วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567

*** TOWS Matrix ***

 

การสร้างกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix

        

                      ปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายนอก

จุดแข็ง (Strength)

1

2

3

จุดอ่อน

1

2

3

โอกาส (Opportunity)

1

2

3

SO

(กลยุทธ์เชิงรุก)

WO

(กลยุทธ์เชิงแก้ไข)

อุปสรรค (Threat)

1

2

3

ST

(กลยุทธ์เชิงป้องกัน

 

 

WT

(กลยุทธ์เชิงรับ)

 

1.      กลยุทธ์เชิงรุก  เป็นการจับคู่ระหว่าง Strength และ Opportunity (ใช้จุดแข็งร่วมกับโอกาส)

              กลยุทธ์ในส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่เน้นสร้างผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุด ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งของธุรกิจร่วมกับโอกาสที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดให้ดียิ่งขึ้น

2.      กลยุทธ์เชิงแก้ไข เป็นการจับคู่ระหว่าง Weakness และ Opportunity (ใช้โอกาสลดจุดอ่อน)

             ทุกธุรกิจล้วนมีจุดอ่อน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องกระบวนการดำเนินงาน หรือการที่ธุรกิจยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด โดยบางครั้งการอุดจุดอ่อนอาจเป็นเรื่องของจังหวะเวลา ที่จะเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจแก้ไขจุดอ่อนหรือลดทอนจุดอ่อนของตัวเองลงไปได้

3.      กลยุทธ์เชิงป้องกัน เป็นการจับคู่ระหว่าง Strength และ Threat (ใช้จุดแข็งรับมืออุปสรรค)

            เป็นการใช้จุดแข็งที่มีอยู่มาป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากรบุคคลหรือเครื่องมือในองค์กรก็ตาม เนื่องจากหลายองค์กรที่กำลังเติบโตอย่างมาก มักมีความต้องการใช้จุดแข็งเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์เชิงรุกเพียงอย่างเดียว จนอาจมองข้ามการนำจุดแข็งมาเตรียมรับมือกับอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น

4.      กลยุทธ์เชิงรับ เป็นการจับคู่ระหว่าง Weakness กับ Threat (แก้ไขจุดอ่อนและเสี่ยงอุปสรรค)

            กลยุทธ์แบบนี้จะแตกต่างจากอีก 3 กลยุทธ์ที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากมีไว้เพื่อรับมือกับสถานการณต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา ไม่ได้ใช้เพื่อหวังมุ่งไปข้างหน้า แต่เป็นกลยุทธ์เชิงรัรบที่มีไว้เพื่อพยุงสถานการณ์ของที่เกิดขึ้นไม่ให้แย่ลง ด้วยการพยายามบรรเทาปัญหาหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นเพิ่ม

**************************************

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ส่วนผสมทางการตลาดสมัยใหม่ (9P's)

 💗💗ส่วนผสมทางการตลาดสมัยใหม่ 💗💗

     ส่วนประสมทางการตลาด ( Marketing  Mix )ของธุรกิจทั่วไปประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์  product)  ราคา        ( price )  การจัดจำหน่าย ( Place )  และการส่งเสริมการตลาด ( promotion ) หรือที่เรียกว่า  4 P’s  แต่ถ้าเป็นธุรกิจบริการจะมีส่วนประสมทางการตลาดเพิ่มขึ้นคือพนักงาน ( people )กระบวนการให้บริการ ( process )  และสิ่งต่าง ๆภายในสำนักงาน ( physical  evidence )  รวมเรียกว่า 7P’s  ทั้งนี้  เมื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  พบว่า P  ทั้ง 7 P’s    นั้นไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  เนื่องจากการประกอบธุรกิจในปัจจุบันนั้นต้องเข้าไป  เกี่ยวข้องกับชุมชน  สังคม  การเมือง  ทำให้ธุรกิจต้องคำนึงถึง  P  อีก 2 P’s  ซึ่งได้แก่  สาธารณชน  ( public )  และการเมือง  ( political )
                โดยมีรายละเอียดของส่วนประสมทางการตลาด  ดังนี้
1.    ผลิตภัณฑ์ (product)  ซึ่งได้แก่สินค้า (good)และบริการ(service)  ที่ธุรกิจพัฒนาขึ้นเพื่อ
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจนอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยังรวมไปถึง ตราสินค้า (brand)  การบรรจุหีบห่อ(packaging)  การรับประกัน (guarantee)   คุณภาพผลิตภัณฑ์ (quality) 

