วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ใบความรู้ เรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ


ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  คือ ผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั่วไป
ความ รู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ควรศึกษา  มี  4  กลุ่ม  คือ
1.       กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร  ได้แก่ อาหารที่ต้องขออนุญาต  และไม่ต้องขออนุญาต
2.       กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง  ได้แก่   เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ  เครื่องสำอางควบคุม  และ
เครื่องสำอางทั่วไป
3.       กลุ่มผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย  ได้แก่  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนและใช้ในสำนักงาน  ซึ่ง
คณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้เป็น วัตถุอันตรายที่ต้องขอขึ้นทะเบียน  มีทั้งหมด  10  กลุ่ม  ซึ่งมีตั้งแต่ผลิตภัณฑ์กำจัดหมัด  หนู  กำจัดกลิ่น  ฆ่าเชื้อโรค  ทำความสะอาด  แก้ไขการอุดตัน  ซักผ้าขาว  ซักแห้ง  ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด  เป็นต้น
       4.  กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ยา  ประกอบด้วย  ยาสมุนไพร  และ ยาแผนโบราณ
กลุ่ม ผลิตภัณฑ์อาหาร  (Food  Product)
                อาหาร  ตามพระราชบัญญัติอาหาร  พ.ศ.  2522  ได้แก่วัตถุทุกชนิดที่คน  กิน  ดื่ม  อม  หรือนำเข้าสู่ร่างกาย  แต่ไม่รวมถึง  ยา  วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท  หรือ ยาเสพติดให้โทษ  นอกจากนี้  อาหารยังรวมถึงวัตถุ ที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร  วัตถุเจือปนอาหาร  สี  เครื่องปรุงแต่งกลิ่น   รส  ด้วย
ประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร 
                ผลิตภัณฑ์ อาหาร  แบ่งตามการขออนุญาต   แบ่งออกเป็น  2 กลุ่ม  ดังนี้
1.       กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 
แบ่งเป็น  4  กลุ่ม ย่อย  ดังนี้
                1.1  อาหารสดหรือแห้ง   ที่ผู้ผลิตผลิตขึ้นเองแล้วจำหน่าย กับผู้บริโภคโดยตรง  ณ  สถานที่
ผลิต  เช่น  ผัก  ผลไม้  เนื้อสัตว์  ที่ขายให้กับลูกค้า โดยตรง  ธัญพืช  ต่าง ๆ  เช่น  ข้าวกล้อง / ถั่ว  งาบรรจุถุง                   1.2  อาหารสำเร็จรูป  ที่ผลิตแล้วยังไม่ ได้บรรจุใส่ภาชนะ  เมื่อจะจำหน่ายให้กับผู้บริโภคจะต้องตัก แบ่งใส่ถุง  ใบตอง  เช่น  ข้าวแกง ต่าง ๆ  ขนมไทย
1.3    กลุ่มอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์  ที่ ต้องนำไปปรุงให้สุกก่อน  เช่น  แหนม  กุนเชียง
หมูยอ  ลูกชิ้น  ไส้กรอก  ไข่เค็มดิบ  ปลา แห้ง  กุ้งแห้ง  ปลาทู  ปลาทอด  ปลาดิบ
1.4    กลุ่มอาหารที่มีจุดมุ่งหมายเป็นเครื่องปรุง  เครื่องชูรส  เช่น  กะปิ  ปลา ร้า  เกลือป่น 
น้ำจิ้มที่ไม่ใส่ภาชนะบรรจุปิดสนิท  น้ำพริกแกง  พริกป่น
                2.  กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  แบ่งเป็น 2  กลุ่มย่อย  ดังนี้
2. 1    เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารพร้อม
บริโภค  ซึ่งจะ ต้องอนุญาตใช้ฉลากจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  แต่ไม่ ต้องส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์  เช่น 
                                -  กลุ่มอาหารที่ผลิตจากพืช  เช่น  ซอสจากถั่วเหลือง  ซีอิ๊ว  เต้าเจียว  น้ำจิ้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท  นำสลัด  นำ พริกปรุงรส  ผลไม้ตากแห้ง / ดอง/แช่อิ่มบรรจุภาชนะ  ขนม ไทย  ต่าง ๆ  เบเกอรี่  (ขนมปัง  คุกกี้)  ขนมอบกรอบ  ขนมขบเคี้ยว  ขนมกวน/เชื่อม
                                -  กลุ่ม อาหารผลิตจากสัตว์  เช่น  หมูแผ่น  หมู หยอง  หมูทอด  หมูทุบ  ปลากรอบปรุง รส  ปลาหมึกปรุงรส  ไข่เค็มสุก  ปลา ร้าปรุงรสพร้อมบริโภค
                                2.2  กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ที่ต้องส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์  เป็นกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ที่จะต้องส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระ ทรวงสาธารณสุข  และต้องขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร  แบ่ง เป็น  3  กลุ่ม  ดังนี้
                                                2.2.1  กลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืช  เช่น  เครื่องดื่มทั้งชนิดน้ำและผงจากผัก/ผลไม้/สมุนไพร  น้ำตาล สด  ซอสมะเขือเทศ  น้ำมันพืชต่าง ๆ  น้ำ ส้มสายชู  กาแฟคั่ว/ผงสำเร็จ/ปรุงสำเร็จ
                                                2.2.2  กลุ่มผลิตภัณฑ์จากสัตว์  เช่น  น้ำปลา  น้ำบูดู  เครื่องดื่มรังนก  ไข่เยี่ยวม้า   และผลิตภัณฑ์นม
                                                2.2.3  อื่น ๆ  เช่น  น้ำ ดื่ม  น้ำแร่  น้ำแข็ง
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Cosmetics  Product)
                เครื่องสำอาง  คือ  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์เพื่อความสะอาด และความสวยงามเท่านั้น  เช่น  ครีมบำรุงผิว  โลชั่นกันแดด  น้ำหอม  ลิปสติก  แป้ง ฝุ่น  รองพื้น  แป้งทางหน้า  ดินสอ เขียนคิ้ว  ผลิตภัณฑ์ทาแก้ม  ทาเล็บ  ล้าง เล็บ  ตกแต่งทรงผม  ระงับกลิ่นกาย  สบู่  แชมพู  ครีมนวดผม  ยาสีฟัน  น้ำยา บ้วนปาก  ผ้าเย็น  ผ้าอนามัย  เป็น ต้น
ประเภท ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
                ตามพระ ราชบัญญัติเครื่องสำอางฯ  ได้จัดแบ่งเครื่องสำอางเป็น  3  ประเภท  ตามลำดับความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย  หาก ผู้บริโภคใช้ไม่ถูกวิธี  ได้แก่ 
