บทเรียนการสอนผ่านบล็อก เพื่อทบทวนเรื่อง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
แนะนำขั้นตอนการเรียน
1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนhttp
2. เข้าศึกษาบทเรียน ตามหน่วยการเรียน
3. ทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วยแต่ละหน่วย
4. เมื่อศึกษาจนครบทุกหน่วยแล้วจึงทำแบบทดสอบหลังเรียน
5. กรุณาลงนามหลังจากครบทุกขั้นตอน แล้วส่งมาที่
1. saijai_20@hotmail.com.
2. ส่งมาในบล็อกช่องแสดงความคิดเห็น
3. ปริ้นข้อมูลมาส่งด้วยตนเอง
***********************************************************
แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
คำชี้แจง ข้อเป็นแบบปรนัย มีจำนวน 10 ข้อ 10 คะแนน
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว แล้ว กากบาททับตัวอักษรข้อที่ถูกต้อง
หรือเขียนเฉพาะคำตอบที่ถูกต้องตามตัวอย่าง
ตัวอย่าง เขียนหัวข้อว่า "แบบทดสอบก่อนเรียน "
ข้อ1. ตอบ ก.
.................................................................................................................................
1. ประชากร หมายถึงอะไร
ก. สิ่งที่มีชีวิต
ข. สิ่งที่ไม่มีชีวิต
ค. สิ่งที่ไม่สามารถนับได้
ง. ทุกหน่วยในหน่วยที่สนใจศึกษา
2. ในการสำรวจประชามติครั้งหนึ่ง ผู้ทำการศึกษาแจกแบบสอบถาม ณ สถานที่
ขนส่ง เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใด
ก. แบบบังเอิญ
ข. แบบหลายขั้นตอน
ค. แบบมีจุดมุ่งหมาย
ง. แบบกำหนดโควต้า
3. การสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยให้หน่วยตัวอย่างใน
กลุ่มหนึ่ง ๆ เหมือนกันไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มแล้ว จึงสุ่มหน่วยตัวอย่างจากทุกกลุ่มเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด
ก. แบบอย่างง่าย
ข. แบบแบ่งกลุ่ม
ค. แบบมีระบบ
ง. แบบแบ่งชั้น
4. การสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยให้หน่วยตัวอย่างใน
กลุ่ม หนึ่ง ๆ ต่างกันมาก ๆ แต่ในระหว่างกลุ่มให้มีความแตกต่างกันน้อยที่สุด แล้วจึงสุ่มกลุ่มตัวอย่างย่อยด้วยวิธีสุ่มแบบง่ายแล้วใช้ทุกหน่วยในกลุ่ม ย่อยทีสุ่มได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง เป็นวิธีการสุ่มแบบใด
ก. แบบอย่างง่าย
ข. แบบแบ่งกลุ่ม
ค. แบบมีระบบ
ง. แบบแบ่งชั้น
5. ข้อใดเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจำเป็น
ก. แบบอย่างง่าย
ข. แบบหลายขั้นตอน
ค. แบบแบ่งกลุ่ม
ง. แบบโดยบังเอิญ
6. หมู่บ้านหนึ่งแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยก่อน แล้วสุ่มเลือก
ตัวอย่างจากกลุ่มประชากรย่อย คือข้อใด
ก. สุ่มแบบแบ่งกลุ่ม
ข. สุ่มแบบหลายขั้นตอน
ค. สุ่มแบบมีระบบ
ง. สุ่มแบบอย่างง่าย
7. กลุ่มตัวอย่าง หมายถึงข้อใด
ก. สมาชิกบางส่วนของประชากร
ข. ความแตกต่างของประชากร
ค. สมาชิกทั้งหมดของกลุ่ม
ง. รายชื่อทุกหน่วยที่ต้องการศึกษา
8. การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ลักษณะอย่างไร
ก. สุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ข. สุ่มโดยคำนึงถึงคุณลักษณะหรือประเภทของประชากร
ค. สุ่มตัวอย่างโดยใช้เหตุผลและวิจารณญาณ
ง. สุ่มเท่าที่จะทำได้ ไม่มีการกำหนดลักษณะของหน่วยตัวอย่างไว้ล่วงหน้า
9. ในการสำรวจเพื่อทำนายผลการเลือกตั้ง จากผู้มาใช้สิทธิ์ทุก ๆ 10 นาที เป็นการ
สุ่มตัวอย่างแบบใด
ก. แบบอย่างง่าย
ข. แบบอย่างมีระบบ
ค. แบบหลายขั้นตอน
ง. แบบแบ่งกลุ่ม
10. ข้อใดเป็นหลักในการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม
ก. จัดโดยการจับฉลาก
