ใบความรู้เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ความหมายของเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย หมายถึง อุปกรณ์หรือแบบวัดต่าง ๆ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์สำหรับการวัดที่มีความเที่ยงตรง แม่นยำ เช่น วัดปริมาณ วัดความสูง วัดความจุ วัดเวลา วัดอุณหภูมิ เป็นต้น
2. เครื่องมือวัดทางพฤติกรรมหรือทางจิตวิทยาหรือทางสังคมศาสตร์ ไม่สามารถวัดด้วยอุปกรณ์ได้โดยตรง ดังนั้นจึงแม่นยำน้อยกว่าทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพราะทางสังคมศาสตร์มีตัวแปรที่ทำให้ค่าเปลี่ยนแปลงได้มาก เช่น สภาพจิตใจ สภาพแวดล้อม สถานการณ์ และระยะเวลา ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้จึงนิยมเป็นแบบทดสอบ (Test) แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสำรวจ (Inventory)
แบบสัมภาษณ์ (Interview Form) แบบสังเกต (Observation Form)
คุณสมบัติของเครื่องมือที่ดี
1. มีความตรง (Validity) หมายถึง เครื่องมือจะต้องสามารถวัดสิ่งที่ต้องการตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้
2. มีความเที่ยง (Reliability) หมายถึง เครื่องมือนั้นต้องมีความสม่ำเสมอในการวัด ไม่ว่าจะวัดซ้ำสักกี่ครั้ง คำตอบจะได้ตามเดิม
3. มีความเป็นปรนัย (Objectivity) หมายถึง เครื่องมือนั้นต้องมีข้อคำถามที่ชัดเจน ไม่ว่าใครจะใช้หรือใช้เวลาใด สามารถใช้ได้เหมือนกัน หรือการวัดที่นำเครื่องมือไปใช้จะมีความเข้าใจตรงกันว่าจะวัดประเด็นอะไร มีเกณฑ์อย่างไร มีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ หรือไม่ต้องไปตีความหมาย
4. มีความคล่องตัวในการนำไปใช้ (Usability) หมายถึง เครื่องมือที่ดีต้องสามารถนำไปใช้ได้สะดวก ใช้ง่าย สอดคล้องกับสถานการณ์และงานวิจัยที่ต้องทำ สะดวกทั้งการใช้ การเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บรักษา
5. มีความไม่อคติ (Unbiased) หมายถึง เครื่องมือต้องมีการวัดได้กับกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มตัวอย่าง มิใช่เอื้อประโยชน์กับบุคคลบางกลุ่มหรือบางพวก เช่น คำถามที่ใช้ภาษาท้องถิ่นอาจจะเอื้อต่อบางกลุ่มได้ ดังนั้น ต้องใช้ภาษากลางที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน ป้องกันไม่ให้ภาษาท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อการตอบได้
6. มีประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง เครื่องมือนั้นนอกจากจะวัดได้ตรงวัตถุประสงค์ของการวิจัยตามที่ตั้งไว้ ต้องประหยัดเวลา แรงงาน และเสียค่าใช้จ่ายน้อย
ชนิดของเครื่องมือ
เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์มีหลายชนิด ชนิดที่นิยมใช้บ่อย ๆ ได้แก่
1. แบบสอบถาม (Questionnaire)
2. แบบสัมภาษณ์ (Interview Form)
3. แบบสังเกต (Observation Form)
4. แบบทดสอบ (Test)
1. แบบสอบถาม คือ ชุดของคำถามหรือตารางคำถามที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นกรอกแบบสอบถามเอง และชุดของคำถามในแบบสอบถามนั้นผู้วิจัยจะสร้างขึ้นเองหรือใช้แบบสอบถามที่เป็นมาตรฐานที่มีผู้อื่นสร้างไว้แล้วก็ได้
ชนิดของแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ชนิด
1. แบบสอบถามแบบปลายเปิด คือแบบสอบถามที่มีคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบแสดงความ
คิดเห็นอย่างอิสระ ไม่มีการกำหนดกลุ่มของคำตอบให้เลือก
2. แบบสอบถามแบบปลายปิด คือ แบบสอบถามที่มีคำถามสั้นๆ ซึ่งเตรียมคำตอบไว้ให้
ผู้ตอบเลือกตามความต้องการ คล้ายแบบทดสอบ ตัวเลือกอาจมีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ผู้ตอบไม่มีอิสระในการตอบ จะต้องเลือกคำตอบตามที่กำหนดไว้จึงตอบได้จำกัด
3. แบบสอบถามแบบผสมทั้งแบบปลายเปิดและแบบปลายปิด คือแบบสอบถามที่มีทั้ง
ปลายเปิดและปลายปิดในฉบับเดียวกัน
ชนิดของคำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม มี 2 ชนิด ดังนี้
1. คำถามปลายเปิด (Open-ended question) เป็นคำถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ ผู้ตอบ
จะต้องเขียนคำตอบเองตามความคิดอิสระ ซึ่งคำถามแบบนี้ผู้ตอบต้องใช้ความคิด จึงใช้เวลาตอบมาก และตอบยากผู้ตอบจึงมักไม่ค่อยเต็มใจตอบเท่าใดนัก
ตัวอย่าง การสร้างคำถามปลายเปิด
1. แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยปี 2550 เป็นอย่างไร
1.1..................................................................
