วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของแผนธุรกิจ

แผนธุรกิจโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 10 ประการ ได้แก่
1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร  เป็นองค์ประกอบส่วนแรกของแผนธุรกิจมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นการสรุปใจความสำคัญของแผนธุรกิจทั้งหมดที่ผู้ร่วมลงทุนจะนำไปใช้ในการตัดสินใจว่าจะศึกษาแผนธุรกิจนั้นต่อไปกรือไม่  บทสรุปของผู้บริหารควรเขียนให้กระชับ โดยทั่วไปไม่เกินสองหน้ากระดาษ และเป็นส่วนของแผนที่จะต้องเขียนเป็นลำดับสุดท้าย
           1.1  เนื้อหาที่ปรากฏใน่วนของบทสรุปสำหรับผู้บริหาร
                      -  อธิบายว่าจะทำธุรกิจอะไรและแนคิดของธุรกิจเป็นอย่างไร
                      -  โอกาสและกลยุทธ์ ควรสรุปให้เห็นว่อะไรคือโอกาส จะใช้โอกาสนั้นอย่างไร
                      -  กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการคาดคะเนลูกค้าเป้าหมาย ระบุและอธิบายย่อๆ ถึงลักษณะตลาด ใครเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก จะจัดวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์อย่างไร การวางแผนเข้าถึงลูกค้า รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของตลาด ขนาด และอตราการเติบโตของกลุ่มลูกค้า ยอดขายและส่วนแบ่งตลาดที่คาดหมาย
                     -  ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจ  ระบุถึงความได้เปรียบและความเหนือกว่าในการแข่งข้น
                     -  ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและความสสามารถในการทำกำไร สรุปให้เห็นถึงความคุ้มค่าของการลงทุน
                     -  ทีมผู้บรหาร  สรุปความรู้ ความสามารถ ประสการณ์และทักษะของผู้เป็นหลักในการก่อตั้งและบริหารพร้อมสมาชิกในทีม บอกย่อๆ ถึงความสำเร็จในอดีต โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทำกำไร  การบริหารงานและคน
                  -  ข้อเสนอผลตอบแทน ระบุสั้นๆ ถึงเงินทุนหรือเงินกู้ที่ต้องการ จุดมุ่งหมายในการใช้เงิน ผลตอบแทนที่เจ้าของเงินจได้รับ
2. ประวัติโดยย่อของกิจการ  เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้ง ทั้งในรูปแบบของจัดตั้งหรือจดทะเบียน
3. การวิเคราะห์สถานการณ์  ขั้นตอนแรกของการจัดทำแผนธุรกิจ  คือ การพยายามทำการศึกษาให้เกิดความเข้ใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การแข่งขัน  ตลอดจนความสามารถในการทำกำไร และความพร้อมในด้านต่างๆ ของกิจการ นำข้อมูลที่ได้มากำหนดทิศทาง กลยุทธ์ และแผนดำเนินงานของกิจการ เรียกย่อๆ ว่า Swot Analysis
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ เป็นผลลัพธ์ทางธุรกิจที่กิจการต้องการได้รับในช่วงระยะเวลาของแผน ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดเป้าหมายโดยรวมกับเป้าหมายเฉพาะด้านในแต่ละแผนกหรือลักษณะงาน  เช่น เป้าหมายทางการตลาด เป้าหมายทางการจัดการ
5. แผนการตลาด  เป็นการกำหนดทิศทางและแนวทางในการทุ่มเทความพยายามทางการตลาด ตลอดจนกลงไกในการตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรมการตลาดไว้ล่วงหน้า องค์ประกอบสำคัญของแผนการตลาดมีดังนี้
                   5.1  เป้าหมายทางการตลาด
                   5.2  การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
                   5.3  กลยุทธ์และกิจกรรมการตลาด
                   5.4  การควบคุมและประเมินผลทางการตลาด
6. แผนการจัดการองค์การและบุคลากร  เป็นการระบุโครงสร้างขององค์กรให้ชัดเจน โดยแสดงแผนผังโครงสร้างขององค์กร
7. แผนการผลิต  เป็นส่นหนึ่งของแผนธุรกิจที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนที่แสดงถึงความเชื่อมโยงของแผนธุรกิจในส่วนต่าง ๆ เช่นแผนการตลาด แผนการบริหารและบุคคล แผนการเงิน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและศักยภาพขององค์กรในการบรรลุเป้าหมายตามแผนธุรกิจ  แผนการผลิต  มีสาระสำคัญ 10 ประการ ดังนี้
                   7.1  คุณภพของสินค้าหรือบริการที่กิจการทำการผลิตหรือให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้
                   7.2  การออแบบสินค้าหรือบริการ
                   7.3  การออกแบบกระบวนการผลิต การปฏิบัติการ และการตัดสินใจเรื่องกำลังการผลิตเป็นการกำหนดขั้นตอนในการผลิตและการปฏิบัติการท้ังหมด
                   7.4  การเลือกสถานที่ตั้ง เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดทำเลที่ตั้งว่ามีความเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจที่จะดำเนินการ
                  7.5  การออกแบบแผนผังของสถานประกอบการ
                  7.6  การออกแบบระบบงานและการวางแผนกำลังคน จะพิจารณารายละเอียดของระบบงานการใช้กำลังคนที่เหมาะสมสำหรับหน้าที่ต่าง ๆ ตลอดจนคุณสมบัติของพนักงาน
                  7.7  การจัดการกระบวนการจัดส่งวัตถุดิบในการผลิตจนกระทั่งเป็นสินค้าสำเร็จรูป
                  7.8  ระบบสินค้าคงคลัง
                  7.9  กำหนดการผลิตและปฏิบัติการ
                  7.10 การบำรุงรักษาเครื่องมือและเครื่องจักร
8. แผนเงิน  เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเงินลงทุนที่จะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
9. แผนการดำเนินงาน  เป็นขั้นตอนในการจัดทำรายละเอียดของกลยุทธ์ด้านต่างๆ ในแผนธุรกิจ
10. แผนฉุกเฉิน  เป็นการเตรียมแนวทางการดำเนินงานไว้ล่วงหน้าในกรณีที่สถานการณ์หรือผลลัพธ์จากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นจนเป็นผลกระทบในทางลบกับกิจการ


                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น