ข. จัดประชากรออกเป็นพวกหรือชั้น
ค. จัดประชากรรวมกันเป็นกลุ่ม
ง. จัดประชากรเป็นช่วง ๆ ในลักษณะใกล้เคียงกัน
*********************************************************************
บทเรียน เรื่อง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
วัตถุประสงค์ของเรื่อง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1. บอกความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้
2. อธิบายเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้
หน่วยที่ 1 ความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยที่จะศึกษาทั้งหมด หน่วยที่จะศึกษาจะมีจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับหน่วยที่จะทำการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง บางส่วนของหน่วยที่จะศึกษา หรือบางส่วนของประชากรที่เราต้องศึกษา
แบบฝึกหัดท้ายหน่วย เรื่อง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
จงอธิบายความหมายของคำว่า ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง (2 คะแนน)
****************************************************************
หน่วยที่ 2 เทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำแนกเป็น 2 แบบคือ
1. การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น (Probability Sampling) แบ่งออกเป็น ดังนี้
1.1 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เป็น การสุ่มตัวอย่างโดยนำประชากรรวมคละกันแล้วหยิบตัวอย่างขึ้นมา โดยไม่พิจารณาถึงความแตกต่างทางด้านเพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา จนกว่าจะได้ตัวอย่างครบตามต้องการ หรือใช้ตารางเลขสุ่ม
1.2 การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Sampling) เป็นการนำประชากรทั้งหมดมาแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ในจำนวนที่เท่า ๆ กัน จากนั้นจึงหยิบตัวอย่างจากประชากรแต่ละกลุ่มตามจำนวนที่กำหนดไว้
1.3 การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เป็น การสุ่มตัวอย่างที่แบ่งประชากรออกเป็นชั้น ๆ ตามลักษณะของประชากร โดยให้ประชากรในแต่ละชั้น หรือภายในชั้นเดียวกันมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุดและให้ประชากรระหว่าง ชั้นมีลักษณะแตกต่างกันให้มากที่สุดจากนั้นจึงค่อยสุ่มเลือกตัวอย่างแต่ละ ชั้นจนกว่าจะได้จำนวนตัวอย่างครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในแต่ละชั้น
1.4 การเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) บาง คนเรียกว่า เป็นการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งตามพื้นที่ เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยให้ประชากรภายในแต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างกันให้มากที่สุด แต่ประชากรระหว่างกลุ่มจะมีลักษณะเหมือน ๆ กัน จากนั้นเลือกกลุ่มมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งเราจะสุ่มเลือกบางกลุ่ม
เท่านั้น
2. การเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Non-Probability Sampling) แบ่ง
ออกเป็น ดังนี้
2.1 การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) หรือแบบตาม
ความสะดวก เป็นการเก็บตัวอย่างจากกลุ่มประชากรอย่างไม่มีระเบียบแบบแผนเก็บรวบรวมจนได้ตีวอย่างครบตามจำนวนที่ต้องการมีลักษณะแบบ man on the street กล่าวคือ เจอใครก็สัมภาษณ์หมดไม่เลือก ไม่เจาะจง