2.  ราคา (price) หมายถึง  จำนวนเงินที่ลูกค้าต้องชำระให้กับผู้ขายเพื่อให้ได้รับสินค้าและ
บริการ  โดยธุรกิจต้องกำหนดราคาให้อยู่ในระดับที่ลูกค้าสามารถซื้อได้

3.  การจัดจำหน่าย (place)  หมายถึง  การจัดการเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการ
ซื้อสินค้าของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้มีความสะดวกสบายสูงสุดด้วยการนำสินค้าและบริการไปส่งมอบให้กับลูกค้าภายในเวลาที่ลูกค้าต้องการ

4.  การส่งเสริมการตลาด (promotion)  หมายถึง  การกำหนดแนวทางในการสื่อสารไปยัง
ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ  ราคา และข้อมูลอื่น ๆ  ของสินค้าและบริการ  โดย    มุ่งหมายให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ  ด้วยการประสมประสานส่วนประสมการส่งเสริมตลาด  ซึ่งได้แก่  การโฆษณา  การประชาสัมพันธ์  การส่งเสริมการขาย  การตลาดทางตรงและการใช้พนักงานขาย

         5.  พนักงาน (people)  หมายถึง  การจัดการบริการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยบุคลากรของกิจการโดยเริ่มตั้งแต่การสรรหาคัดเลือก  การพัฒนาและฝึกอบรม  รวมไปถึงการจูงใจและปลูกฝังลักษณะที่จำเป็นต่อการให้บริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการให้มากที่สุดได้แก่  ด้านทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  การทักทายลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ  การขอบคุณลูกค้าหรือผู้ใช้บริการทุกครั้งที่มาใช้บริการ

        6.  กระบวนการ (process)  หมายถึง  การวางระบบและออกแบบให้มีขั้นตอนที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการมากที่สุด ลดขั้นตอนที่ทำให้ผู้บริโภคต้องรอนานจัดระบบการไหลของการให้บริการ (service  flow)  ให้มีอุปสรรคน้อยที่สุด  เนื่องจากการรอคอยการให้บริการนาน ๆ  อาจทำให้เกิดความไม่พึงพอใจได้  โดยยึดแนวคิด One  Stop  Service ให้ลูกค้าอยู่ที่จุดเดียวคือ  บริเวณด้านหน้าเคาน์เตอร์  และให้บริการลูกค้าตามแนวคิดว่า  ลูกค้าคือคนที่เรารัก รวมทั้งการพัฒนา  SOS  หรือ Standard  of  Service  นั่นคือ  มาตรฐานในการให้บริการ  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

          7.  สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงาน (physical  evidence)  หมายถึง  การออกแบบวางผังสำนักงาน  อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในสำนักงาน  การจัดวางโต๊ะทำงาน  เฟอร์นิเจอร์ภายในสำนักงาน กระถางต้นไม้ ฯลฯ  ให้เรียบร้อยเป็นระเบียบที่เหมาะสมกับลักษณะของบริษัท ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจะรับรู้และเข้าใจภาพลักษณ์การให้บริการของกิจการจากสิ่งเหล่านี้

         8.  สาธารณชน (public)  หมายถึง กลุ่มประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ  ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯโดยบริษัทต้องคำนึงถึงความอยู่ดีกินดีของสาธารณชนและความปลอดภัยในชีวิต  ทรัพย์สิน  สุขภาพของสาธารณชน   หากบริษัทฯละเลยหรือมองข้ามจะทำให้เกิดการต่อต้านจากสาธารณชนและอาจทำให้ลูกค้าโดยทั่วไปร่วมกันไม่ใช้สินค้าของบริษัทดังนั้นนักการตลาดจึงต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสาธารณชนซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของทุกบริษัท  เพื่อลดแรงต่อต้านจากสาธารณชน  และเพิ่มการสนับสนุนบริษัท

