนโครงการวิจัยได้จะได้  12 คะแนน
 5.4  เกณฑ์การตัดสินการผ่าน ผ่านระดับร้อยละ 80 (ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  9.60 คะแนน)
6.    จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 6  ปฏิบัติงานเขียนโครงการวิจัยโดยใช้ความรอบรู้ได้อย่างถูกต้อง  ครบถ้วนองค์ประกอบและสำเร็จภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีเหตุและผลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 6.1    วิธีการประเมิน          ตรวจผลงาน
 6.2    เครื่องมือ                     แบบตรวจโครงการวิจัย
 6.3    เกณฑ์การให้คะแนน  ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและสำเร็จภายในเวลาที่กำหนด
อย่างมีเหตุผลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ครบถ้วนองค์ประกอบ  จะได้  10  คะแนน
 6.4   เกณฑ์การตัดสินการผ่านผ่านระดับร้อยละ 80  (ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  8 คะแนน)
7.   จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 7  สร้างแบบสอบถามได้ถูกต้องครบถ้วนตามองค์ประกอบ
 7.1    วิธีการประเมิน  ตรวจผลงาน
 7.2    เครื่องมือ     แบบตรวจผลงาน
 7.3    เกณฑ์การให้คะแนน สร้างแบบสอบถามได้ถูกต้องครบถ้วนตามองค์ประกอบ จะได้  5  คะแนน
 7.4   เกณฑ์การตัดสินการผ่านผ่านระดับร้อยละ 80  (ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  4  คะแนน)

แบบประเมินผลการนำเสนอผลงาน
ชื่อกลุ่ม..........................................................ชั้น......................ห้อง.................
รายชื่อสมาชิก
                1...................................................................................................
                2...................................................................................................
                3..................................................................................................
                4....................................................................................................
                5..................................................................................................

รายการประเมิน
คะแนน
ข้อคิดเห็น
3
2
1
1.  เนื้อหาสาระครอบคลุมชัดเจน




2.  รูปแบบการนำเสนอ




3.  การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม




4.  บุคลิกลักษณะ  กิริยา  ท่าทางในการพูด  น้ำเสียง  ซึ่งทำให้ผู้ฟังมีความสนใจ




รวม





.........................................................
                                                                                                     ผู้ประเมิน

1.  เนื้อหาสาระครอบคลุมชัดเจนถูกต้อง
3  คะแนน             =             มีสาระสำคัญครบถ้วนถูกต้อง  ตรงตามจุดประสงค์
2  คะแนน             =             สาระสำคัญไม่ครบถ้วน  แต่ตรงตามจุดประสงค์
1  คะแนน             =             สาระสำคัญไม่ถูกต้อง  ไม่ตรงตามจุดประสงค์

 2.  รูปแบบการนำเสนอ
                3  คะแนน             =             มีรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม  มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอที่น่าสนใจ
                2  คะแนน             =             มีรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม  แต่สื่อประกอบการนำเสนอไม่น่าสนใจ
                1  คะแนน             =             เทคนิคการนำเสนอไม่เหมาะสม  และไม่น่าสนใจ

  3.  การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม
                3  คะแนน             =             สมาชิกทุกคนมีบทบาทและมีส่วนร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                2  คะแนน             =             สมาชิกส่วนใหญ่มีบทบาทและมีส่วนร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                1  คะแนน             =             สมาชิกส่วนน้อยมีบทบาท  และมีส่วนร่วมกิจกรรมกลุ่ม

4.  ความสนใจของผู้ฟัง
                3  คะแนน             =             ผู้ฟังมากกว่าร้อยละ  90  สนใจและให้ความร่วมมือ
                2   คะแนน            =             ผู้ฟังร้อยละ  70-90  สนใจและให้ความร่วมมือ
                1   คะแนน            =             ผู้ฟังน้อยกว่าร้อย  70  สนใจและให้ความร่วมมือ
  
แบบตรวจโครงการวิจัย

ลำดับ
รายการที่ต้องมี
Check
ข้อควรปรับปรุง
มี
ไม่มี
1
ชื่อโครงการวิจัย



2
ความเป็นมาและภูมิหลังของปัญหา



3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย



4
ขอบเขตของการวิจัย



5
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ



6
นิยามศัพท์เฉพาะ



7
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง



8
การเก็บรวบรวมข้อมูล



9
การวิเคราะห์ข้อมูล



10
ตารางกำหนดระยะเวลาดำเนินการวิจัย



รวม



               
เกณฑ์การให้คะแนน
                1.  มีตามรายการที่กำหนดให้            =             1   คะแนน
                2.  ไม่มีในรายการที่กำหนดให้         =             0   คะแนน
 
