วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567

*** TOWS Matrix ***

 

การสร้างกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix

        

                      ปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายนอก

จุดแข็ง (Strength)

1

2

3

จุดอ่อน

1

2

3

โอกาส (Opportunity)

1

2

3

SO

(กลยุทธ์เชิงรุก)

WO

(กลยุทธ์เชิงแก้ไข)

อุปสรรค (Threat)

1

2

3

ST

(กลยุทธ์เชิงป้องกัน

 

 

WT

(กลยุทธ์เชิงรับ)

 

1.      กลยุทธ์เชิงรุก  เป็นการจับคู่ระหว่าง Strength และ Opportunity (ใช้จุดแข็งร่วมกับโอกาส)

              กลยุทธ์ในส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่เน้นสร้างผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุด ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งของธุรกิจร่วมกับโอกาสที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดให้ดียิ่งขึ้น

2.      กลยุทธ์เชิงแก้ไข เป็นการจับคู่ระหว่าง Weakness และ Opportunity (ใช้โอกาสลดจุดอ่อน)

             ทุกธุรกิจล้วนมีจุดอ่อน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องกระบวนการดำเนินงาน หรือการที่ธุรกิจยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด โดยบางครั้งการอุดจุดอ่อนอาจเป็นเรื่องของจังหวะเวลา ที่จะเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจแก้ไขจุดอ่อนหรือลดทอนจุดอ่อนของตัวเองลงไปได้

3.      กลยุทธ์เชิงป้องกัน เป็นการจับคู่ระหว่าง Strength และ Threat (ใช้จุดแข็งรับมืออุปสรรค)

            เป็นการใช้จุดแข็งที่มีอยู่มาป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากรบุคคลหรือเครื่องมือในองค์กรก็ตาม เนื่องจากหลายองค์กรที่กำลังเติบโตอย่างมาก มักมีความต้องการใช้จุดแข็งเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์เชิงรุกเพียงอย่างเดียว จนอาจมองข้ามการนำจุดแข็งมาเตรียมรับมือกับอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น

4.      กลยุทธ์เชิงรับ เป็นการจับคู่ระหว่าง Weakness กับ Threat (แก้ไขจุดอ่อนและเสี่ยงอุปสรรค)

            กลยุทธ์แบบนี้จะแตกต่างจากอีก 3 กลยุทธ์ที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากมีไว้เพื่อรับมือกับสถานการณต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา ไม่ได้ใช้เพื่อหวังมุ่งไปข้างหน้า แต่เป็นกลยุทธ์เชิงรัรบที่มีไว้เพื่อพยุงสถานการณ์ของที่เกิดขึ้นไม่ให้แย่ลง ด้วยการพยายามบรรเทาปัญหาหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นเพิ่ม

**************************************

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ส่วนผสมทางการตลาดสมัยใหม่ (9P's)

 💗💗ส่วนผสมทางการตลาดสมัยใหม่ 💗💗

     ส่วนประสมทางการตลาด ( Marketing  Mix )ของธุรกิจทั่วไปประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์  product)  ราคา        ( price )  การจัดจำหน่าย ( Place )  และการส่งเสริมการตลาด ( promotion ) หรือที่เรียกว่า  4 P’s  แต่ถ้าเป็นธุรกิจบริการจะมีส่วนประสมทางการตลาดเพิ่มขึ้นคือพนักงาน ( people )กระบวนการให้บริการ ( process )  และสิ่งต่าง ๆภายในสำนักงาน ( physical  evidence )  รวมเรียกว่า 7P’s  ทั้งนี้  เมื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  พบว่า P  ทั้ง 7 P’s    นั้นไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  เนื่องจากการประกอบธุรกิจในปัจจุบันนั้นต้องเข้าไป  เกี่ยวข้องกับชุมชน  สังคม  การเมือง  ทำให้ธุรกิจต้องคำนึงถึง  P  อีก 2 P’s  ซึ่งได้แก่  สาธารณชน  ( public )  และการเมือง  ( political )
                โดยมีรายละเอียดของส่วนประสมทางการตลาด  ดังนี้
1.    ผลิตภัณฑ์ (product)  ซึ่งได้แก่สินค้า (good)และบริการ(service)  ที่ธุรกิจพัฒนาขึ้นเพื่อ
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจนอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยังรวมไปถึง ตราสินค้า (brand)  การบรรจุหีบห่อ(packaging)  การรับประกัน (guarantee)   คุณภาพผลิตภัณฑ์ (quality) 