        9.  การเมือง (political) หมายถึง  การเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งอาจเป็นกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ  แม้ว่าปัจจัยด้านการเมืองจะถูกกำหนดให้เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกของการดำเนินธุรกิจ  แต่บริษัทต้องให้ความสำคัญและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเมืองด้วย

        💜💜💜💛💛💛💙💙💙💗💗💗💗💔💔💔💔💚💚💚💚💓💓💓💓

วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การบริหารกับการจัดการ เหมือนหรือต่างกัน อย่างไร

 


การบริหารกับการจัดการ เหมือนหรือต่างกัน อย่างไร ??? 

      เมื่อกล่าวถึงคำว่าการบริหารส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการบริหารราชการ คำศัพท์ที่ใช้มี 2 คำ คือ การบริหาร (Administration) นิยมใช้กับการบริหารราชการหรือการจัดการเกี่ยวกับนโยบาย ศัพท์อีกคำหนึ่ง คือ การจัดการ (Management) นิยมใช้กับการบริหารธุรกิจเอกชนหรือการดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามคำว่า การบริหารกับคำว่า การจัดการใช้แทนกันได้มีความหมายเหมือนกัน (สมคิด  บางโม. 2538 : 60)

                นักบริหารและนักวิชาการให้คำจำกัดความของคำว่า การบริหารหรือการจัดการไว้ต่าง ๆ กันตามทัศนะของแต่ละบุคคลที่สำคัญได้แก่

                ไซมอน (“Simon” 1965 : 4) ให้ความหมายไว้ว่า การบริหาร หมายถึง การทำงานของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน

                ดรัคเกอร์ (Drucker  : 1954 : 12)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า การจัดการ หมายถึง ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น

                คูนตซ์ และไซริล (Koontz and Cyril. 1972 : 43) ให้ความหมายว่า การจัดการ หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุสิ่งของซึ่งนับว่าเป็นอุปกรณ์ของการจัดการนั้น ๆ

                เดล (Dale. 1968 : 43) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการ คือ กระบวนการจัดหน่วยงานและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า การบริหารและการจัดการเหมือนกันคือ?

         การจัดการ (Management) หรืออาจจะเรียกว่า การบริหาร (Administration)  หมายถึง ชุดของหน้าที่ต่าง ๆ ที่กำหนดทิศทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรอย่างเฉลียวฉลาด และคุ้มค่า ส่วนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) หมายถึงการตัดสินใจอย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติการได้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผลสำเร็จของการจัดการต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลควบคู่กันไป (Griffin, 1997 4)

        สรุปได้ว่า การจัดการ (Management)และการบริหาร (Administration)มีสิ่งที่เหมือนกันคือมีเป้าหมายเหมือนกันคือทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การบริหารและการจัดการต่างกันอย่างไร???

1. การมุ่งหวังผลกำไร

การบริหาร (Administration) เป็นกระบวนการดำเนินการระดับการกำหนดนโยบาย หรือกระบวนการบริหารงานใดๆ ขององค์การที่ไม่ต้องการผลกำไรหรือผลประโยชน์ขององค์การ ผู้บริหารพยายามบริหารงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ ผลสำเร็จขององค์การมิได้คำนึงถึงผลตอบแทนที่สมาชิกจะได้รับ แต่ การจัดการ (Management) เป็นกระบวนการบริหารงานใดๆ ขององค์การที่ต้องการกำไรโดยผู้จัดการจะต้องทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายเพื่อให้องค์การอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่ ซึ่งอยู่ในระบบการแข่งขัน