2.2 การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงหรือแบบตามความประสงค์หรือตามวิจารณญาณ เป็นการเลือกตัวอย่างจากกลุ่มประชากรที่เรามีความต้องการจะทำการศึกษาเฉพาะ เจาะจง โดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องนั้น ๆ จะเป็นทำการเลือกตัวอย่างด้วยตนเอง โดยใช้เหตุผลและวิจารณญาณ ตลอดจนประสบการณ์ส่วนตัวมาใช้ในการเลือกตัวอย่าง
2.3 การเลือกตัวอย่างแบบโควต้า เป็นวิธีการเลือกตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วนตามองค์ประกอบของประชากร เป็นการเลือกตัวอย่างเพื่อให้ได้จำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มย่อยเป็นสัดส่วน กับองค์ประกอบของประชากร จากนั้นใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญเลือกหน่วยที่เราจะสอบถาม วิธีการเลือกตัวอย่างวิธีนี้มี 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 แบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ
ขั้นตอนที่ 2 เลือกกลุ่มที่จะศึกษาทุกกลุ่ม
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดจำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มย่อยให้เป็นสัดส่วนกับกลุ่มประชากร
ขั้นตอนที่ 4 ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เลือกหน่วยที่เราจะใช้เป็นตัวอย่าง
แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่ 2 เรื่อง เทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1. จงอธิบายเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 2 แบบ (8 คะแนน)
2. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว (5 คะแนน)
2.1. ข้อใดเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจำเป็น
ก. แบบโควต้า
ข. แบบเจาะจง
ค. แบบแบ่งชั้น
ง. แบบลูกโซ่
2.2 ในการศึกษารายได้ของบริษัท ผู้วิจัยได้จำแนกบริษัทเป็น 3 ขนาด (เล็ก กลาง ใหญ่) และทำการสุ่มตัวอย่างจำนวนบริษัทตามสัดส่วนของขนาดบริษัท เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบใด
ก. แบบแบ่งชั้น
ข. แบบอย่างมีระบบ
ค. แบบหลายขั้นตอน
ง. แบบแบ่งกลุ่ม
2.3 การสุ่มตัวอย่างโดยบังเอิญ มีลักษณะอย่างไร
ก. สุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีการเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ข. สุ่มโดยคำนึงถึงคุณลักษณะหรือประเภทของประชากร
ค. สุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักเหตุผลและวิจารณญาณ
ง. สุมเท่าที่จะทำได้ ไม่มีการกำหนดลักษณะของหน่วยตัวอย่างไว้ล่วงหน้า
2.4 โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการนักเรียนหญิง 40 คนและนักเรียนชาย 40 คน จากนักเรียนทั้งหมด 180 คน เป็นตัวแทนโรงเรียนไปเดินการกุศล ควรสุ่มตัวอย่างแบบใด
ก. แบบโควต้า
ข. แบบเจาะจง
ค. แบบบังเอิญ
ง. แบบลูกโซ่
2.5 การศึกษาของนักหนังสือพิมพ์ที่ต้องการจะทราบความรู้สึกต่อความนิยมการอ่าน หนังสือพิมพ์ของประชาชน ควรสุ่มตัวอย่างแบบใด
ก. แบบโควต้า
ข. แบบเจาะจง
ค. แบบบังเอิญ
ง. แบบแบ่งกลุ่ม
*********************************************************************
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
คำชี้แจง ข้อเป็นแบบปรนัย มีจำนวน 10 ข้อ 10 คะแนน
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว แล้ว กากบาททับตัวอักษรที่ถูกต้อง
จำนวน 10 ข้อ 10 คะแนน หรือ เขียนคำตอบเฉพาะข้อที่ถูกต้องตามตัวอย่าง
ตัวอย่าง เขียนหัวข้อว่า "แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน "
ข้อ1. ตอบ ก.
......................................................................................................................................
