วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

เผยแพร่ผลงานวิจัย


ในฐานะหัวหน้างานวิจัย  ขอเผยแพร่ผลงานวิจัยของนางสุทัศนีย์  พลเตชา

หัวข้อวิจัย                            การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์1 เรื่อง เซต ด้วย
วิธีการแบบร่วมมือของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1
วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน ปีการศึกษา 2555
ผู้วิจัย                                     สุทัศนีย์  พลเดชา
ภาควิชา                               พื้นฐาน
ปีการศึกษา                           2555

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์1เรื่อง เซต ด้วยวิธีการแบบร่วมมือของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน ปีการศึกษา 2555
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ห้อง1002 เป็นการสุ่มแบบง่ายและสุ่มแบบเจาะจงเฉพาะผู้ที่มีปัญหาในการเรียนจำนวน18 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์1เรื่อง เซต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ  t-test
            ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                                                                            *************************************

 ในฐานะหัวหน้างานวิจัย  ขอเผยแพร่ผลงานวิจัยของนางสุรีย์  อุปถัมภ์วิเชียร

หัวข้อวิจัย                            การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน 2โดยการสอนซ่อมเสริม
นอกเวลาของนักเรียนระดับ ปวช.2 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
ปีการศึกษา 2555
ผู้วิจัย                                     สุรีย์  อุปถัมภ์วิเชียร
ภาควิชา                               พื้นฐาน
ปีการศึกษา                           2555

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน 2โดยการสอนซ่อมเสริมนอกเวลาของนักเรียนระดับ ปวช.2 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน ปีการศึกษา 2555
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2ที่
เรียนวิชาภาษาจีน 2 ไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดจำนวน 11 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ  t-test
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
                                    ***********************************

  ในฐานะหัวหน้างานวิจัย  ขอเผยแพร่ผลงานวิจัยของนางสุภาภรณ์  ไทยสิทธิ

                ชื่องานวิจัย           การปรับพฤติกรรมการไม่ส่งงานโดยการทำสัญญาเงื่อนไขกับนักเรียนชั้น ปวช. 1
               ห้อง1009 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร2
               ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
ผู้วิจัย                                 สุภาภรณ์  ไทยสิทธิ
ภาควิชา                               พื้นฐาน
ปีการศึกษา                           2555

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับพฤติกรรมการไม่ส่งงานโดยการทำสัญญาเงื่อนไขกับนักเรียนชั้น ปวช. 1ห้อง1009 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร2 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เงื่อนไขสัญญา
            ผลการวิจัยพบว่า ในสัปดาห์ที่ 1, 2 , 3และ4 มีนักเรียนเข้าห้องเรียนส่งงานช้า จำนวน5คน 3คน  3คน และ1 คนตามลำดับ  มีนักเรียนที่ไม่ส่งงาน  5 คน 5 คน 3 คน 1 คน ตามลำดับ และในสัปดาห์5  นักเรียนทุกคนส่งงานครบตรงเวลา  ไม่มีนักเรียนส่งงานช้า  ไม่มีนักเรียนไม่ส่งงานซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน
                                                      ****************************************

  ในฐานะหัวหน้างานวิจัย  ขอเผยแพร่ผลงานวิจัยของนางสาววนิดา  ตันติชัชวาลวงศ์
ชื่อเรื่อง                  การแก้ปัญหานักเรียนอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่ออกของนักเรียนระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางานการขาย วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล
ศรีย่าน 
ผู้วิจัย                     นางสาววนิดา  ตันติชัชวาลวงศ์                      
ภาควิชา                 ภาษาต่างประเทศ
ปีการศึกษา           2555