2. กระบวนการดำเนินการ

          การบริหาร (Administration) เป็นกระบวนการในการดำเนินการเพื่อใช้ให้บุคคลหลายคนเข้ามาร่วมมือกันทำงาน เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากร   แต่การจัดการ (Management) เป็นกระบวนการเป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อให้คนทำงานตั้งแต่การบริหารบุคคล การเงิน พัสดุ การกำหนดนโยบาย การวางแผน

3. การกำหนด / การปฏิบัติ

การบริหาร (Administration) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายขององค์กร  สำหรับการจัดการ(Management)  คือการนำนโยบายที่กำหนดขึ้นไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

 **************************************************************************************************

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ทรัพยากรในการบริหาร

 **การจัดการหรือการบริหารกิจการต่างๆ จำเป็นต้องมีทรัพยากรอันเป็นปัจจัยพื้นฐานทางการจัดการโดยทั่วไปถือว่าทรัพยากรที่เป็นปัจจัยสำคัญของการจัดการ มีอยู่ 4 ประการ ซึ่งรู้จักกันในนามของ 4 M ได้แก่

        1. คน (Man) เป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมขององค์การนั้นๆ

        2. เงิน (Money) ใช้สำหรับเป็นค่าจ้างและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

        3. วัสดุสิ่งของ (Material) อุปกรณ์ เครื่องใช้ เครื่องมือต่างๆ รวมทั้งอาคารสถานที่

        4. การจัดการ ( Management) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ 

**ในด้านธุรกิจเอกชนหรือการจัดการธุรกิจ ได้กล่าวถึงปัจจัยการจัดการไว้ว่ามี 6 M โดยเพ่ิมเรื่องตลาดจำหน่ายสินค้าและเครื่องจักรกล แต่ในปัจจุบันปัจจัยของการจัดการยุคใหม่ มีกล่าวไว้ถึง 8 ประการหรือ 8M โดยเพิ่มปัจจัยอีก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านวิธีการทำงานและปัจจัยด้านเวลา มีรายละเอียด ดังนี้

          1. คน (Man) เป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมขององค์การนั้นๆ

         2. เงิน (Money) ใช้สำหรับเป็นค่าจ้างและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

        3. วัสดุสิ่งของ (Material) อุปกรณ์ เครื่องใช้ เครื่องมือต่างๆ รวมทั้งอาคารสถานที่

