วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ส่วนผสมทางการตลาดสมัยใหม่

 ส่วนผสมทางการตลาดสมัยใหม่
                ส่วนประสมทางการตลาด ( Marketing  Mix )ของธุรกิจทั่วไปประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์  product)  ราคา ( price )  การจัดจำหน่าย ( Place )  และการส่งเสริมการตลาด ( promotion ) หรือที่เรียกว่า  4 P’s  แต่ถ้าเป็นธุรกิจบริการจะมีส่วนประสมทางการตลาดเพิ่มขึ้นคือพนักงาน ( people )กระบวนการให้บริการ ( process )  และสิ่งต่าง ๆภายในสำนักงาน ( physical  evidence )  รวมเรียกว่า 7P’s  ทั้งนี้  เมื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  พบว่า ทั้ง 7 P’s    นั้นไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  เนื่องจากการประกอบธุรกิจในปัจจุบันนั้นต้องเข้าไป  เกี่ยวข้องกับชุมชน  สังคม  การเมือง  ทำให้ธุรกิจต้องคำนึงถึง  อีก 2 P’s  ซึ่งได้แก่  สาธารณชน  ( public )  และการเมือง                  ( political )
                โดยมีรายละเอียดของส่วนประสมทางการตลาด  ดังนี้
1.             ผลิตภัณฑ์ (product)  ซึ่งได้แก่สินค้า (good)และบริการ(service)  ที่ธุรกิจพัฒนาขึ้นเพื่อ
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยังรวมไปถึง                   ตราสินค้า (brand)  การบรรจุหีบห่อ(packaging)  การรับประกัน (guarantee)   คุณภาพผลิตภัณฑ์ (quality) 
2.             ราคา (price) หมายถึง  จำนวนเงินที่ลูกค้าต้องชำระให้กับผู้ขายเพื่อให้ได้รับสินค้าและ
บริการ  โดยธุรกิจต้องกำหนดราคาให้อยู่ในระดับที่ลูกค้าสามารถซื้อได้
3.             การจัดจำหน่าย (place)  หมายถึง  การจัดการเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการ
ซื้อสินค้าของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้มีความสะดวกสบายสูงสุดด้วยการนำสินค้าและบริการไป                ส่งมอบให้กับลูกค้าภายในเวลาที่ลูกค้าต้องการ
4.             การส่งเสริมการตลาด (promotion)  หมายถึง  การกำหนดแนวทางในการสื่อสารไปยัง
ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ  ราคา และข้อมูลอื่น ๆ  ของสินค้าและบริการ  โดย    มุ่งหมายให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ  ด้วยการประสมประสานส่วนประสมการส่งเสริมตลาด  ซึ่งได้แก่  การโฆษณา  การประชาสัมพันธ์  การส่งเสริมการขาย  การตลาดทางตรงและการใช้พนักงานขาย
                5.  พนักงาน (people)  หมายถึง  การจัดการบริการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยบุคลากรของกิจการโดยเริ่มตั้งแต่การสรรหาคัดเลือก  การพัฒนาและฝึกอบรม  รวมไปถึงการจูงใจและปลูกฝังลักษณะที่จำเป็นต่อการให้บริการ  เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการให้มากที่สุด  ได้แก่  ด้านทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  การทักทายลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ  การขอบคุณลูกค้าหรือผู้ใช้บริการทุกครั้งที่มาใช้บริการ
                6.  กระบวนการ (process)  หมายถึง  การวางระบบและออกแบบให้มีขั้นตอนที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการมากที่สุด  ลดขั้นตอนที่ทำให้ผู้บริโภคต้องรอนาน  จัดระบบการไหลของการให้บริการ (service  flow)  ให้มีอุปสรรคน้อยที่สุด  เนื่องจากการรอคอยการให้บริการนาน ๆ  อาจทำให้เกิดความไม่พึงพอใจได้  โดยยึดแนวคิด One  Stop  Service ให้ลูกค้าอยู่ที่จุดเดียวคือ  บริเวณด้านหน้าเคาน์เตอร์  และให้บริการลูกค้าตามแนวคิดว่า  ลูกค้าคือคนที่เรารัก รวมทั้งการพัฒนา  SOS  หรือ Standard  of  Service  นั่นคือ  มาตรฐานในการให้บริการ  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
                7.  สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงาน (physical  evidence)  หมายถึง  การออกแบบวางผังสำนักงาน  อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในสำนักงาน  การจัดวางโต๊ะทำงาน  เฟอร์นิเจอร์ภายในสำนักงาน กระถางต้นไม้ ฯลฯ  ให้เรียบร้อยเป็นระเบียบที่เหมาะสมกับลักษณะของบริษัท ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจะรับรู้และเข้าใจภาพลักษณ์การให้บริการของกิจการจากสิ่งเหล่านี้
                8.  สาธารณชน (public)  หมายถึงกลุ่มประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ  ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯโดยบริษัทต้องคำนึงถึงความอยู่ดีกินดีของสาธารณชนและความปลอดภัยในชีวิต  ทรัพย์สิน  สุขภาพของสาธารณชน   หากบริษัทฯละเลยหรือมองข้ามจะทำให้เกิดการต่อต้านจากสาธารณชน  และอาจทำให้ลูกค้าโดยทั่วไปร่วมกันไม่ใช้สินค้าของบริษัท  ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสาธารณชนซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของทุกบริษัท   เพื่อลดแรงต่อต้านจากสาธารณชน  และเพิ่มการสนับสนุนบริษัท
                9.  การเมือง (political) หมายถึง  การเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งอาจเป็นกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ  แม้ว่าปัจจัยด้านการเมืองจะถูกกำหนดให้เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกของการดำเนินธุรกิจ  แต่บริษัทต้องให้ความสำคัญและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเมืองด้วย