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหานักเรียนอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่ออกโดยใช้ชุดฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นปวชสาขางานการขาย มีประชากรเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2   ภาคเรียนที่ 1    ปีการศึกษา 2555  จำนวน  160   คน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นปวช  2  สาขางานการขาย  ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  ที่อ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่ออกจำนวน  20   คนซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษจำนวน  3  ชุด คือ1)แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษพยางค์เดียว  2)แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษสองพยางค์  3) แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษสามพยางค์  และแบบทดสอบการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ  t-test
                      ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                                                        *******************************************
  ในฐานะหัวหน้างานวิจัย  ขอเผยแพร่ผลงานวิจัยของนายเฉลิมพล  จิตร์อรุณ

 หัวข้อวิจัย                            ศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อการฝึกงานของนักศึกษา ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
ผู้วิจัย                                     เฉลิมพล  จิตร์อรุณ
ภาควิชา                               การตลาด
ปีการศึกษา                           2555

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อการฝึกงานของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นสถานประกอบการจำนวน 80  แห่ง  สุ่มตัวอย่างจากสถานประกอบการที่มีนักเรียนนักศึกษาเข้ารับการฝึกงานมากกว่า 2 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อคุณภาพของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่านโดยแบ่งเป็น 6 ด้าน ดังนี้1)ด้านคุณลักษณะ มี 5 ข้อ 2) ด้านจริยธรรม มี 5 ข้อ 3) ด้านจรรยาบรรณ มี 4 ข้อ 4) ด้านทักษะทางปัญญา มี 3 ข้อ  5)  ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป มี 7 ข้อ 6) ด้านสมรรถนะวิชาชีพ มี 6 ข้อ  รวมทั้งสิ้น 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                      ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมสถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของนักเรียนอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  ทุกรายด้านสถานประกอบการมีความพึงพอใจในระดับมาก  เรียงตามลำดับ ดังนี้  ด้านคุณลักษณะ ด้านจริยธรรม   ด้านจรรยาบรรณ  ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป ด้านทักษะทางปัญญา   และ ด้านสมรรถนะวิชาชีพ 
                                                   ********************************************
  ในฐานะหัวหน้างานวิจัย  ขอเผยแพร่ผลงานวิจัยของนายคมวุฒิ  อินทรวิรัตน์

ชื่องานวิจัย         ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับแท็ปเล็ตต่อการให้บริการงานอาคาร        
                          สถานที่วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล  ศรีย่าน
ชื่อผู้วิจัย            คมวุฒิ  อินทรวิรัตน์
ภาควิชา             คอมพิวเตอร์
ปีการศึกษา        2555

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับแท็ปเล็ตต่อการให้บริการงานอาคารสถานที่วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่านใน 4 ด้าน  คือ  ด้านเวลา  ด้านขั้นตอนการให้บริการ   ด้านบุคลากรที่ให้บริการ  และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับแท็ปเล็ตต่อการให้บริการงานอาคารสถานที่วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน  จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน  ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจต่อการให้บริการ  ตอนที่ 3 เป็นปัญหาและข้อเสนอแนะ  ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ()  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
            ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับแท็ปเล็ตทั้งหมด มี 59 คน  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และเป็นครู อาจารย์  ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับแท็ปเล็ตต่อการให้บริการงานอาคารสถานที่วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน  ในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (=4.70, S.D.=0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  ด้านบุคลากรที่ให้บริการ  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับแท็ปเล็ตมีความพึงพอใจเป็นลำดับแรก รองลงมาได้แก่  ด้านเวลา  ด้านขั้นตอนการให้บริการและด้านสิ่งอำนวยความสะดวก  ตามลำดับ
                                                  ******************************************
  ในฐานะหัวหน้างานวิจัย  ขอเผยแพร่ผลงานวิจัยของนางสาวอนงค์  แถลงธรรม

หัวข้อวิจัย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสูบและไม่สูบบุหรี่ของผู้เรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล  ศรีย่าน  เขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร 
ผู้วิจัย
นางสาวอนงค์   แถลงธรรม
ภาควิชา
งานวินัยและพัฒนาบุคลิกภาพ
พ.ศ.
2555

                การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์   เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสูบและไม่สูบบุหรี่ของผู้เรียน   ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสูบบุหรี่ของผู้เรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ชั้นปีที่ 1-3  วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล  ศรีย่าน  ในเขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร  ที่จะเป็นแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการสูบบุหรีของผู้เรียน  ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาและค้นคว้าจากเอกสารด้านวิชาการ  และศึกษาภาคสนามโดยการใช้แบบสอบถามแก่ผู้เรียน   มีกลุ่มตัวอย่าง    คือ    ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1-3  ปีการศึกษา 2555  ภาคเรียนที่   1   จำนวน  310  คน  ของวิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน  เลือกโดยการสุ่มแบบผสม เป็น  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี  ชั้นปีที่ จำนวน 110  คน  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี  ชั้นปีที่ 2 จำนวน 100  คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี  ชั้นปีที่ 3   จำนวน  100  คน               

                ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้เรียน  ส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยที่มาจากทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายการมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน(พฤติกรรมการสูบบุหรี่) คือทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แต่กต่างและทฤษฎีความผูกพันทางสังคม  ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุเหล่านี้ คือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและให้ความสำคัญกับผู้เรียนในครอบครัว คือ  บิดา  โดยจากการวิจัยจะเห็นว่า จำนวนบิดาสูบบุหรี่มากที่สุด  จะสะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของบุคคลในครอบครัว  จะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เรียนได้เป็นอย่างมาก  ดังนั้นในช่วงนี้ผู้เรียนเป็นวัยรุ่นจะให้ความสำคัญกับเพื่อน และผู้ที่มีอิทธิต่อการแสดงพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นอย่างมากก็คือเพื่อน  ซึ่งถ้าผู้เรียนมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่  กลุ่มเพื่อนสนิทของผู้เรียนก็จะมีโอกาสที่จะสูบบุหรี่ได้  และการสูบบุหรี่อาจนำไปสู่การใช้สารเสพติดชนิดอื่นๆ ได้ด้วย

  ดังนั้นการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ของผู้เรียน  จากผลการวิจัยที่ได้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้เรียน   ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ใกล้ชิดคือ บิดา พี่ และน้อง  ซึ่งในการแก้ไขและป้องกันการสูบบุหรี่จึงควรให้ความสำคัญกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเหล่านี้อย่างมาก  โดยช่วงวัยนี้ผู้เรียนจะให้ความสำคัญกับเพื่อน   เนื่องจากเป็นบุคลในวัยเดียวกันที่ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสดงออกอย่างมาก  ดังนั้น   บิดา  มารดา และครู  อาจารย์  ควรเอาใจใส่ดูแลผู้เรียนให้มากขึ้น  โดยการคอยชี้แนะให้เห็นว่าควรปฎิบัติตนอย่างไร  เพื่อไม่ให้ไปสู่ทางที่ผิด    ให้ชี้แนะวิธีการดูแลรักษาสุขภาพ   และให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่  เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาการสูบบุหรีได้อย่างจริงจัง   
                   ****************************************

 ในฐานะหัวหน้างานวิจัย  ขอเผยแพร่ผลงานวิจัยของนางสาวดวงรัตน์  อยู่ศรีเจริญ

ชื่อเรื่องวิจัย                       แก้ปัญหานักเรียนมาโรงเรียนสาย  ของนักเรียนระดับชั้นปวช.  ปีที่ 3 
                                             ห้อง  3003  สาขางานการขาย  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2555
                                              วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล  ศรีย่าน  โดยวิธีทำสัญญาการเรียน
ภาควิชา                                 การตลาด
ผู้วิจัย                                     นางสาวดวงรัตน์  อยู่ศรีเจริญ
ปีการศึกษา                           2555

การวิจัยในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหานักเรียนมาโรงเรียนสาย โดยวิธีทำสัญญาการเรียน    ของนักเรียนระดับชั้นปวช. ปีที่ 3  ห้อง  3003  สาขางานการขาย  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  255วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล  ศรีย่าน  กลุ่มเป้าหมายจำนวน 10  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบบันทึกนักเรียนมาโรงเรียนสาย  แบบบันทึกสัญญาการเรียน   และแบบสังเกตพฤติกรรมการมาโรงเรียนทันเข้าแถวหลังทำสัญญาการเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ
                ผลการวิจัย  พบว่า  การแก้ปัญหานักเรียนมาโรงเรียนสาย  ของนักเรียนระดับปวช.ปีที่ 3  ห้อง  3003 สาขางานการขาย  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2555 โดยวิธีทำสัญญาการเรียน  นักเรียนมาโรงเรียนทันเข้าแถวหลังทำสัญญาการเรียนในเดือนสิงหาคม  หักวันหยุดแล้ว  เหลือวันเรียน 14 วัน นักเรียนที่มาทันเข้าแถวทั้ง 14 วัน คิดเป็นร้อยละ  100  ได้แก่  นายหนึ่ง (นามสมมุติ)  และนายสอง (นามสมมุติ)  นักเรียนที่มาทันเข้าแถว 13 วัน คิดเป็นร้อยละ 92.86ได้แก่   นายสาม  (นามสมมุติ)   นักเรียนที่มาทันเข้าแถว  12  วัน   คิดเป็นร้อยละ  85.71  ได้แก่   นายสี่ (นามสมมุติ)  นักเรียนที่มาทันเข้าแถว 12 วัน คิดเป็นร้อยละ 85.71 นักเรียนที่มาทันเข้าแถว 2 วัน คิดเป็นร้อยละ 14.29 ได้แก่ นางสาวบี (นามสมมุติ)
             

              การวิจัยในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหานักเรียนมาโรงเรียนสาย โดยวิธีทำสัญญาการเรียน    ของนักเรียนระดับชั้นปวช. ปีที่ 3  ห้อง  3003  สาขางานการขาย  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  255วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล  ศรีย่าน  กลุ่มเป้าหมายจำนวน 10  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบบันทึกนักเรียนมาโรงเรียนสาย  แบบบันทึกสัญญาการเรียน   และแบบสังเกตพฤติกรรมการมาโรงเรียนทันเข้าแถวหลังทำสัญญาการเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ
     ผลการวิจัย  พบว่า  การแก้ปัญหานักเรียนมาโรงเรียนสาย  ของนักเรียนระดับปวช.ปีที่ 3  ห้อง  3003 สาขางานการขาย  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2555 โดยวิธีทำสัญญาการเรียน  นักเรียนมาโรงเรียนทันเข้าแถวหลังทำสัญญาการเรียนในเดือนสิงหาคม  หักวันหยุดแล้ว  เหลือวันเรียน 14 วัน นักเรียนที่มาทันเข้าแถวทั้ง 14 วัน คิดเป็นร้อยละ  100  ได้แก่  นายหนึ่ง (นามสมมุติ)  และนายสอง (นามสมมุติ)  นักเรียนที่มาทันเข้าแถว 13 วัน คิดเป็นร้อยละ 92.86ได้แก่   นายสาม  (นามสมมุติ)   นักเรียนที่มาทันเข้าแถว  12  วัน   คิดเป็นร้อยละ  85.71  ได้แก่   นายสี่ (นามสมมุติ)  นักเรียนที่มาทันเข้าแถว 12 วัน คิดเป็นร้อยละ 85.71 นักเรียนที่มาทันเข้าแถว 2 วัน คิดเป็นร้อยละ 14.29 ได้แก่ นางสาวบี (นามสมมุติ)
             
                                       ****************************************
   ในฐานะหัวหน้างานวิจัย  ขอเผยแพร่ผลงานวิจัยของนางสาวพัชรินทร์  แสงเงิน
            
ชื่องานวิจัย           การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้สื่อ             e-book   เรื่อง การพิมพ์วางศูนย์และการพิมพ์บัญชร วิชาพิมพ์ดีดอังกฤษ 2 นักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ชั้นปีที่  2  วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
ชื่อผู้วิจัย                นางสาวพัชรินทร์  แสงเงิน
ภาควิชา                 พื้นฐาน  สายวิชาพิมพ์ดีด
ปีการศึกษา            2555