1.2.................................................................
1.3.................................................................
2. มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีลักษณะอย่างไร
2.1 ..............................................................
2.2..............................................................
2.3.............................................................
2. คำถามปลายปิด (Close-ended question) ลักษณะของคำถามมีการกำหนดคำตอบให้ผู้ตอบเลือก มีตัวเลือกที่กำหนดให้ คำถามปลายปิดนี้มีลักษณะย่อยอีกหลายอย่าง ได้แก่
2.1 คำถามที่ให้ตอบรับหรือปฏิเสธ (Yes-No question) คือ คำถามที่มีตัวเลือกให้ 2 ตัว เช่น ตอบว่าใช่ – ไม่ใช่ / เหมาะสม-ไม่เหมาะสม /ดี-ไม่ดี / ร่วมมือ-ไม่ร่วมมือ เป็นต้น
2.2 คำถามที่ให้เลือกตอบ อาจเลือกตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้
2.3 คำถามแบบจัดอันดับความสำคัญ เป็นคำถามที่กำหนดคำตอบไว้โดยเรียงลำดับความสำคัญมากที่สุดถึงน้อยที่สุดไว้แล้ว หรือเรียงอันดับ 1 2 3 ไว้แล้ว นอกจากนี้ยังมีคำถามที่ให้เลือกตอบได้หลายข้อ
2.4 คำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) เช่น มีตัวเลือก มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
ซึ่งแบบสอบถามที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ แบบสอบถามวัดเจตคติแบบมาตราส่วนประมาณค่าของลิกเคอร์ท (Likert scale) ซึ่งนิยมใช้กันมากในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยให้ระดับของการวัดออกเป็น 5 ช่วง คือ มากที่สุด =5 มาก = 4 ปานกลาง = 3 น้อย = 2 น้อยที่สุด = 1 โดยมีเกณฑ์ในการแปลผล ดังนี้
ตั้งแต่ 4.50 ขึ้นไป หมายความว่า เห็นด้วยมากที่สุด
3.50 – 4.49 หมายความว่า เห็นด้วยมาก
2.50 – 3.49 หมายความว่า เห็นด้วยปานกลาง
1.50 – 2.49 หมายความว่า เห็นด้วยน้อย
ต่ำกว่า 1.50 หมายความว่า เห็นด้วยน้อยที่สุด
|
การร่างแบบสอบถาม ควรแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นคำชี้แจง ส่วนที่เป็นสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถามและส่วนที่เป็นคำถามเนื้อหา
1. ส่วนที่เป็นคำชี้แจง ในส่วนนี้ผู้วิจัยจะต้องชีแจง ให้ผู้ตอบแบบสอบถามทราบว่า
แบบสอบถามมีคำถามกี่ส่วน โดยแต่ละส่วนประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และการตอบจะต้องทำอย่างไร
|
2. ส่วนที่เป็นสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม คำถามในส่วนนี้พิจารณาจากตัว
แปรที่ต้องการศึกษาว่ากำหนดตัวแปรอะไรไว้บ้าง เช่น เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ฯลฯ ผู้วิจัยต้องนำตัวแปรเหล่านั้นมาสร้างเป็นคำถาม
|
3. ส่วนที่เป็นคำถามเนื้อหาที่ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้วิจัยต้องจัดลำดับของเนื้อหา
เป็นกลุ่ม ๆ แล้วพิจารณาว่าเป็นคำถามที่เป็นข้อเท็จจริง หรือเป็นความคิดเห็น หากเป็นข้อเท็จจริงนิยมใช้แบบตรวจสอบรายการ(Check list) และหากเป็นความคิดเห็นนิยมใช้ ลิกเคอร์ท สเกล
ลักษณะของคำถามที่ดี
1. ใช้ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัด ได้ใจความ ตรงประเด็นที่อยากทราบคำตอบ
2. เรียงลำดับคำถามง่าย ๆ ไปหายาก
3. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ควรหลีกเลี่ยงคำว่า เดี๋ยวนี้ บ่อยๆ เป็นประจำ เสมอๆ เพราะผู้ตอบแต่ละคนตีความหมายไม่เหมือนกัน
4. ไม่ควรใช้ศัพท์เฉพาะ
5. หลีกเลี่ยงคำถามนำ หรือคำถามที่ผู้ตอบอาย
6. คำถามแต่ละข้อควรมีประเด็นคำถามเดียว
2. แบบสัมภาษณ์ (Interview form) เป็นชุดของคำถามที่ใช้ถามและใช้จดบันทึกคำตอบของการสัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์จะเป็นผู้บันทึกคำตอบ ผู้วิจัยจะใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลของวิจัย
3. แบบสังเกต (Observation form) เป็นเครื่องมือวัดพฤติกรรมของบุคคล โดยอาศัยการรับรู้ของผู้สังเกตเป็นหลัก พฤติกรรมที่เห็นเด่นชัด คือ การพูด การซักถาม การฝึกปฏิบัติ ลักษณะท่าทาง ส่วนพฤติกรรมที่สังเกตได้ยาก ได้แก่ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความซาบซึ้ง
4. แบบทดสอบ (Test) เป็นชุดคำถามที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนหรือผู้ตอบแบบทดสอบ
************************************************************************
ใบความรู้ เรื่อง โปรแกรม SPSS
การลงรหัส (Coding) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานวิจัยส่วนใหญ่จะนิยมใช้โปรแกรม SPSS ( Statistical package for social sciences for widows) เนื่องจากมีความสะดวก ใช้งานง่าย และสามารถวิเคราะห์ได้หลากหลาย
คู่มือการลงรหัส
คู่มือการลงรหัสจะประกอบด้วยข้อมูลต่าง ซึ่งนักวิจัยควรจะทราบความหมายของแต่ละข้อ เพื่อจะได้กำหนดตัวแปรให้สอดคล้องกับข้อความ
1. ชื่อตัวแปร (Name) ควรกำหนดเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข ความยาวของตัวแปรต้องไม่เกิน 8 ตัวอักษร โดยห้ามใช้สัญลักษณ์ เช่น ! ?