..............................................................................





วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

CRM

           การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer  Relationship Management  หรือ CRM) คือ การสร้าง
ความสัมพันธ์กับลูกค้า  โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ถูกนำมาใช้
มาก เนื่องจากคู่แข่งขันแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้า
ยังคงเท่าเดิม  ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความ
จงรักภักดีในที่สุด
       
          เนื่องจากระบบ CRM เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดำเนินธุรกิจที่นำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาปรับใช้
ในการตลาด ดังนั้น การดูแลระบบให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยความร่วมมือจาก
หลายฝ่าย เช่น ฝ่ายสารสนเทศ หรือผู้ออกแบบและผู้จัดทำเว็บไซต์ขององค์กร นอกจากนั้นยัง
เชื่อมระบบ ERP กับ CRM  เข้าด้วยกัน ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก และอาจต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง
แต่ก็จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการขายและอาจจะนำเสนอบริการในรูปแบบอื่นให้กับลูกค้าได้

        ERP  ย่อมาจาก Enterprise  Resource  Planning  หมายถึง การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจ
ขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร

        ประโยชน์ของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
         1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ แฟ้มลูกค้า  พฤติกรรมลูกค้า
         2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
         3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตรงตาม
ความต้องการของลูกค้า
        4.  เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
        5.  ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสใน
การแข่งขัน ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

SWOT

ในการวิเคราะห์ SWOT มีปัจจัยที่ควรจะพิจารณา ดังนี้
1. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง  ผู้วิเคราะห์จะต้องยอมรับจุดอ่อนของบริษัท รู้อุปสรรค จะต้องมีใจเป็นกลางในการวิเคราะห์ รู้ปัญหาของบริษัท  ถ้าผู้วิเคราะห์ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง จะไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหา มองไม่เห็นจุดอ่อนของบริษัท
2. แยกแยะปัญหาให้ได้และแก้ปัญหานั้นให้ตรงจุด ผู้วิเคราะห์จะต้องแยกแยะให้ได้ว่าอะไรเป็นปัญหาและอะไรเป็นสาเหตุของปัญหา  เพื่อหาทางแก้ไขให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น คู่แข่งขันผลิตสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดสามารถขายสินได้มาก ซึ่งความจริงนั้นการที่คู่แข่งขันทุ่มโฆษณามากนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นเพียงแค่สาเหตุของปัญหาที่จะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง เช่น หากกำไรของบริษัทลดลงต้องแก้ไขให้ได้ว่าเป็นเพราะเหตุไร
3. มองปัญหาให้กว้างและครบทุกด้าน  อย่ามองปัญหาเพียงข้อเดียวหรือด้านใดด้านหนึ่ง
 