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียน และหลังการใช้สื่อ e-book เรื่อง การพิมพ์วางศูนย์และการพิมพ์บัญชร  วิชาพิมพ์ดีดอังกฤษ  2  ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2  วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อ e-book เรื่อง การพิมพ์วางศูนย์และการพิมพ์บัญชร  แบบฝึกปฏิบัติ จำนวน 4 ชุดแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจหลังการเรียนจากสื่อ สื่อ e-book เรื่อง การพิมพ์วางศูนย์และการพิมพ์บัญชร    และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน  ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ   E1, E2   ค่าเฉลี่ย () S.D. และ t-test แบบ dependent
                ผลการวิจัยพบว่า    ค่า E1และ   E2  เท่ากับ  77.69  และ 75.38  ซึ่งมากกว่า  75 ที่ตั้งไว้ จึงสรุปได้ว่า สื่อ e-book  มีประสิทธิภาพ  และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยการใช้     t-test พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อ e-book  เรื่อง การพิมพ์วางศูนย์และการพิมพ์บัญชร  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  และค่า  S.D. หลังเรียนมีค่าต่ำกว่าก่อนเรียน แสดงว่า หลังจากการเรียนโดยใช้สื่อ e-book  เรื่อง การพิมพ์วางศูนย์และการพิมพ์บัญชร  นักเรียนมีคะแนนสูง กว่าก่อนเรียน
                                                      *****************************************
   ในฐานะหัวหน้างานวิจัย  ขอเผยแพร่ผลงานวิจัยของนายเชษฐชน  หอมแช่ม
หัวข้อวิจัย                   การปรับพฤติกรรมการเรียนในชั้นเรียนและการส่งงานของนักศึกษาระดับ      ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่1ภาควิชาการตลาด  วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลศรีย่าน
ผู้วิจัย                       นายเชษฐชน  หอมแช่ม      ตำแหน่ง อาจารย์
ภาควิชา                   การตลาด
 ปีการศึกษา             2555

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อปรับพฤติกรรมการเรียนและการส่งงานของนักศึกษาภาควิชาการตลาดระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1รายวิชาโลกทัศน์ของธุรกิจ และเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังการปรับพฤติกรรม      การเรียนและการส่งงาน  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาภาควิชาการตลาดระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาโลกทัศน์ของธุรกิจ ในภาคเรียนที่ 2/2555 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบก่อนการเรียน
(pre-test)และแบบทดสอบหลังการเรียน (post-test) แบบ 4 คำตอบ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แค่ ร้อยละ ผลการวิจัยมีดังนี้
ผู้วิจัยได้สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในช่วงสัปดาห์ที่ 1-4 พบว่ามีพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนสาย ขาดเรียนบ่อย ไม่ตั้งใจเรียน พูดคุยกันเองและเล่น facebook ผ่านมือถือและ I-pad  โดยไม่ยอมจดบันทึกเนื้อหาที่ผู้สอนบรรยาย จากการทดสอบก่อนการเรียน (pre-test) พบว่า คะแนนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง(5-6 คะแนน) ร้อยละ 50 และ 15.38 ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงพื้นความรู้ก่อน       นักศึกษาภาควิชาการตลาดระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1รายวิชาโลกทัศน์ของธุรกิจอยู่ในระดับปานกลาง ภายหลังจากการปรับพฤติกรรมการเรียนในชั้นเรียนและการส่งงานแล้ว ได้ทำการทดสอบหลังการเรียน (post-test) พบว่า คะแนนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (7-8 คะแนน) ร้อยละ 23.07 และ 30.76 ตามลำดับ  เมื่อเปรียบเทียบผลคะแนนทดสอบก่อนการเรียน (Pre-test) และคะแนนทดสอบหลังการเรียน (post-test) แสดงให้เห็นว่าหลังจากปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน จะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ดีขึ้น
                                     *********************************************