ชุดการสอนเรื่องการกำหนดปัญหา


คำนำ
ในการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา พบว่านักศึกษามีปัญหาในเรื่องระเบียบวิธีการวิจัยตลาดเบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเข้าใจกับการกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ ซึ่งเป็นกระบวนการวิจัยเริ่มแรก ชุดการสอนชุดปัญหาและการเลือกหัวข้อนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับครูเพื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนวิชา ระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช  2546    ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ   สาขาวิชาการตลาด   ซึ่งผู้สอนได้มีการพัฒนาผลงานทางด้านวิชาการในด้านการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ส่วนสำคัญของชุดการสอน ประกอบด้วย   โครงการสอน  แผนการสอน  ใบความรู้  แบบทดสอบก่อนเรียน ใบงาน   แบบฝึกหัด และใบประเมินผล  สามารถเป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่ว่าจะเป็นด้านพุทธิพิสัย  ทักษะพิสัย  และจิตพิสัย
ผู้จัดทำขอขอบพระคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้คำแนะนำปรึกษา  ส่งเสริม  สนับสนุนและให้กำลังใจ ในการที่จะพัฒนาผลงานด้านวิชาการสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพและคุณค่าอันพึงเกิดแก่การอาชีวศึกษา  ความดีและประโยชน์ที่จะก่อผลในภายภาคหน้าขอบังเกิดแก่การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาการตลาดต่อไป




                                                                                                                สายใจ  ยศประยูร

                          







คำชี้แจงการใช้
ชุดการสอนวิชา  ระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น

                ชุดการสอนสำหรับครูชุดนี้   ใช้กับผู้เรียนทั้งห้อง  กิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนในการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องประกอบกิจกรรมไปพร้อมๆกัน  ชุดการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น  ชุด การกำหนดปัญหาและเลือกหัวข้อ  นี้ประกอบด้วย  1 ชุด  คือ  การกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ
                ชุดการสอนนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ       โครงการสอน  แผนการสอน ใบความรู้  แบบทดสอบก่อนเรียน  ใบงาน  แบบฝึกหัด  และใบประเมินผล             

1. คำชี้แจงสำหรับครูผู้สอน
                1.1 ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร  เนื้อหาวิชา  และแผนการสอนให้เข้าใจก่อนทำการสอนและต้องเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อใช้ในการเรียนการสอนตามที่ได้ระบุไว้ในแผนการสอนตามหน่วยการเรียน
                1.2 ผู้สอนต้องดำเนินการสอนตามแผนการสอนที่ได้เตรียมไว้
                1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  แบ่งออกเป็นขั้นตอน  คือ
                                ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  (Motivation)
                                ขั้นให้เนื้อหา  (Information)
                                ขั้นการประกอบกิจกรรมโดยการฝึกปฏิบัติตามแบบฝึก   (Application)
                                ขั้นสรุปผลการเรียน  (Progress)
                ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ผู้สอนจะต้องมีทักษะและความชำนาญ  ด้านการอภิปรายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผล
1.4    การสรุปบทเรียนควรให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการสรุปบทเรียนร่วมกับผู้สอนหรือ
ให้ผู้เรียนสรุปทั้งหมด
1.5    หลังจากเรียนครบทุกหัวข้อเรื่องในหน่วยการเรียน ต้องให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ
1.6    หลังจากผู้เรียน เรียนจบหน่วยการเรียนนี้แล้ว  ผู้สอนจะต้องเก็บข้อมูลผลการเรียน
จัดทำประวัติการเรียนของผู้เรียนเพื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการเรียนและพฤติกรรมของผู้เรียน

2. บทบาทผู้เรียน
                เนื่องจากชุดการสอนวิชานี้เป็นชุดฝึกปฏิบัติสำหรับผู้เรียน  ซึ่งครูผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมตามบทบาทผู้เรียน  ดังนี้
                2.1 ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมตามคำแนะนำของผู้สอนอย่างเคร่งครัด
                2.2 ผู้เรียนต้องทำแบบฝึกหัด/ฝึกปฏิบัติขณะเรียนอย่างเต็มความสามารถ

3. การจัดชั้นเรียน
                ในการจัดชั้นเรียนตามปกติสำหรับการสอนภาคทฤษฏี โดยจัดการเรียนการสอนแบบบรรยายหรือถามตอบ สภาพการจัดชั้นเรียน  ต้องจัดให้เหมาะสมและสามารถจัดกิจกรรมการเรียนและการสอนให้กับผู้เรียนทุกคนอย่างทั่วถึง ส่วนการสอนในภาคปฏิบัติได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่ได้เสนอไว้ในแผนการสอน

4. โครงการสอนและแผนการสอน
                ชุดการสอนรายวิชาระเบียบวิธีการวิจัยตลาดเบื้องต้น ชุดการกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ  นี้ประกอบด้วยโครงการสอนรายวิชา 1 โครงการ และแผนการสอน 1 แผนสำหรับการสอนในชุดการสอนคือ  ชุดการกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ

5. การประเมินผล
                ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัด/ฝึกปฏิบัติขณะเรียน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบทดสอบก่อน/หลังเรียน การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย 







 





โครงการสอนรายวิชา
วิชาระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น
เรื่อง/จุดประสงค์การสอน
รายการสอน
1.  การกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ
1.1  อธิบายความหมายของกระบวนการวิจัยตลาดได้
1.2 บอกที่มาของปัญหาในการวิจัยตลาดได้
1.3  อธิบายลักษณะของปัญหาและหัวข้อการวิจัยตลาดได้
1.4  จำแนกประเภทของหัวข้อการวิจัยได้
1.5  เขียนปัญหาในการวิจัยได้









1.      ความหมายของการวิจัยตลาด
2.      ขั้นตอนของกระบวนการวิจัย
3.      การกำหนดปัญหาในการวิจัย
4.      ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการวิจัยและ
ปัญหาการตัดสินใจ
5.      มิติของการสร้างปัญหาในการวิจัย
6.      การประเมินสถานการณ์ในการทำการวิจัย
ตลาด
7.      การเลือกหัวข้อในการวิจัย
8.      การเขียนปัญหาการวิจัย


วิธีการสอน   บรรยาย/ ถาม-ตอบ
สื่อการสอน  สื่อประกอบการสอน  ใบความรู้  แบบฝึกหัด  ใบงาน  แบบทดสอบ เกม
การประเมินผล  คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อน/ หลังเรียน  แบบประเมินผลใบงาน
                          แบบฝึกหัดวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน







ชุดการสอนเรื่อง
การกำหนดปัญหา  และการเลือกหัวข้อ


สาระสำคัญ
                กระบวนการวิจัยตลาดต้องมีกระบวนการปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอน  และต้องพยายามให้เกิดความเป็นศาสตร์ (Science) ให้มากที่สุด  เพื่อให้ผลของการทำวิจัยตลาดมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ  และผู้บริหารสามารถนำผลการทำวิจัยไปช่วยตัดสินใจในการแก้ปัญหาทางการตลาดของกิจการ  กระบวนการวิจัยตลาดเป็นเรื่องของการจัดระเบียบ (Order)  ขั้นตอนการทำงาน (Procedure)  เกี่ยวกับการแสวงหาข้อมูล  การเก็บรวมรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  และการให้ความหมายของข้อมูลอย่างมีระเบียบแบบแผน
                การกำหนดปัญหาในการทำวิจัย  เป็นขั้นตอนแรกสุดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำวิจัยตลาด  เพราะถ้าผู้วิจัยไม่สามารถระบุปัญหาในขั้นตอนแรกได้อย่างชัดเจนแล้ว  ขั้นตอนต่อ ๆ ไปก็อาจจะเกิดความผิดพลาดทำให้การวิจัยนั้นไม่ได้ผลที่น่าเชื่อถือได้  การระบุปัญหาที่ชัดเจนจะมีประโยชน์อย่างมาก  เพราะสามารถช่วยให้ผู้วิจัยทราบถึงประเภทหรือลักษณะข้อมูลที่ต้องการ
จุดประสงค์ทั่วไป
1.       เข้าใจที่มาของปัญหาในการทำวิจัยตลาด
2.       เข้าใจหลักการเลือกหัวข้อในการวิจัย
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.       บอกลำดับขั้นตอนของกระบวนการวิจัยตลาดได้
2.       บอกรูปแบบปัญหาในการวิจัยตลาดได้
3.       อธิบายลักษณะของปัญหาและหัวข้อการวิจัยตลาดได้
4.       จำแนกประเภทของหัวข้อการวิจัยได้
5.       เขียนปัญหาในการวิจัยได้
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.       ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2.       ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำถามนำการอภิปรายกับผู้เรียน  ตัวอย่างคำถาม เช่น
-          เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจหากเกิดปัญหาการตลาดคืออะไรบ้าง
-          ปัจจุบันมีสินค้าที่ผู้เรียนรู้จักสิ่งไหน ที่ประสบปัญหาการตลาดบ้าง
3.       ผู้สอนให้เนื้อหาโดยใช้สื่อการสอนประกอบการบรรยายและอภิปรายเนื้อหาร่วมกับผู้เรียน  เพื่อให้ได้สาระของการเรียนรู้เรื่อง
-          ความหมายของการวิจัยตลาด
-          ขั้นตอนของกระบวนการวิจัย
-          การกำหนดปัญหาในการวิจัย
-          ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการวิจัยและปัญหาการตัดสินใจ
-          มิติของการสร้างปัญหาในการวิจัย
-          การประเมินสถานการณ์ในการทำการวิจัยตลาด
-          การเลือกหัวข้อในการวิจัย
-          การเขียนปัญหาการวิจัย
4.       ผู้สอนกับผู้เรียนร่วมกันอภิปรายสรุป  ซักถามข้อสงสัย
5.       ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติตามใบงานเรื่องการกำหนดและเลือกหัวข้อ   จากนั้นผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันเฉลย  ตรวจคำตอบเพื่อประเมินผลการเรียน

สื่อการสอน
1.       แบบทดสอบก่อนเรียน  วิชาการตลาด หน่วยที่  กระบวนการวิจัย
2.       ใบความรู้ที่  1  การกำหนดปัญหา  และการเลือกหัวข้อ
3.       สื่อประกอบการสอน  การกำหนดปัญหา  และการเลือกหัวข้อ
4.       แบบฝึกหัดการกำหนดปัญหา  และการเลือกหัวข้อ
5.       ใบงานที่    1  การกำหนดปัญหา  และการเลือกหัวข้อ
การประเมินผล
1.       คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2.       คะแนนจากการทำฝึกหัด
3.       คะแนนจากการประเมินผลใบงาน



แบบทดสอบก่อนเรียน

คำชี้แจง                 1. แบบทดสอบฉบับนี้เป็นชนิดเลือกตอบ  ตัวเลือก ข้อคำถามทั้งหมด  5    ข้อ 
                                 ให้ผู้เรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว  โดย
                                 ทำเครื่องหมาย (X)    คำตอบที่ต้องการลงในกระดาษคำตอบ
              2. ผู้เรียนมีเวลาทำข้อสอบ   5   นาที
…………………………………………………………………………………………………..
1.       ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการวิจัยตลาด 
ก.       กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
ข.       กำหนดปัญหาและเลือกหัวข้อการวิจัย
ค.       กระบวนการวิจัยตลาด
ง.       ขั้นตอนการเก็บข้อมูล
2.       ปัญหาการวิจัยตลาดมีลักษณะตรงกับข้อใด
ก.       การประเมินประสิทธิผลรูปแบบบรรจุภัณฑ์
ข.       การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าใหม่
ค.       การนำสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด
ง.       การเพิ่มการสัญจรในร้านค้า
3.       การกำหนดปัญหาการวิจัยตลาดแบบบอกเล่า ควรเขียนลักษณะใด
ก.       การเพิ่มเส้นทางสัญจรในร้าน
ข.       การพัฒนาช่องทางการจำหน่วยสินค้า
ค.       การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบบรรจุภัณฑ์
ง.       เปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของพนักงานขาย
4.       สิ่งต่อไปนี้ข้อใดคือ  ข้อกำหนดของการวิจัยตลาด
ก.      ความถูกต้อง
ข.      รัฐบาล
ค.      บริษัทวิจัย
ง.      คู่แข่งขัน



5.       อุปสรรคสำคัญของการวิจัยตลาดและเป็นปัญหามากสำหรับการวิจัยในประเทศไทย คืออะไร
ก.      ขาดแคลนนักวิจัยด้านการตลาด
ข.      ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล
ค.      ขาดแคลนเงินทุน  และการเสียดายค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการวิจัย
ง.      ขาดแคลนผู้บริหารการตลาดที่ดี
    