แสดงวิธีการวิเคราะห์ AWOT (SWOT Analysis)

S    จุดแข็ง
วิเคราะห์สิ่งดีที่อยู่ภายในผลิตภัณฑ์และบริษัท
W  จุดอ่อน
วิเคราะห์สิ่งไม่ดีที่อยู่ภายในผลิตภัณฑ์และบริษัท
O  โอกาส
วิเคราะห์ข้อได้เปรียบ ปัจจัยภายนอกที่อยู่รอบ ๆ ธุรกิจ และไม่สามารถควบคุมได้
T  อุปสรรค
วิเคราะห์ข้อเสียเปรียบ  ปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ
และไม่สามารถควบคุมได้

แสดงตัวอย่างปัจจัยที่ควรพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT

จุดแข็ง (Strength)
จุดอ่อน (Weakness)
  • เงินทุนหมุนเวียนมาก
  • ภาพพจน์ของสินค้าและบริษัท
  • ส่วนแบ่งทางการตลาด
  • ช่องทางการจัดจำหน่าย
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ
  • มีผู้บริหารที่มากด้วยประสบการณ์
  • มีทักษะในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่
  • แคบเปญโฆษณาดี
  • ชื่อเสียง ภาพพจน์ดี
  • ฐานะทางการเงินมั่นคง
  • ราคาถูกกว่า
  • มีสินค้าให้เลือกมากกว่า
  • อื่นๆ
  • นโยบายผิดพลาด
  • ขาดแคลนเทคโนโลยีและบุคลากร
  • ไม่มีการวางแผนการดำเนินธุรกิจตัวที่มีประสิทธิภาพ
  • ล้มเหลวในการทำวิจัยและพัฒนา
  • สายผลิตภัณฑ์แคบ
  • ภาพพจน์สินค้าไม่ดี
  • ช่องทางการจัดจำหน่ายไม่เพียงพอ
  • เงินทุนหมุนเวียนมีน้อย
  • ไม่มีการทำโฆษณา
  • ต้นทุนการผลิตสูง
  • กลยุทธ์ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
  • ราคาแพงกว่า
  • อื่นๆ
โอกาส  (Opportunity)
อุปสรรค (Threat)
  • อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
  • ทัศนคติที่ดีต่อสินค้าของผู้บริโภค
  • คู่แข่งขันเลิกกิจการ
  • มาตรการส่งเสริมจากภาครัฐบาล
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง
  • เทคโนโลยีหรือวิชาการใหม่ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • จำนวนผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น
  • อื่นๆ
  • คู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาด
  • คู่แข่งทุ่มเทงบการตลาดมาก
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
  • กฎหมายหรือระเบียบการ
  • พฤติกรรมผู้บริโภค
  • อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจซบเซา
  • จำนวนผู้บริโภคลดน้อยลง
  • เศรษฐกิจไม่ดี
  • สภาวะทางการเมืองไม่เอื้ออำนวย
  • อื่นๆ 
จะเห็นว่า  การวิเคราะห์ SWOT มีประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัท และช่วยให้บริษัทสามารถแก้ปัญหา ฟันฝ่าอุปสรรค ตลอดจนสามารถฉวยโอกาสทางการตลาดได้

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลักการเขียนแผนธุรกิจ และลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี

การเขียนแผนธุรกิจที่ดี  ควรยึดหลัก ดังนี้
1. ต้องเขียนแผนแบบมืออาชีพ
2. คาดคะเนบนหลักฐานทางสถิติเท่านั้น
3. เน้นจุดที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
4. ใช้เทคโนโลยีประกอบในการเขียนแผน
5. ดูตัวอย่างแผนธุรกิจอื่นๆ
6. ปริมาณข้อมูลที่ปรากฏในแผน
7. ทบทวนแผนธุรกิจก่อนนำเสนอ
8. จัดทำแผนให้ดูดี น่าประทับใจ

ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี
1. ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของแผนและความสามารถของผู้เขียนที่จะทำให้แผนธุรกิจเป็นจริงได้ไม่ใช่เป็นความฝัน
2. มีส่วนประกอบครบถ้วนตามองค์ประกอบของแผนธุรกิจและข้อมูลในส่่วนต่าง ๆ ครบถ้วน น่าเชื่อถือ
3. แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการและวิธีการจัดการที่น่าเชื่อถือได้ในการทำให้แผนธุรกิจสัมฤทธิ์ผล
4. สามารถตอบคำถามต่าง ๆ ได้ เช่าน กิจการมีการดำเนินการในระดับใด  น่าลงทุนมากน้อยเพียงใด ธุรกิจมีแนวโน้มหรือโอกาสประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด วิธีการผลิตและการจัดจำหน่ายหรือการ บริหารการตลาดมีความเป็นไปได้เพียงใด  เป็นต้น