        4. การจัดการ ( Management) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ 

        5. ตลาด (Market) เป็นที่สำหรับจำหน่ายสินค้าและบริการ

        6. เครื่องจักรกล ( Machine) ใช้สำหรับผลิตสินค้าและบริการ

        7. วิธีการทำงาน (Method) หมายถึง วิธีขั้นตอนในการทำงาน

        8. เวลา (Minute) เวลาในการดำเนินงาน

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ส่วนผสมทางการตลาดสมัยใหม่

*** ส่วนผสมทางการตลาดสมัยใหม่ ***

     ส่วนประสมทางการตลาด ( Marketing  Mix )ของธุรกิจทั่วไปประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์  product)  ราคา        ( price )  การจัดจำหน่าย ( Place )  และการส่งเสริมการตลาด ( promotion ) หรือที่เรียกว่า  4 P’s  แต่ถ้าเป็นธุรกิจบริการจะมีส่วนประสมทางการตลาดเพิ่มขึ้นคือพนักงาน ( people )กระบวนการให้บริการ ( process )  และสิ่งต่าง ๆภายในสำนักงาน ( physical  evidence )  รวมเรียกว่า 7P’s  ทั้งนี้  เมื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  พบว่า P  ทั้ง 7 P’s    นั้นไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  เนื่องจากการประกอบธุรกิจในปัจจุบันนั้นต้องเข้าไป  เกี่ยวข้องกับชุมชน  สังคม  การเมือง  ทำให้ธุรกิจต้องคำนึงถึง  P  อีก 2 P’s  ซึ่งได้แก่  สาธารณชน  ( public )  และการเมือง  ( political )
                โดยมีรายละเอียดของส่วนประสมทางการตลาด  ดังนี้
1.             ผลิตภัณฑ์ (product)  ซึ่งได้แก่สินค้า (good)และบริการ(service)  ที่ธุรกิจพัฒนาขึ้นเพื่อ
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยังรวมไปถึง ตราสินค้า (brand)  การบรรจุหีบห่อ(packaging)  การรับประกัน (guarantee)   คุณภาพผลิตภัณฑ์ (quality) 
2.             ราคา (price) หมายถึง  จำนวนเงินที่ลูกค้าต้องชำระให้กับผู้ขายเพื่อให้ได้รับสินค้าและ
บริการ  โดยธุรกิจต้องกำหนดราคาให้อยู่ในระดับที่ลูกค้าสามารถซื้อได้
3.             การจัดจำหน่าย (place)  หมายถึง  การจัดการเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการ
ซื้อสินค้าของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้มีความสะดวกสบายสูงสุดด้วยการนำสินค้าและบริการไป                ส่งมอบให้กับลูกค้าภายในเวลาที่ลูกค้าต้องการ
4.             การส่งเสริมการตลาด (promotion)  หมายถึง  การกำหนดแนวทางในการสื่อสารไปยัง
ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ  ราคา และข้อมูลอื่น ๆ  ของสินค้าและบริการ  โดย    มุ่งหมายให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ  ด้วยการประสมประสานส่วนประสมการส่งเสริมตลาด  ซึ่งได้แก่  การโฆษณา  การประชาสัมพันธ์  การส่งเสริมการขาย  การตลาดทางตรงและการใช้พนักงานขาย
                5.  พนักงาน (people)  หมายถึง  การจัดการบริการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยบุคลากรของกิจการโดยเริ่มตั้งแต่การสรรหาคัดเลือก  การพัฒนาและฝึกอบรม  รวมไปถึงการจูงใจและปลูกฝังลักษณะที่จำเป็นต่อการให้บริการ  เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการให้มากที่สุด  ได้แก่  ด้านทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  การทักทายลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ  การขอบคุณลูกค้าหรือผู้ใช้บริการทุกครั้งที่มาใช้บริการ
                6.  กระบวนการ (process)  หมายถึง  การวางระบบและออกแบบให้มีขั้นตอนที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการมากที่สุด  ลดขั้นตอนที่ทำให้ผู้บริโภคต้องรอนาน  จัดระบบการไหลของการให้บริการ (service  flow)  ให้มีอุปสรรคน้อยที่สุด  เนื่องจากการรอคอยการให้บริการนาน ๆ  อาจทำให้เกิดความไม่พึงพอใจได้  โดยยึดแนวคิด One  Stop  Service ให้ลูกค้าอยู่ที่จุดเดียวคือ  บริเวณด้านหน้าเคาน์เตอร์  และให้บริการลูกค้าตามแนวคิดว่า  ลูกค้าคือคนที่เรารัก รวมทั้งการพัฒนา  SOS  หรือ Standard  of  Service  นั่นคือ  มาตรฐานในการให้บริการ  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
                7.  สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงาน (physical  evidence)  หมายถึง  การออกแบบวางผังสำนักงาน  อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในสำนักงาน  การจัดวางโต๊ะทำงาน  เฟอร์นิเจอร์ภายในสำนักงาน กระถางต้นไม้ ฯลฯ  ให้เรียบร้อยเป็นระเบียบที่เหมาะสมกับลักษณะของบริษัท ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจะรับรู้และเข้าใจภาพลักษณ์การให้บริการของกิจการจากสิ่งเหล่านี้
                8.  สาธารณชน (public)  หมายถึงกลุ่มประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ  ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯโดยบริษัทต้องคำนึงถึงความอยู่ดีกินดีของสาธารณชนและความปลอดภัยในชีวิต  ทรัพย์สิน  สุขภาพของสาธารณชน   หากบริษัทฯละเลยหรือมองข้ามจะทำให้เกิดการต่อต้านจากสาธารณชน  และอาจทำให้ลูกค้าโดยทั่วไปร่วมกันไม่ใช้สินค้าของบริษัท  ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสาธารณชนซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของทุกบริษัท   เพื่อลดแรงต่อต้านจากสาธารณชน  และเพิ่มการสนับสนุนบริษัท
                9.  การเมือง (political) หมายถึง  การเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งอาจเป็นกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ  แม้ว่าปัจจัยด้านการเมืองจะถูกกำหนดให้เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกของการดำเนินธุรกิจ  แต่บริษัทต้องให้ความสำคัญและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเมืองด้วย