เฉลยแบบทดสอบ

ข้อ
1
2
3
4
5
คำตอบ


ใบความรู้  ที่ 1
การกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ

1.  ความหมายของกระบวนการวิจัยตลาด
                กระบวนการวิจัยตลาดเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์และระเบียบแบบแผน  ผู้บริหารสามารถใช้ผลกของการวิจัยมาช่วยประกอบการตัดสินใจอย่างมีหลักการมากขึ้น  นอกเหนือจากประสบการณ์ในอดีต  และการใช้สามัญสำนึก( Judgment) อย่างที่เคยกระทำ  ในการรวบรวม  บันทึก  และวิเคราะห์ข้อมูลให้มีความเชื่อถือได้และถูกต้องนั้น  ผู้วิจัยต้องดำเนินการต่าง ๆ อย่างมีระบบ ( Systematic) มีระเบียบ (Oderและมีการวางแผนต่าง ๆ ล่วงหน้าอย่างรอบคอบ  ผู้วิจัยต้องทำงานอย่างไม่มีอคติ หรือลำเอียงเพื่อให้ผลของการวิจัยมีความถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้ 
                จุดมุ่งหมายพื้นฐานของการวิจัยตลาดคือ  การช่วยให้ผู้บริหารการตลาดสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาการตลาดที่ตนรับผิดชอบ  โดยลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงในการตัดสินใจลง  คุณสมบัติสำคัญของผู้วิจัยที่ดีก็คือ  จะต้องเป็นผู้สามารถมองออกว่าปัญหาของการตลาดที่กำลังทำวิจัยอยู่นั้น  ข้อมูลอะไรจะเป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้การวางแผนการตลาดในอนาคตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ผู้วิจัยจะต้องสามารถวางรูปแบบหรือวิธีการเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการตัดสินใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
                ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้นั้น  ควรมีลักษณะครบสามประการดังนี้
1.       ข้อมูลนั้นต้องทันสมัย  ทันต่อเหตุการณ์  ข้อมูลที่ล้าสมัยจะไม่มีประโยชน์ต่อการนำมาใช้ช่วยในการตัดสินใจแต่อย่างใด
2.       ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเพียงพอต่อการตัดสินใจ  ข้อมูลทีไม่สมบูรณ์  ย่อมให้ประโยชน์ไม่เต็มที่ต่อการวิเคราะห์  และอาจทำให้แปลความหมายผิดพลาด  และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการตัดสินใจในที่สุด
3.       ข้อมูลที่ได้รับมาจะต้องเกี่ยวข้องกับปัญหา  นั้น ๆ ที่ต้องตัดสินใจ  ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องตัดสินในจะไม่มีประโยชน์  แต่อย่างใดในการวิเคราะห์  และสรุปผล
ลำดับหรือขั้นตอนในกระบวนการวิจัยมีหลายขึ้นตอนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทและขอบเขตของการวิจัยแต่ละเรื่องนั้นๆ และในแต่ละขั้นตอนต้องมีวิธีหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับรายละเอียดของขั้นตอนนั้นอย่างชัดเจน  ถูกต้องรัดกุม และต้องพยายามทำให้เกิดความเป็นศาสตร์(Science)  มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัยมีความถูกต้องน่าเชื่อถือสูงสุด   ผู้บริหารสามารถนำผลการวิจัยไปช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาทางการตลาดได้  
1.       ขั้นตอนของกระบวนการวิจัย