1. ประชากร หมายถึงอะไร
ก. สิ่งที่มีชีวิต
ข. สิ่งที่ไม่มีชีวิต
ค. สิ่งที่ไม่สามารถนับได้
ง. ทุกหน่วยในหน่วยที่สนใจศึกษา
2. ในการสำรวจประชามติครั้งหนึ่ง ผู้ทำการศึกษาแจกแบบสอบถาม ณ สถานที่
ขนส่ง เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใด
ก. แบบบังเอิญ
ข. แบบหลายขั้นตอน
ค. แบบมีจุดมุ่งหมาย
ง. แบบกำหนดโควต้า
3. การสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยให้หน่วยตัวอย่างในกลุ่มหนึ่ง ๆ เหมือนกันไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มแล้ว จึงสุ่มหน่วยตัวอย่างจากทุกกลุ่มเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด
ก. แบบอย่างง่าย
ข. แบบแบ่งกลุ่ม
ค. แบบมีระบบ
ง. แบบแบ่งชั้น
4. การสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยให้หน่วยตัวอย่างใน
กลุ่ม หนึ่ง ๆ ต่างกันมาก ๆ แต่ในระหว่างกลุ่มให้มีความแตกต่างกันน้อยที่สุด แล้วจึงสุ่มกลุ่มตัวอย่างย่อยด้วยวิธีสุ่มแบบง่ายแล้วใช้ทุกหน่วยในกลุ่ม ย่อยทีสุ่มได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง เป็นวิธีการสุ่มแบบใด
ก. แบบอย่างง่าย
ข. แบบแบ่งกลุ่ม
ค. แบบมีระบบ
ง. แบบแบ่งชั้น
5. ข้อใดเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจำเป็น
ก. แบบอย่างง่าย
ข. แบบหลายขั้นตอน
ค. แบบแบ่งกลุ่ม
ง. แบบโดยบังเอิญ
6. หมู่บ้านหนึ่งแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยก่อน แล้วสุ่มเลือก
ตัวอย่างจากกลุ่มประชากรย่อย คือข้อใด
ก. สุ่มแบบแบ่งกลุ่ม
ข. สุ่มแบบหลายขั้นตอน
ค. สุ่มแบบมีระบบ
ง. สุ่มแบบอย่างง่าย
7. กลุ่มตัวอย่าง หมายถึงข้อใด
ก. สมาชิกบางส่วนของประชากร
ข. ความแตกต่างของประชากร
ค. สมาชิกทั้งหมดของกลุ่ม
ง. รายชื่อทุกหน่วยที่ต้องการศึกษา
8. การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ลักษณะอย่างไร
ก. สุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ข. สุ่มโดยคำนึงถึงคุณลักษณะหรือประเภทของประชากร
ค. สุ่มตัวอย่างโดยใช้เหตุผลและวิจารณญาณ
ง. สุ่มเท่าที่จะทำได้ ไม่มีการกำหนดลักษณะของหน่วยตัวอย่างไว้ล่วงหน้า
9. ในการสำรวจเพื่อทำนายผลการเลือกตั้ง จากผู้มาใช้สิทธิ์ทุก ๆ 10 นาที เป็นการ
สุ่มตัวอย่างแบบใด
ก. แบบอย่างง่าย
ข. แบบอย่างมีระบบ
ค. แบบหลายขั้นตอน
ง. แบบแบ่งกลุ่ม
10. ข้อใดเป็นหลักในการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม
ก. จัดโดยการจับฉลาก
ข. จัดประชากรออกเป็นพวกหรือชั้น
ค. จัดประชากรรวมกันเป็นกลุ่ม
ง. จัดประชากรเป็นช่วง ๆ ในลักษณะใกล้เคียงกัน
**********************************
เฉลยคำตอบ 1.ง 2.ก 3.ข 4.ง 5.ง 6.ก 7.ก 8.ข 9.ข 10.ค