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ความหมายของการวิจัยตลาด

 

การวิจัยตลาดมีลักษณะและกรรมวิธีเหมือนๆกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์โดยทั่วๆไปจะแตกต่างกันก็เฉพาะในเรื่องของเนื้อหาสาระทีทำวิจัยเท่านั้น มีท่านผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิจัยตลาดได้ให้ความหมาย ไว้ดังนี้

1. อาจารย์วีระ  บุญญานุรักษ์  การวิจัยตลาดหมายถึง การนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านการตลาด

2. อาจารย์ประยูร  บุญประเสริฐ  การวิจัยตลาด หมายถึง การนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสังเกต ทดลอง บันทึกและสำรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับตัวผู้บริโภคและสภาพความเป็นไปของตลาด

3. Peter D. Bennet กล่าวว่า  การวิจัยตลาด หมายถึง กิจกรรมที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้บริโภค ลูกค้าและสาธารณชนกับนักการตลาดให้เข้าถึงกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร ซึ่งข้อมูลข่าวสารดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการค้นหาปัญหาทางการตลาดและโอกาสทางการตลาดการประมวล การกลั่นกรอง การประเมินผลการดำเนินงานทางด้านการตลาดและถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงความเข้าใจในเรื่องกระบวนการทางตลาด

4. Philip Kotler กล่าวว่า การวิจัยตลาด หมายถึง การออกแบบ การเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ และการรายงานข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยผลสรุปที่ได้จากการวิจัยจะเป็นประเด็นเฉพาะสถานะการณ์ทางการตลาดที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่

5. สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า การวิจัยตลาดเป็นการรวบรวม การจดบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาต่าง ๆ ทางด้านการตลาด อย่างมีระบบแบบแผน ทั้งนี้ เพื่อช่วยฝ่ายบริหารในการแก้ปัญหา หาโอกาสทางการตลาด และการตัดสินใจหาข้อสรุปทางการตลาด

6. เป็นการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการรวบรวมบันทึก และวิเคราะห์ ข้อมูลอย่างมีระบบเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุด ที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับตลาด

7. เป็นการสำรวจ ทดลอง สังเกต แล้วทำการบันทึก รวบรวมเพื่อเอามาวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับตลาด ผู้บริโภคอย่างถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ

8. การรวบรวมการจดบันทึก และการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตลาด อย่างมีระบบ

9. การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์วิจัยความจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด ที่มีความสัมพันธ์กับการตลาด อันนำมาซึ่งข้อเสนอแนะที่จะช่วยแก้ปัญหาทางการตลาดที่เกิดขึ้น

10. การค้นหาและการศึกษาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับปัญหาทางการตลาดอย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน

              จากความหมายของการวิจัยตลาด พิจารณาเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งอาจสามารถสรุปได้ดังนี้คือ

                1. เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ

                2. เป็นการศึกษา สนใจในเรื่องที่เป็นประเด็นปัญหาในเรื่องการตลาด สินค้าหรือบริการ

                3. ประกอบด้วยกระบวนการค้นคิด วิเคราะห์สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ ได้แก่ การรวบรวม การบันทึกข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่น่าเชื่อถือ

                4. มุ่งหวังที่จะล่วงรู้ความต้องการในจิตใจของผู้บริโภค ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย หรือตลาดเป้าหมาย (Target  Marketing)  เพื่อการวางแผนและตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งทางการตลาด