กำหนดปัญหาและเลือกหัวข้อ
 

                       ทบทวนวรรณกรรม  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

        กำหนดตัวแปรและสมมติฐาน

     ออกแบบการวิจัย

กำหนดวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

 สร้างเครื่องมือจัดเก็บข้อมูล

                                  วิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมาย

             กำหนดปัญหาและเลือกหัวข้อ

   เขียนรายงานการวิจัย

3.  การกำหนดปัญหาในการวิจัย
                การกำหนดปัญหาในการทำวิจัย  เป็นขั้นตอนแรกสุดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำวิจัยตลาด  เพราะถ้าผู้วิจัยไม่สามารถระบุปัญหาในขั้นตอนแรกได้อย่างชัดเจนแล้ว  ขั้นตอนตอ ๆ ไปก็อาจจะเกิดความผิดพลาดทำให้การวิจัยนั้นไม่ได้ผลที่น่าเชื่อถือได้  การระบุปัญหาที่ชัดเจนจะมีประโยชน์อย่างมาก  เพราะสามารถช่วยให้ผู้วิจัยทราบถึงประเภทหรือลักษณะข้อมูลที่ต้องการ รวมทั้งแหล่งข้อมูลและวิธีการเก็บข้อมูล  เนื่องจากข้อมูลที่ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น  คือหัวใจที่สำคัญยิ่งของความน่าเชื่อถือในการทำวิจัยเรื่องนั้น ๆ ดังนั้นการกำหนดปัญหาที่ชัดเจนจึงเป็นขั้นตอนสำคัญเบื้องต้นของกระบวนการวิจัยตลาด  ปัญหาในการทำวิจัยตลาดโดยทั่วไปมีที่มาอยู่ ประการคือ 
1.  การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน  (Unanticipated  Change)
2.  การเปลี่ยนแปลงที่ได้วางแผนไว้แล้ว   (Planned  Change)
3.  การมีความคิดหรือนวัตกรรมใหม่  (New  Ideas or  Innovation)
ที่มาของปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน  (Unanticipated  Change)  ส่วนมากมักจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางการตลาดภายนอก ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ  ตัวอย่างเช่น 
1)      การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  ได้แก่ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้แทนแรงงานคน  เป็นต้น
2)      การเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจและสังคม  ได้แก่  เกิดสภาพตกงานมากขึ้น  เศรษฐกิจตกต่ำ  ภาวะเงินฝืด  เป็นต้น
3)      การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือข้อบังคับของรัฐบาล  ได้แก่  ห้ามนำสินค้าบางชนิด เช่นบุหรี่ เหล้าวางจำหน่ายในที่เปิดเผย  
4)      การเปลี่ยนแปลงรสนิยมหรือความชอบของผู้บริโภค  ได้แก่   การดาวโหลดเพลงจากอินเตอร์เน็ทแทนการซื้อแผ่นชีดีเพลง  การติดต่อสื่อสารหรือพูดคุย ทางอินเตอร์เน็ทแทนทางจดหมาย   การใช้บัตรเครดิตแทนเงินสด การใช้กล้องดิจิตอลแทนการใช้ฟิล์ม  เป็นต้น
            เมื่อปัญหาเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนนี้  ผู้วิจัยตลาดควรตั้งคำถามดังนี้  เกิดอะไรขึ้น   ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น   มีผลกระทบต่อสิ่งใด  อย่างไรกับการดำเนินธุรกิจ  แล้วธุรกิจจะต้องปรับปรุงอย่างไรบ้าง  ซึ่งการวิจัยตลาดจะมีบทบาทสำคัญในการตอบคำถามเหล่านี้
ในกรณีที่ ปัญหาทางการตลาดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ได้วางแผนไว้แล้ว   (Planned  Change)  เป็นปัญหาที่เกิดจากการกำหนดนโยบาย  เป้าหมาย  การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าใหม่  เป็นต้น เมื่อปัญหาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้วิจัยตลาดควรตั้งคำถามดังนี้   ธุรกิจจะดำเนินกลยุทธ์กำหนดราคาอย่างไร  ปรับปรุงช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอย่างไร ตลอดจนกำหนดกลยุทธ์การโฆษณา และส่งเสริมการขายอย่างไร  บทบทของการวิจัยตลาดจะชวยแสวงหาทางเลือกหรือกลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรสำหรับการแก้ปัญหานั้น ๆ
สำหรับที่มาสุดท้ายของปัญหาคือ ปัญหาที่เกิดจากการมีความคิดหรือนวัตกรรมใหม่  (New  Ideas or  Innovation)  เป็นการคิดค้นสิ่งใหม่จากบุคคลต่างๆ  เช่น พนักงานขาย ลูกค้า พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก หรือพนักงานภายในบริษัทเอง   เพราะความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เหล่านี้อาจเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกำหนดกลยุทธ์การตลาดแบบใหม่ได้
4.  ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการวิจัยและปัญหาการตัดสินใจ  
ปัญหาในการทำวิจัย   (Research  Problem)  หมายถึง ปัญหาในการตัดสินใจที่ถูกเรียบเรียง ให้อยู่ในรูปแบบคำถามเพื่อการวิจัย  ยกตัวอย่าง เช่น  บริษัท เอบี นำสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด  ปรากฏว่ายอดขายต่ำมากกว่าที่คาด   ปัญหาในการตัดสินใจ (Decision  Problem)  คือทำอย่างไรจึงจะได้ยอดขายตามเป้า  ซึ่งผู้บริหารทั่วไปที่ไม่ได้ทำวิจัยส่วนใหญ่จะใช้วิธีปรับเป้าให้ต่ำลงหรือปรับปรุงส่วนผสมทางการตลาด    แต่ถ้าเป็นผู้วิจัยตลาดต้องมีความสงสัยเรื่อง การโฆษณาสินค้าตัวใหม่ไม่มีประสิทธิผลในการจูงใจผู้บริโภค  ซึ่งความสงสัยนี้ก่อให้เกิดปัญหาการวิจัย คือ การวัดประสิทธิผลของการโฆษณาสินค้าที่มีต่อการรับรู้ของผู้บริโภค   ดังนั้นเพื่อให้การวิจัยมีความผิดพลาดน้อยที่สุด  ชัดเจน ผู้วิจัยต้องรู้จักปัญหาในการวิจัย และปัญหาในการตัดสินใจ  จึงขอยกตัวอย่างความสัมพันธ์ของปัญหาทั้งสองดังตารางต่อไปนี้

ปัญหาในการตัดสินใจ
ปัญหาในการวิจัย
1.  การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าใหม่

2.  การนำสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด

3.  การเพิ่มการสัญจรในร้านค้า
1.  การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบบรรจุภัณฑ์
2.  การประเมินการยอมรับสินค้าใหม่ของผู้บริโภคโดยการทดสอบตลาด
3.  การวัดภาพลักษณ์ของร้านค้า

5มิติของการสร้างปัญหาในการวิจัย
                การตั้งหรือการสร้างปัญหาในการวิจัยเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญของการวิจัยทางศาสตร์  หรือการวิจัยที่เป็นระบบ  เป็นขั้นของการตัดสินใจที่สำคัญที่สุด  กิจกรรมทั้งหลายที่จะบังเกิดขึ้นในขั้นต่อ ๆ ไป  จะมีผลสืบเนื่องมาจากการตั้งปัญหา  ด้วยเหตุนี้  ผู้วิจัยพึงตั้งปัญหาด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบและระมัดระวัง  อย่างน้อยพึงพิจารณาถึงความเหมาะสมหรือความสำคัญของปัญหาจากเกณฑ์  ประการต่อไปนี้  คือ  เด่นชัด  (explicit)  ชัดเจน  (clear)  เป็นต้นคิด  (original)  ทดสอบได้  (testable)  สำคัญทางทฤษฎี     (theoretical  significance)  และเกี่ยวข้องกับความเป็นจริง  (secial  relerance) 
                ความเด่นชัด
                การตั้งปัญหาให้เด่นชัด  ต้องทำให้เป็นปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้น  ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาอันนานัปการ  เช่น  ทำให้ขาดจุดหมายที่แน่นอน  เปลืองเงินเปลืองเวลา  เป็นต้น  การระบุปัญหาให้เห็นได้อย่างเด่นชัด  หมายถึง  การที่เป้าหมายในการวิจัยที่เด่นชัดด้วย  นั่นคือ  ผู้วิจัยพึงรู้ว่าตัวเองอยู่ที่จุดใด  และกำลังก้าวไปทางไหน  สามารถแยกแยะแก่นและเปลือกออกจากกันได้  เมื่อทดสอบแล้วได้ผลที่เป็นแบบข้าง ๆ คู ๆ ก็จะได้รู้ว่าไม่ตรงกับประเด็นที่ทำการวิจัย  จะได้หวนกลับไปศึกษาใหม่ได้ทันท่วงที  และเมื่อบรรลุถึงเป้าแล้วจะได้รู้ตัว  จะได้ยุติปัญหานั้นและทำการศึกษาปัญหาใหม่ที่หยั่งลึกลงไปกว่านั้นได้
               