2.  ราคา (price) หมายถึง  จำนวนเงินที่ลูกค้าต้องชำระให้กับผู้ขายเพื่อให้ได้รับสินค้าและ
บริการ  โดยธุรกิจต้องกำหนดราคาให้อยู่ในระดับที่ลูกค้าสามารถซื้อได้

3.  การจัดจำหน่าย (place)  หมายถึง  การจัดการเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการ
ซื้อสินค้าของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้มีความสะดวกสบายสูงสุดด้วยการนำสินค้าและบริการไปส่งมอบให้กับลูกค้าภายในเวลาที่ลูกค้าต้องการ

4.  การส่งเสริมการตลาด (promotion)  หมายถึง  การกำหนดแนวทางในการสื่อสารไปยัง
ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ  ราคา และข้อมูลอื่น ๆ  ของสินค้าและบริการ  โดย    มุ่งหมายให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ  ด้วยการประสมประสานส่วนประสมการส่งเสริมตลาด  ซึ่งได้แก่  การโฆษณา  การประชาสัมพันธ์  การส่งเสริมการขาย  การตลาดทางตรงและการใช้พนักงานขาย

         5.  พนักงาน (people)  หมายถึง  การจัดการบริการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยบุคลากรของกิจการโดยเริ่มตั้งแต่การสรรหาคัดเลือก  การพัฒนาและฝึกอบรม  รวมไปถึงการจูงใจและปลูกฝังลักษณะที่จำเป็นต่อการให้บริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการให้มากที่สุดได้แก่  ด้านทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  การทักทายลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ  การขอบคุณลูกค้าหรือผู้ใช้บริการทุกครั้งที่มาใช้บริการ

        6.  กระบวนการ (process)  หมายถึง  การวางระบบและออกแบบให้มีขั้นตอนที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการมากที่สุด ลดขั้นตอนที่ทำให้ผู้บริโภคต้องรอนานจัดระบบการไหลของการให้บริการ (service  flow)  ให้มีอุปสรรคน้อยที่สุด  เนื่องจากการรอคอยการให้บริการนาน ๆ  อาจทำให้เกิดความไม่พึงพอใจได้  โดยยึดแนวคิด One  Stop  Service ให้ลูกค้าอยู่ที่จุดเดียวคือ  บริเวณด้านหน้าเคาน์เตอร์  และให้บริการลูกค้าตามแนวคิดว่า  ลูกค้าคือคนที่เรารัก รวมทั้งการพัฒนา  SOS  หรือ Standard  of  Service  นั่นคือ  มาตรฐานในการให้บริการ  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

          7.  สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงาน (physical  evidence)  หมายถึง  การออกแบบวางผังสำนักงาน  อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในสำนักงาน  การจัดวางโต๊ะทำงาน  เฟอร์นิเจอร์ภายในสำนักงาน กระถางต้นไม้ ฯลฯ  ให้เรียบร้อยเป็นระเบียบที่เหมาะสมกับลักษณะของบริษัท ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจะรับรู้และเข้าใจภาพลักษณ์การให้บริการของกิจการจากสิ่งเหล่านี้

         8.  สาธารณชน (public)  หมายถึง กลุ่มประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ  ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯโดยบริษัทต้องคำนึงถึงความอยู่ดีกินดีของสาธารณชนและความปลอดภัยในชีวิต  ทรัพย์สิน  สุขภาพของสาธารณชน   หากบริษัทฯละเลยหรือมองข้ามจะทำให้เกิดการต่อต้านจากสาธารณชนและอาจทำให้ลูกค้าโดยทั่วไปร่วมกันไม่ใช้สินค้าของบริษัทดังนั้นนักการตลาดจึงต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสาธารณชนซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของทุกบริษัท  เพื่อลดแรงต่อต้านจากสาธารณชน  และเพิ่มการสนับสนุนบริษัท

        9.  การเมือง (political) หมายถึง  การเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งอาจเป็นกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ  แม้ว่าปัจจัยด้านการเมืองจะถูกกำหนดให้เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกของการดำเนินธุรกิจ  แต่บริษัทต้องให้ความสำคัญและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเมืองด้วย

        💜💜💜💛💛💛💙💙💙💗💗💗💗💔💔💔💔💚💚💚💚💓💓💓💓