2. ชนิดตัวแปร (Type) จะมีหลายประเภท ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้ตัวแปรชนิด Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข จะกำหนดความกว้าง (Width) และจำนวนหลักของตัวเลขเป็นจุดทศนิยม สามารถวิเคราะห์ค่าสถิติได้ทุกค่า
3. คำอธิบายตัวแปร (Label) เป็นการอธิบายความหมายของข้อคำถามในแต่ละข้อคำถาม เพื่อจะได้อธิบายตัวแปรให้มีความชัดเจนมากขึ้น
4. ค่าไม่ตอบ (Missing Value) เป็นการกำหนดรหัสเพื่อใช้แทนในกรณีที่ผู้ตอบไม่ตอบ โดยรหัสที่นิยมใช้คือ 9 , 99
5. ระดับการวัดตัวแปร (Measure) เป็นการกำหนดระดับการวัดว่าคำถามในแต่ละข้อคำถามเป็นสเกลในระดับใด
6. คำอธิบายค่าของตัวแปร (Values) เป็นการกำหนดรหัสเป็นตัวเลขแทนค่าของตัวแปร
ตารางแสดงคู่มือการลงรหัส เพื่อใช้ป้อนข้อมูลในโปรแกรม SPSS
ข้อ | ชื่อตัวแปร | คำอธิบายตัวแปร | คำอธิบายค่าของตัวแปร |
1 | V1 | เพศ | 1=ชาย 2=หญิง |
2 | V2 | อายุ | 1=18-27ปี 2=28-37ปี 3=38-47ปี 4=47ปีขึ้นไป |
3 | V3 | ระดับการศึกษา | 1=ต่ำกว่าปริญญาตรี 2=ปริญญาตรี 3=สูงกว่าปริญญาตรี |
4 | V4 | รายได้ | 1=ต่ำกว่า 5,000บาท 2=5,000-10,000บาท 3=10,001-15,000บาท 4=15,001 บาทขึ้นไป 9=ไม่ตอบคำถาม |
ขั้นตอนการลงโปรแกรม
1. เข้า Start SPSS for window SPSS 10.0 for window
2. หน้าจอจะปรากฏ Data View กับ Variable View มีลักษณะดังนี้
หน้าจอ Data View เป็นดังนี้
Var | Var | Var | Var | |
1 | ||||
2 | ||||
3 | ||||
4 | ||||
5 |
หน้าจอ Variable View มีลักษณะดังนี้
Name | Type | Width | Decimals | Label | Values | Missing | Columns | Align | Measure | |
1 | V1 | เพศ | 1 | |||||||
2 | ||||||||||
3 | ||||||||||
4 | ||||||||||
5 |
3. ในช่อง Name ให้ใส่ชื่อตัวแปร เช่น V1 , V2
ในช่อง Label ให้อธิบายความหมายของคำถามในแต่ละข้อ
ในช่อง Values ให้กำหนดรหัสตัวแปร เช่น 1= ชาย 2= หญิง โดยคลิกไปที่สัญลักษณ์
ใส่รหัสเรียบร้อยแล้วให้กด Add ไปเรื่อย ๆ เมื่อลงครบแล้ว คลิก OK
4. คลิกมาที่ Data View ลงข้อมูลตามแบบสอบถามที่ได้เก็บรวบรวมจนครบ
5. ถ้าต้องการคำนวณหา% คลิก Analyze Descriptive Statistics Frequencies
6. ถ้าต้องการคำนวณหา ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คลิก Analyze Descriptive Statistics Descriptives