ความชัดเจน
                คำถามที่ชัดเจนเป็นบ่อเกิดของการได้คำตอบที่เด่นชัด  การเขียนปัญหาให้ชัดเจนเป็นเรื่องค่อนข้างยากแต่ก็มีทางฝึกฝนได้  เรียนรู้ได้  ผู้วิจัยพึงระบุปัญหาในการวิจัยไว้ด้วยภาษาที่ชัดเจน  ไม่กำกวม  คลุมเครือ  ทุกคนต้องมีความรู้ในระดับเดียวกัน  ต้องสื่อความหมายได้อย่างเดียวกัน  และเป็นที่เข้าใจกันได้ระหว่างนักวิชาการด้วยกัน  (แม้จะมีพื้นความรู้หรือความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปก็ตาม  ทั้งนี้เพราะความรู้เป็นสิ่งสากลกล่าวโดยสรุปแล้วปัญหาที่มีความชัดเจนคือปัญหาที่ง่าย  และระบุขอบเขตไว้เฉพาะตายตัว  ถ้าเป็นคำถามที่ซับซ้อนก็ต้องสามารถแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่ให้ความหมายอย่างเฉพาะเจาะจงและชัดเจนได้
                เป็นต้นคิด
                ลักษณะปัญหาที่เหมาะแก่การวิจัยอีกประการหนึ่ง  คือ  ต้องเป็นปัญหาใหม่  ไม่ซ้ำกับปัญหาอื่น ๆ ที่มีคนทำการศึกษาวิจัยไว้แล้ว  อย่างก็ตาม  ปัญหาที่จะเป็นต้นคิด  (original)  หรือไม่นั้น  เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะคลุมเครือและมีปัญหาในการตีความอยู่มาก  ว่าเป็นต้นคิดหรือเป็นปัญหาใหม่จริงหรือไม่  ในบางครั้งผู้วิจัยทำการวิจัยโดยใช้ปัญหาเก่า  แต่ใช้แนวทางศึกษา  (approach)  หรือเทคนิควิจัยแบบใหม่มาใช้ในการศึกษา  เพื่อตรวจสอบข้อสรุปหรือทฤษฎีเก่า ๆ ว่าจะได้ข้อสรุปตรงกันหรือไม่  ก็มีอยู่เป็นอันมาก
                การให้ความสำคัญแก่ปัญหาที่เป็นต้นคิด  เช่น  อ้างถึงว่าใครเคยทำการหยิบยกปัญหาหรือแง่มุมนั้น ๆ มาทำการศึกษาบ้างแล้วนั้นเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ริเริ่ม  และผู้สืบต่อที่ทำการศึกษาปัญหานั้นให้ลึกซึ้งลงไปเป็นชั้น ๆ จนถึงระดับที่รู้จักกันในปัจจุบัน  ในการวิจัยผู้วิจัยต้องคิดปัญหาขึ้นมาเอง  ถ้าปัญหานั้นมีคนศึกษาแล้วก็ควรที่จะได้รับรู้ต้นตอที่มา  และรายละเอียดว่ามีใครศึกษาบ้างแล้ว  ในส่วนไหนบ้าง  ได้ผลอย่างไร  เพื่อที่เราจะได้เริ่มศึกษาจากจุดใด  เป็นต้น  รายละเอียดดังกล่าว  อาจทราบได้จากการสำรวจวรรณกรรม  หรือบทวิจัยที่เกี่ยวข้อง  (review  of  relate  literature)
                ทดสอบได้           
                ปัญหาทางศาสตร์ต้องเป็นปัญหาที่สามารถทดสอบ  หรือตอบได้ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์  ปัญหาที่ไม่สามารถหาหลักฐานเชิงประจักษ์มาประกอบได้  ไม่เรียกว่าเป็นปัญหาทางศาสตร์  อาจจะเป็นปัญหาทางเทววิทยา  จริยศาสตร์  หรือปรัชญาก็ได้  ปัญหาดังกล่าวนี้ไม่สามารถทดสอบได้ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์  เช่น  ถ้าถามว่า  รัฐสภาแบบใดดีที่สุด ”  ปัญหานี้ไม่สามารถตอบได้โดยใช้ประสบการณ์จริงหรือหลักฐานเชิงประจักษ์  ความดีความชั่วเป็นการตัดสินโดยค่านิยม  เป็นปัญหาทางจริยศาสตร์  แม้จะหาหลักฐานบางอย่างที่เกี่ยวข้องมาประกอบได้  แต่ก็ต้องอาศัยการตัดสินค่านิยมเป็นเกณฑ์อยู่นั่นเอง  ปัญหาเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นปัญหาของศาสตร์
                สำคัญทางทฤษฎี
                ปัญหาที่เหมาะสมสำหรับนำมาวิจัยต้องเป็นปัญหาที่สามารถช่วยเสริมสร้าง  พัฒนาความรู้ให้งอกงามยิ่งขึ้นได้  ถ้าปัญหานั้นสัมพันธ์กับข้อสรุปทั่วไป  หรือทฤษฎีเรียกว่า  ปัญหานั้นมี  ความสำคัญทางทฤษฎี ”  ถ้าไม่สัมพันธ์กับทฤษฎีใด ๆ เลยเรียกว่า  ปัญหาที่ไร้ทฤษฎี  (a theoretical) ”  ซึ่งขาดความสำคัญในทางวิชาการ
                เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงของสังคม
                ดังได้กล่าวแล้วว่า  จุดมุ่งหมายสูงสุดของการตอบปัญหา  คือ  การอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ  การเมือง  และสังคม  การอธิบายและทำนายไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายนัก  ผลจากการอธิบายและทำนายหมายถึงการที่คนเราสามารถควบคุมหรือกำหนดสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราได้  เช่น  ถ้าเราอธิบายได้ว่าเหตุใดฟ้าจึงผ่า  เราอาจสร้างสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าผ่าได้  แต่ถึงกระนั้นก็ดี  การที่จะกำหนด  (ทำนายว่า  ฟ้าจะผ่าเมื่อเวลาเท่าไรนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก  ทำนองเดียวกับทางการเมืองเราอาจอธิบายได้ว่า  ทำไมจึงเกิดรัฐประหาร  แต่การที่จะกำหนดว่ารัฐประหารจะเกิดขึ้นเมื่อไรนั้น  กำหนดค่อนข้างยากมากเช่นเดียวกัน  อย่างไรก็ตาม  ถ้าเรารู้ว่าปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุใดแล้ว  เราอาจจัดแจงปัจจัยเหล่านั้นเพื่อให้เกิดสิ่งที่พึงประจักษ์ขึ้นมาได้  ดังที่ทางเศรษฐศาสตร์มีทฤษฎีเกี่ยวกับเงินฝืด  เงินเฟ้อ  ก็พยายามใช้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเงินฝืด  เงินเฟ้อ  ของประเทศ  เป็นต้น
6.  การประเมินสถานการณ์ในการทำการวิจัยตลาด
      ก่อนเริ่มทำการวิจัยนั้น  ผู้วิจัยตลาดจำเป็นต้องพิจารณาว่าเป็นสถานการณ์อันควรแก่การทำการวิจัยตลาดหรือไม่  เพราะบางสถานการณ์สามารถตัดสินใจได้ด้วยข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ หรือไม่สามารถนำมาทำการวิจัยได้
1.   ตัวอย่างสถานการณ์อันควรแก่การทำการวิจัยตลาด
1.1   สถานการณ์ที่ขาดสารสนเทศอันจำเป็นต่อการพิจารณาตัดสินใจ
1.2   สถานการณ์ทีต้องประเมินทางเลือกและไม่มั่นใจว่าควรเลือกทางเลือกใด
1.3  สถานการณ์ที่มีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบาย วัตถุประสงค์ หรือกลยุทธ์เกิดขึ้นในบริษัท
1.4  สถานการณ์ที่ตรวจพบอาการของปัญหา เช่น ส่วนครองตลาดลดลง เป็นต้น
1.5  สถานการณ์ที่อยากทราบสาเหตุแห่งความสำเร็จของแผนการตลาดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้
1.6  สถานการณ์ที่จะทำสิ่งใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ใหม่ ปรับราคาใหม่ เจาะตลาดใหม่ เป็นต้น
2.   ตัวอย่างสถานการณ์ที่ไม่ควรทำการวิจัยตลาด
2.1   สถานการณ์ที่ทราบสิ่งที่ต้องการแล้วโดยไม่ต้องอาศัยการวิจัยตลาด
2.2   สถานการณ์ที่มีสารสนเทศที่ต้องการครบถ้วนแล้ว
2.3   สถานการณ์ที่มีเวลาจำกัด
2.4   สถานการณ์ที่หากทำการวิจัยตลาดแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อคู่แข่งขันมากกว่า
2.5   สถานการณ์ที่ทำการวิจัยด้วยการทดสอบแล้วก็ยังไม่สามารถทำนายอนาคตได้
2.6   สถานการณ์ที่ต้นทุนการวิจัยตลาดสูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ
2.7   สถานการณ์ที่มีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการทำการวิจัยตลาดให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์
2.8   สถานการณ์ที่ผลการวิจัยตลาดไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่
2.9   สถานการณ์ที่ปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาดยังไม่ชัดเจน
2.10 สถานการณ์ที่การวิจัยตลาดนั้นไม่มีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิควิธีวิจัย
เมื่อผู้วิจัยตลาดกับนักบริหารการตลาดเห็นพ้องต้องกันในเรื่องของสารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้ได้แล้ว ย่อมไม่เป็นการยากที่จะกำหนดหัวข้อเรื่องหรือปัญหาการวิจัยตลาด กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาด กำหนดข้อมูลที่จะต้องออกไปจัดเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ ฯลฯ ตามขั้นตอนอื่นๆ ของกระบวนการวิจัยตลาดต่อไป