แบบทดสอบหน่วยที่ 3

คำชี้แจง   แบบทดสอบมี 1  ตอน  คือ   เป็นแบบปรนัย   จำนวน 5 ข้อ 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำสั่ง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงข้อเดียว  แล้ว กากบาททับตัวอักษร จำนวน 5 ข้อ

1.  ขั้นตอนใดสำคัญที่สุดสำหรับกระบวนการวิจัย
ก.  กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
                ข.  การปฏิบัติภาคสนาม
ค.  การวิเคราะห์ข้อมูล
ง.  การนำเสนอผลงาน
2.  ปัญหาทางการตลาดที่นำมาวิจัยควรเป็นปัญหาอย่างไร
ก.  เป็นปัญหาที่น่าสนใจ  และเพิ่มพูนความรู้
ข.  เป็นปัญหาการตลาดที่ผู้บริหารการตลาดจะต้องตัดสินใจ
ค.  เป็นปัญหาที่สังคมยอมรับ
ง.  เป็นปัญหาที่เกิดอย่างต่อเนื่อง
3.  การกำหนดขอบเขตของปัญหาของการวิจัยตลาด  เป็นการระบุประเด็นอะไร
ก.  ประเด็นที่ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล
ข.  ประเด็นที่ประชากรสนใจ
ค.  ประเด็นที่ผู้บริหารและนักวิจัยสงสัยและต้องการที่จะหาคำตอบ
ง.  ประเด็นที่ผู้บริหารและนักวิจัยไม่ต้องการคำตอบ
4.  ข้อใดเป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิภายนอก
ก.  จำนวนพนักงาน
ข.  รายงานการเงินภายในบริษัท
ค.  ฝ่ายวิจัยของธนาคารพาณิชย์
ง.  การพูดคุยกับคนกลางในตลาด
5.  ข้อใดเป็นหลักในการสร้างแบบสอบถาม
ก.  ความชัดเจน
ข.  มีข้อมูลเพียงพอ
ค.  เป็นคำถามทั่ว ๆ ไป
ง.  ผู้ตอบต้องเข้าใจถูกต้อง
6.  คำถามแบบ  Yes on  No   เป็นรูปแบบของคำถามในข้อใด
ก.  คำถามแบบปลายเปิด
ข.  คำถามแบบกำหนดแนวคำตอบ
ค.  คำถามแบบให้เรียงลำดับความสำคัญ
ง.  คำถามแบบให้เลือกตอบระหว่าง  2  คำตอบ
7.  ข้อใดเป็นการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ
ก.  การเก็บข้อมูลโดยการสำรวจ
ข.  การเก็บข้อมูลจากหน่วยงานราชการ
ค.  การเก็บข้อมูลจากการบันทึกภายในของบริษัท
ง.  การเก็บข้อมูลจากสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัย
8.  วิธีการในการสุ่มตัวอย่าง  ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก.  การสุ่มโดยใช้ตารางและการสุ่มโดยทางสถิติ
ข.  การสุ่มโดยใช้ความน่าจะเป็นและการสุ่มโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น
ค.  การสุ่มโดยใช้ตารางความน่าจะเป็นและตารางทางสถิติ
ง.  การสุ่มโดยวิธีการทางคณิตศาสตร์และการสุ่มโดยใช้วิจารณญาณ
9.  ข้อใดคือวิธีการสุ่มตัวอย่างที่อยู่ในประเภทเดียวกัน
ก.  การสุ่มแบบบังเอิญ  และ   การสุ่มโดยใช้โควต้า
ข.  การสุ่มโดยใช้ความสะดวก  การสุ่มแบบง่าย และการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม
ค.  การสุ่มโดยใช้โควต้า  การสุ่มแบบชั้นภูมิ  และการสุ่มแบบเจาะจง
ง.  การสุ่มโดยใช้วิจารณญาณ  การสุ่มแบบชั้นภูมิ  และการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม
10.  ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ 
ก.  จะมีการใช้ตารางสุ่มเพียงครั้งเดียว  หลังจากนั้นจะเลือกตัวอย่างตามช่วงที่กำหนดไว้เรื่อยไป
ข.  จะมีการใช้ตารางสุ่มทุก ๆ ครั้งที่มีการเลือกตัวอย่างจากประชากร
ค.  จะมีการใช้ตารางการสุ่มประกอบกับการเลือกโดยใช้วิจารณญาณ
ง.  จะไม่มีการใช้ตารางการสุ่ม  มีแต่การเลือกตัวอย่างตามช่วงที่กำหนดไว้