                1.  เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ  เป็นเครื่องสำอางที่มี ความเสี่ยงสูงหากผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางนั้นไม่ถูกวิธี  จึง ต้องมีการขึ้นทะเบียนตำรับเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาพิจารณาความ ถูกต้องเหมาะสม  และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่าย  เครื่องสำอางในกลุ่มนี้  ได้แก่  ผลิตภัณฑ์ ดัดผม  ย้อมผล  ฟอกสีผม  แต่ผมดำ  ผลิตภัณฑ์ทำให้ขนร่วง  ยาสีฟัน  หรือ น้ำยาบ้วนผากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์  เป็นต้น  เครื่อง สำอางประเภทนี้ต้องมีฉลากที่แสดงข้อความว่า  เครื่องสำอางควบคุมพิเศษและมีเลข ทะเบียนในกรอบ  อย.
                2.  เครื่องสำอางควบ คุม  เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงรองลงมา  การ กำกับดูแลจึงลดระดับลงมา
ตั้งแต่เรื่องการขึ้นทะเบียน  เป็นการจดแจ้งต่อ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น  เครื่องสำอางในกลุ่ม นี้  ได้แก่  ผ้าอนามัย  ผ้าเย็น  กระดาษเย็น  แป้งฝุ่นโรยตัว  แป้งน้ำ  เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด  เครื่อง สำอางที่ผสมสารขจัดรังแค  เป็นต้น  เครื่องสำอาง ประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า เครื่อง สำอางควบคุม
                3.  เครื่องสำอางทั่วไป  ได้แก่  เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ  หรือ สารควบคุม  เป็นเครื่องสำอางที่ผู้บริโภคมีโอกาสเกิดอันตราย จากการบริโภคได้น้อย  ได้แก่  สบู่  แชมพู  ครีมนวดผม  แป้งทาหน้า  ลิปสติก  เจ ลแต่งผม  น้ำหอม  ครีมบำรุงผิว  ดินสอ เขียนคิ้ว  บลัชออนแต่งแก้ม  อายแชโดว์  เป็น ต้น  เครื่องสำอางประเภทนี้ต้องแสดงฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน
การโฆษณาเครื่องสำอาง
                การ โฆษณาเครื่องสำอาง  ไม่ต้องขออนุญาตก่อนทำการโฆษณา  แต่ การโฆษณาต้องอยู่ในขอบเขตของความถูกต้อง  ถูกหลักวิชาการและ เป็นธรรมต่อผู้บริโภค  แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจขอให้พิจารณา ให้ความเห็นก่อนทำการโฆษณาได้
การผลิต / นำเข้าเครื่องสำอาง
                -  เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ             ต้องขึ้นทะเบียน ก่อนผลิตหรือนำเข้า
                -  เครื่องสำอางควบ คุม                        ต้องแจ้งรายละเอียดก่อนผลิตหรือนำ เข้า
                -  เครื่องสำอางทั่วไป         
- ผลิตในประเทศไม่ต้องขึ้นทะเบียน  เพียงแต่แสดง ข้อความที่ ฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน
-  นำเข้า  ต้องยื่นเอกสารขอนำเข้าและต้องจัดทำฉลากภาษา ไทย  ให้ครบถ้วนและถูกต้อง  ภายใน 30 วัน นับแต่เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบให้นำเข
สถานที่ขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
                การ ขายเครื่องสำอางสามารถกระทำได้โดยอิสระ  ไม่ต้องขออนุญาตขาย เครื่องสำอาง  แต่เครื่องสำอางที่ขายต้องมีฉลากภาษาไทย  และฉลากต้องแสดงข้อความครบถ้วนและถูกต้องตามที่ได้
กำหนดไว้
สถานที่ขอขึ้นทะเบียนหรือแจ้งราย ละเอียด
                ผู้ประกอบการที่มีสถานที่ประกอบการ ตั้งอยู่  ให้ยื่นขอขึ้นทะเบียนผู้ผลิตหรือนำเข้าที่  กอง ควบคุมเครื่องสำอาง  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  อาคาร 4 ชั้น 4  ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  ใน บริเวณกระทรวงสาธารณสุข  ถนนติวานนท์  จังหวัด นนทบุรี 11000  โทร.  02-5907272,02-5918466
หรือ  สำนักงานสาธารณ สุขจังหวัดที่สถานที่ผลิต  สถานประกอบการของผู้ผลิตหรือผู้นำ เข้าตั้งอยู่
ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย  
                เป็น วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน  ที่ต้องขอขึ้นทะเบียนกับสำนัก งานคณะกรรมการอาหารและยา  จำแนกตามประโยชน์การใช้ของวัตถุ อันตรายเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  10  กลุ่ม  ดังต่อไปนี้
1.       ผลิตภัณฑ์ป้องกันและ / หรือ  ไล่ กำจัดแมลง
2.       ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดในสัตว์แลกำจัดเหาในคน
3.       ผลิตภัณฑ์กำจัดหนู
4.       ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคหรือกำจัดกลิ่นในสระว่าย น้ำ
5.       ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค
6.       ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น  ฝาผนัง  เครื่องสุขภัณฑ์  และวัสดุอื่นๆ
7.       ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แก้ไขการอุดตันของท่อ
8.       ผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาว
9.       ผลิตภัณฑ์ซักแห้งผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
10.    ผลิตภัณฑ์ลบคำผิดหรือสารละลายที่ใช้เจือจาง ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด
กลุ่มผลิตภัณฑ์ยา
1.       ยาสมุนไพร  หมายถึง  ยา ที่ได้จากพืช  สัตว์  แร่ที่ยังไม่ได้ผสม  ปรุง  หรือแปรสภาพ  เช่น  ใบ
มะขาม แขก  ดอกคำฝอย  ฟ้าทะลายโจรฉลากที่ แสดงรายละเอียดของยาสมุนไพร  ประกอบด้วย
-  ชื่อสมุนไพร
-   น้ำหนักหรือปริมาณที่บรรจุ
-   ครั้งที่ผลิต
-  วันเดือนปีที่ผลิต
-  ชื่อผลิต
-  ถ้าจะแสดงสรรพคุณของสมุนไพร  ต้อง เป็นไปตามที่กำหนดหรือขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน
การ โฆษณาเกี่ยวกับยาสมุนไพร  ต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากเจ้า หน้าที่
-  กรณีอยู่ต่างจังหวัด  ขออนุญาตจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
-  กรณีอยู่  กทม.  ขอ อนุญาตกองควบคุมยา  อาคาร 2 และ 4  ชั้น 3 กระทรวงสาธารณสุข  ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี  11000 
2.       ยาแผนโบราณ  หมายถึง  ยา ตามตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศหรือยาที่อาศัยความรู้จากตำราหรือการ เรียนสืบต่อกันมาที่ไม่ใช่การศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์
รูปแบบ ของยา  จะต้องเป็นรูปแบบของยาแผนโบราณ  เช่น  ยาเม็ด  ยาผง  ยาลูกกลอน  ยา น้ำ  ยาเคลือบน้ำตาล  ยาขี้ผึ้ง  เป็น ต้น



13 ความคิดเห็น:

  1. แม่...ขออนุญาต

    สูบใบงานไปนะคะ

    ^_^

    ตอบลบ
  2. แม่เข้าไปอ่านผิดอะขอ copy ไปนะครับ
    พงศธร

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. แม่ ผม วัชรินทร์ นะ

    ผม เข้า มา อ่าน งาน

    ของ แม่ แล้ว นะ คัฟ

    ตอบลบ
  6. แม่ นู๋ รุ่งอโณทัย น๊ ค๊

    เข้า มา อ่าน งาน

    ที่ แม่ สั่ง แล้ว น๊ ค๊

    ตอบลบ
  7. อาจารย์ครับ ผมส่งแบบฝึกหัดหลักการตลาดไปแล้วนะครับ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ27 สิงหาคม 2553 เวลา 20:03

    สวัสดีครับ ผมอดิศร กต.201 ครับ เข้ามาอ่านงานแล้วครับ

    ตอบลบ
  9. แบบฝึกหัดอยากอะ TT

    ตอบลบ
  10. พรุ่งนี้แล้วสิน๊ะค๊ะส่งงานวันสุดท้ายๆๆๆ...*-*

    ตอบลบ
  11. ชัชวาลย์ ทำแบบฝึกหัดมาส่งใหม่นะคะ คะแนนจะได้ดีดี

    ตอบลบ
  12. แม่ครับแม่ แบบฝึกอันไหนอะครับ

    ตอบลบ