7.  การเลือกหัวข้อในการทำวิจัย
การเลือกหัวข้อหรือซื่อเรื่องในการทำวิจัยมีความยุ่งยากสำหรับผู้วิจัยใหม่ ๆมากพอสมควร เนื่องจากไม่ทราบว่าจะวิจัยอะไร หรือบางครั้งตั้งซื่อเรื่องมาโดยไม่คำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ   จึงมีหลักในการเลือกหัวเรื่องที่จะทำการวิจัยโดยทั่วไป ดังต่อไปนี้
1.       หัวเรื่องต้องกะทัดรัด ไม่สั้นหรือยาวเกินไป  และสื่อความหมายในประเด็นที่จะวิจัยได้
2.       ควรคิดหัวเรื่องแคบ ๆ  แต่ก็ไม่แคบจนอ่านแล้วมีความรู้สึกไร้คุณค่าไม่มีประโยชน์
3.       หัวเรื่องที่ดีจะต้องประกอบด้วยตัวแปรอย่างน้อยสองตัวที่แสดงความสัมพันธ์กัน  แลt
สามารถทดสอบได้
4.       ควรเลือกหัวเรื่องที่ตนเองมีความสามารถ  ความถนัด  ความสนใจและอยู่ในสาขาวิชา
ของตนเองก่อนเป็นอันดับแรก
5.       หัวเรื่องจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เช่น ออกแบบการวิจัย การเก็บ
ข้อมูล และการวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูลจะต้องทำได้สมบรูณ์
6.       คำนึงถึงเวลา แรงงาน และงบประมาณในการวิจัย
7.       หัวเรื่องจะต้องมีประโยชน์และตอบสนองความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นการ
เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ
8.       หัวเรื่องจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับเรื่องที่คนอื่นทำไว้แล้ว

8.  การเขียนหัวข้อการวิจัย

รูปแบบการเขียนหัวข้อการวิจัย  แบ่งออกได้  แบบ  คือ
1.       เขียนเป็นแบบคำถาม
2.       เขียนเป็นแบบบอกเล่า
3.       เขียนเป็นประโยคบอกเล่าแล้วตามด้วยประโยคคำถาม
4.       เขียนเป็นแบบสมมติฐาน