องค์ประกอบของแผนธุรกิจ

แผนธุรกิจโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 10 ประการ ได้แก่
1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร  เป็นองค์ประกอบส่วนแรกของแผนธุรกิจมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นการสรุปใจความสำคัญของแผนธุรกิจทั้งหมดที่ผู้ร่วมลงทุนจะนำไปใช้ในการตัดสินใจว่าจะศึกษาแผนธุรกิจนั้นต่อไปกรือไม่  บทสรุปของผู้บริหารควรเขียนให้กระชับ โดยทั่วไปไม่เกินสองหน้ากระดาษ และเป็นส่วนของแผนที่จะต้องเขียนเป็นลำดับสุดท้าย
           1.1  เนื้อหาที่ปรากฏใน่วนของบทสรุปสำหรับผู้บริหาร
                      -  อธิบายว่าจะทำธุรกิจอะไรและแนคิดของธุรกิจเป็นอย่างไร
                      -  โอกาสและกลยุทธ์ ควรสรุปให้เห็นว่อะไรคือโอกาส จะใช้โอกาสนั้นอย่างไร
                      -  กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการคาดคะเนลูกค้าเป้าหมาย ระบุและอธิบายย่อๆ ถึงลักษณะตลาด ใครเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก จะจัดวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์อย่างไร การวางแผนเข้าถึงลูกค้า รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของตลาด ขนาด และอตราการเติบโตของกลุ่มลูกค้า ยอดขายและส่วนแบ่งตลาดที่คาดหมาย
                     -  ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจ  ระบุถึงความได้เปรียบและความเหนือกว่าในการแข่งข้น
                     -  ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและความสสามารถในการทำกำไร สรุปให้เห็นถึงความคุ้มค่าของการลงทุน
                     -  ทีมผู้บรหาร  สรุปความรู้ ความสามารถ ประสการณ์และทักษะของผู้เป็นหลักในการก่อตั้งและบริหารพร้อมสมาชิกในทีม บอกย่อๆ ถึงความสำเร็จในอดีต โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทำกำไร  การบริหารงานและคน
                  -  ข้อเสนอผลตอบแทน ระบุสั้นๆ ถึงเงินทุนหรือเงินกู้ที่ต้องการ จุดมุ่งหมายในการใช้เงิน ผลตอบแทนที่เจ้าของเงินจได้รับ
2. ประวัติโดยย่อของกิจการ  เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้ง ทั้งในรูปแบบของจัดตั้งหรือจดทะเบียน
3. การวิเคราะห์สถานการณ์  ขั้นตอนแรกของการจัดทำแผนธุรกิจ  คือ การพยายามทำการศึกษาให้เกิดความเข้ใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การแข่งขัน  ตลอดจนความสามารถในการทำกำไร และความพร้อมในด้านต่างๆ ของกิจการ นำข้อมูลที่ได้มากำหนดทิศทาง กลยุทธ์ และแผนดำเนินงานของกิจการ เรียกย่อๆ ว่า Swot Analysis
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ เป็นผลลัพธ์ทางธุรกิจที่กิจการต้องการได้รับในช่วงระยะเวลาของแผน ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดเป้าหมายโดยรวมกับเป้าหมายเฉพาะด้านในแต่ละแผนกหรือลักษณะงาน  เช่น เป้าหมายทางการตลาด เป้าหมายทางการจัดการ
5. แผนการตลาด  เป็นการกำหนดทิศทางและแนวทางในการทุ่มเทความพยายามทางการตลาด ตลอดจนกลงไกในการตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรมการตลาดไว้ล่วงหน้า องค์ประกอบสำคัญของแผนการตลาดมีดังนี้
                   5.1  เป้าหมายทางการตลาด
                   5.2  การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
                   5.3  กลยุทธ์และกิจกรรมการตลาด
                   5.4  การควบคุมและประเมินผลทางการตลาด
6. แผนการจัดการองค์การและบุคลากร  เป็นการระบุโครงสร้างขององค์กรให้ชัดเจน โดยแสดงแผนผังโครงสร้างขององค์กร
7. แผนการผลิต  เป็นส่นหนึ่งของแผนธุรกิจที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนที่แสดงถึงความเชื่อมโยงของแผนธุรกิจในส่วนต่าง ๆ เช่นแผนการตลาด แผนการบริหารและบุคคล แผนการเงิน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและศักยภาพขององค์กรในการบรรลุเป้าหมายตามแผนธุรกิจ  แผนการผลิต  มีสาระสำคัญ 10 ประการ ดังนี้
                   7.1  คุณภพของสินค้าหรือบริการที่กิจการทำการผลิตหรือให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้
                   7.2  การออแบบสินค้าหรือบริการ
                   7.3  การออกแบบกระบวนการผลิต การปฏิบัติการ และการตัดสินใจเรื่องกำลังการผลิตเป็นการกำหนดขั้นตอนในการผลิตและการปฏิบัติการท้ังหมด
                   7.4  การเลือกสถานที่ตั้ง เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดทำเลที่ตั้งว่ามีความเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจที่จะดำเนินการ
                  7.5  การออกแบบแผนผังของสถานประกอบการ
                  7.6  การออกแบบระบบงานและการวางแผนกำลังคน จะพิจารณารายละเอียดของระบบงานการใช้กำลังคนที่เหมาะสมสำหรับหน้าที่ต่าง ๆ ตลอดจนคุณสมบัติของพนักงาน
                  7.7  การจัดการกระบวนการจัดส่งวัตถุดิบในการผลิตจนกระทั่งเป็นสินค้าสำเร็จรูป
                  7.8  ระบบสินค้าคงคลัง
                  7.9  กำหนดการผลิตและปฏิบัติการ
                  7.10 การบำรุงรักษาเครื่องมือและเครื่องจักร
8. แผนเงิน  เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเงินลงทุนที่จะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
9. แผนการดำเนินงาน  เป็นขั้นตอนในการจัดทำรายละเอียดของกลยุทธ์ด้านต่างๆ ในแผนธุรกิจ
10. แผนฉุกเฉิน  เป็นการเตรียมแนวทางการดำเนินงานไว้ล่วงหน้าในกรณีที่สถานการณ์หรือผลลัพธ์จากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นจนเป็นผลกระทบในทางลบกับกิจการ