หัวข้อการวิจัยในรูปแบบคำถาม
เป็นการเสนอปัญหาในรูปของประโยคคำถาม  ซึ่งแบ่งได้เป็น  ลักษณะ  คือ
1.  เขียนเป็นประโยคคำถามเดียว  คือ  ใช้คำถามเดียวตั้งเป็นหัวข้อ  เช่น  พนักงานชายและพนักงานหญิงมีความสามารถในการทำงานแตกต่างกันหรือไม่เพียงใด
                2.  เขียนเป็นหลายประโยคคำถาม  คือ  การแตกประโยคคำถามเดียวออกเป็นประโยคคำถามย่อย  จากตัวอย่างข้อ  1.1  สามารถแตกประโยคคำถามได้ดังนี้
ก.       พนักงานชายมีความสามารถในการทำงานเพียงใด
ข.       พนักงานหญิงมีความสามารถในการทำงานเพียงใด
ค.       พนักงานชายและพนักงานหญิงมีความสามารถในการทำงานแตกต่างกัน
หรือไม่
3.  เขียนเป็นแบบประโยคคำถามหลัก  แล้วตามด้วยประโยคคำถามย่อย  เช่น  จากตัวอย่างข้างต้น  อาจเขียนได้ดังนีพนักงานมีความสามารถในการทำงานเพียงใด
หัวข้อการวิจัยในรูปแบบบอกเล่า
เป็นการเสนอหัวข้อในรูปของประโยคบอกเล่า  แบ่งได้เป็น  ลักษณะ  คือ
1.  เขียนเป็นประโยคบอกเล่าเดียว เช่น  เปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของพนักงาน
2.  เขียนเป็นประโยคบอกเล่าเดียว  แต่มีหลายตอน      เช่น  อาจเขียนว่า  เปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของพนักงานระหว่าง
ก.       พนักงานและพนักงานหญิง
ข.       พนักงานที่มีอายุมากกว่า  35  ปี  กับพนักงานที่มีอายุต่ำกว่า  35  ปี
ค.       พนักงานในสาขาต่างจังหวัด  กับ  พนักงานในสำนักงานใหญ่
                3.  เขียนเป็นประโยคบอกเล่าหลาย ๆ ประโยค  เช่น
ก.       เปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของพนักงานชายกับพนักงานหญิง
ข.       เปรียบความสามารถในการทำงานของพนักงานที่อายุมากกว่า  35  ปี  กับพนักงานที่มีอายุต่ำกว่า  35  ปี
ค.       เปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของพนักงานในสาขาต่างจังหวัด  กับพนักงานในสำนักงานใหญ่
4.  เขียนเป็นประโยคบอกเล่าหลัก  แล้วตามด้วยประโยคบอกเล่าย่อย ๆ  เช่น
ก.       เปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของพนักงาน  ระหว่างพนักงานชายกับพนักงานหญิง
ข.       เปรียบเทียบความสามารถในการทำงาน  ระหว่างพนักงานที่มีอายุมากกว่า35ปี  กับพนักงานที่มีอายุต่ำกว่า  35  ปี
ค.       เปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของพนักงาน  ระหว่างพนักงานในสาขาต่างจังหวัดกับพนักงานในสำนักงานใหญ่

หัวข้อการวิจัยในรูปประโยคบอกเล่าแล้วตามด้วยประโยคคำถาม
เช่น  เปรียบความสามารถในการทำงานของพนักงาน
ก.       พนักงานชายกับพนักงานหญิงมีความสามารถในการทำงานแตกต่างกันหรือไม่
ข.       พนักงานที่มีอายุมากกว่า  35  ปี  กับ  พนักงานที่มีอายุต่ำกว่า  35  ปี  มีความสามารถในการทำงานแตกต่างกันหรือไม่
ค.       พนักงานในสาขาต่างจังหวัดกับพนักงานในสำนักงานใหญ่  มีความสามารถในการทำงานแตกต่างกันหรือไม่



เขียนเป็นแบบสมมติฐานไร้นัยสำคัญ 
อาจเขียนเป็นแบบสมมติฐานเดียวหรือหลายสมมติฐานก็ได้  โดยวิธีเขียนเป็นประโยคบอกเล่าที่ได้ความชัดเจน  มีใจความเดียว  เช่น
ก.       พนักงานชายกับพนักงานหญิงมีความสามารถในการทำงานไม่แตกต่างกัน
ข.       พนักงานที่อายุมากกว่า  35  ปี  มีความสามารถในการทำงานเท่ากับพนักงานที่มีอายุน้อยกว่า  35  ปี
ค.       พนักงานชายในสาขาต่างจังหวัดกับพนักงานในสำนักงานใหญ่มีความสามารถในการทำงานเหมือนกัน

ตัวอย่างการกำหนดหัวข้อการวิจัย  
              ในการตั้งชื่อเรื่องการวิจัยตลาดนั้นต้องขึ้นอยู่กับปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ  และคำถามที่ผู้วิจัยสงสัย ต่อไปนี้เป็นการยกตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจ  มีดังนี้
ตัวอย่างที่ 
                ปัญหาการวิจัย      =             ไม่มีรถยนต์ขับขึ้นภูชี้ฟ้า
                คำถามวิจัย             =             มีรถสองแถวขึ้นกูชี้ฟ้าหรือไม่
                หัวข้อที่สนใจ       =             ศึกษาการขึ้นภูชี้ฟ้าโดยรถสองแถว
จากตัวอย่างที่ จะสังเกตได้ว่า ผู้วิจัยใช้ประเด็นคำถามที่รถสองแถวจึงกำหนดหัวข้อเรื่องที่รถสองแถว  แต่ถ้าใช้ประเด็นคำถามว่ามีรถตู้หรือไม่ หัวข้อการวิจัยก็จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน    ทดลองฝึกสังเกตตัวอย่างอื่นต่อไป
ตัวอย่างที่ 
                ปัญหาการวิจัย      =             ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโฟมพลาสติกย่อยสลายยาก
                คำถามวิจัย             =             ถ้านำใบสับปะรดมาทำเป็นภาชนะบรรจุภัณฑ์จะทำได้
หรือไม่
                หัวข้อที่สนใจ       =             ศึกษาการทำบรรจุภัณฑ์จากใบสับปะรด
ตัวอย่างที่ 
ปัญหาการวิจัย      =             มีการกีดกันการส่งทุเรียนไปจำหน่ายต่างประเทศ
                คำถามวิจัย             =             สภาพและปัญหาการปลูกทุเรียนจำหน่ายต่างประเทศ
                หัวข้อที่สนใจ       =             วิเคราะห์สภาพและปัญหาการปลูก
                                                       ทุเรียนจำหน่ายต่างประเทศ

ตัวอย่างที่ 
ปัญหาการวิจัย      =             โรงงานเดิมมีกำลังการผลิตสินค้าไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการ
                คำถามวิจัย             =             มีความจำเป็นที่ต้องสร้างโรงงานแห่ง                      
                                                      ใหม่เพื่อการผลิตสินค้าหรือไม่
                หัวข้อที่สนใจ
แบบฝึกหัด
การกำหนดปัญหา  และการเลือกหัวข้อ



คำชี้แจง    จงพิจารณาตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดเพียงตัวเลือกเดียว 


1.       แนวทางในการเลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย ควรคำนึงถึงข้อใด
ก.       มีความอยากรู้อยากเห็นในเชิงวิชาการอย่างเดียว
ข.       สนองความต้องการของบุคคลเท่านั้น
ค.       ใช้เวลาและมีเงินเพียงพอที่จะทำการวิจัยในปัญหานั้น
ง.       เลือกปัญหาที่ต้องการออกมาก่อน
2.       หลักเกณฑ์ในการตั้งซื่อเรื่องการวิจัยตรงกับข้อใด
ก.        ตั้งชื่อสั้นที่สุด
ข.       ใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย
ค.       ใช้ลักษณะของคำกิริยานำหน้าซื่อเรื่อง
ง.       ระบุสมมติฐานการวิจัยในชื่อเรื่องด้วย
3.       ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของการเขียนคำจำกัดความของปัญหา
ก.       หลักการและเหตุผล                   
ข.       แบบสอบถาม
ค.       ความมุ่งหมาย                              
ง.       ขอบเขตของการวิจัย
4.       ข้อใดถูก
ก.       ตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง
ข.       ชื่อเรื่องต้องทราบจุดมุ่งหมาย  ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างได้
ค.       ตัวแปรต้องบอกเหตุผลที่ทำการวิจัยสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
ง.       ขอบเขตการวิจัยเป็นการเขียนโดยการคาดคะเนผลที่จะได้รับจากการทำวิจัย


5.       การกำหนดปัญหาการวิจัยข้อใดเรียงลำดับถูกต้อง
ก.       เลือกปัญหารวบรวมข้อมูล : ตั้งชื่อเรื่อง
ข.       เลือกปัญหารวบรวมข้อมูล คำจำกัดความของปัญหา
ค.       เลือกปัญหาตั้งชื่อเรื่อง คำจำกัดความของปัญหา
เลือกปัญหาคำจำกัดความของปัญหา  :  ตั้งชื่       =             วิเคราะห์การลงทุนสร้างโรงงานแห่งใหม่


เฉลยแบบฝึกหัด
การกำหนดปัญหา  และการเลือกหัวข้อ





ข้อ
1
2
3
4
5
คำตอบ


ระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น
ใบงาน
การกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ
ใบงานที่
1

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.       จำแนกประเภทของหัวข้อการวิจัยได้
2.       เขียนปัญหาในการวิจัยได้
สื่อการเรียน  เครื่องมือ  อุปกรณ์
1.       ใบความรู้ เรื่อง การกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ
2.       ตารางการตรวจสอบความเฉพาะเจาะจง  และความมีขอบเขตของปัญหา
ลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน
1.       แต่ละกลุ่มประชุมเตรียมการสำรวจปัญหาการตลาดที่สนใจ
2.       กำหนดหัวข้อปัญหาที่สนใจโดยเรียงลำดับความสนใจจากมากไปน้อย สิบอันดับ
3.       ตรวจสอบว่าปัญหานั้นมีความเฉพาะเจาะจง  และมีขอบเขตของปัญหาที่ชัดเจน 
มากน้อยเพียงใด
4.       สรุปหัวข้อที่สามารถนำไปสู่การทำวิจัยตลาดได้ดีที่สุด

เกณฑ์การประเมินผล
             คะแนนตามแบบประเมินผลใบงาน  ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60









ระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น
ใบงาน
การกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ
แบบประเมินผล
ใบงานที่ 1

ชื่อกลุ่ม .................................................
สมาชิกลุ่ม
1. .......................................................................  2. ............................................................................
3. .......................................................................  4. ............................................................................
5. .......................................................................  6. ............................................................................


รายงานการประเมิน
คะแนน
หมายเหตุ
1.       ปฏิบัติตามแผนงานที่เสนอ
2.       ตรงเวลา
3.       การแบ่งงานของกลุ่ม
4.       ความรับผิดชอบของกลุ่ม
5.       ความกระตือรือร้นในการแสดงความคิดเห็น
6.       ความสามัคคีในกลุ่ม
7.       ความถูกต้องในการตรวจสอบปัญหา

คะแนน
ดีมาก       =    5
ดี              =    4
ปานกลาง =    3
พอใช้       =    2
ปรับปรุง   =    1
คะแนนเต็ม 35
รวมคะแนน




คิดเป็นร้อยละ  =  (คะแนนที่ได้ x 100)/คะแนนเต็ม = ................................ .







ระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น
สื่อประกอบการสอน
การกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ
แผ่นที่
1/1

การวิจัยตลาด

การวิจัยตลาดเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์
และระเบียบแบบแผน  ผู้บริหารสามารถใช้ผลกของการวิจัยมาช่วยประกอบ
การตัดสินใจอย่างมีหลักการมากขึ้น  นอกเหนือจากประสบการณ์ในอดีต 
และการใช้สามัญสำนึก( Judgment) อย่างที่เคยกระทำ 
ในการรวบรวม  บันทึก  และวิเคราะห์ข้อมูล
ให้มีความเชื่อถือได้และถูกต้องนั้น  ผู้วิจัยต้องดำเนินการต่าง ๆ
อย่างมีระบบ ( Systematic) มีระเบียบ (Oderและมีการวางแผนต่าง ๆ ล่วงหน้า
อย่างรอบคอบ  ผู้วิจัยต้องทำงานอย่างไม่มีอคติ หรือลำเอียงเพื่อให้ผลของการวิจัย
มีความถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้ 















ระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น
สื่อประกอบการสอน
การกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ
แผ่นที่
1/2

ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ 
คำบรรยายภาพแบบเส้น 1 (เส้นขอบและแถบเน้น): # ทันสมัย  ทันต่อเหตุการณ์
# เพียงพอต่อการตัดสินใจ
# เกี่ยวข้องกับปัญหา 







ที่มาของปัญหาในการทำวิจัยตลาด


คำบรรยายภาพแบบเส้น 1 (เส้นขอบและแถบเน้น): 1.การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน  
(Unanticipated  Change)
2.การเปลี่ยนแปลงที่ได้วางแผนไว้แล้ว   
(Planned  Change)
3.การมีความคิดหรือนวัตกรรมใหม่  
(New  Ideas or  Innovation)



















ระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น
สื่อประกอบการสอน
การกำหนดปัญหาและการเลือกหัวข้อ
แผ่นที่
1/3


การกำหนดปัญหาในการวิจัย




การเลือกปัญหาเพื่อทำวิจัย






การกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย